เจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว

เจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางพระองค์ที่ 2 ทรงครองนครลำปางในปี พ.ศ. 2306 - 2317 มีพระราชโอรส 7 พระองค์ พระองค์ใหญ่สุดคือพระเจ้ากาวิละ ผู้มีบทบาทสำคัญในการกอบกู้ราชอาณาจักรล้านนาจากพม่า และต่อมาเจ้านายบุตรหลานได้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ จึงเป็นที่มาของราชสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน" หรือ "เจ้าเจ็ดองค์"

เจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว
เจ้าผู้ครองนครลำปาง
ครองราชย์พ.ศ. 2301 - 2317
รัชสมัย17 ปี
ก่อนหน้าพระยาไชยสงคราม
ถัดไปพระยากาวิละ
กษัตริย์พระเจ้าอลองพญา
พระเจ้ามังลอก
พระเจ้ามังระ
ประสูติพ.ศ. 2255
พิราลัยหลัง พ.ศ. 2331[1]
ราชเทวีนางจันทา
พระบุตร
ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระบิดาพระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง)
พระมารดาแม่เจ้าปิมปา
ศาสนาเถรวาท

พระประวัติ แก้

เจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้วมีพระนามเดิมว่านายชายแก้ว เป็นพระโอรสในพระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) กับแม่เจ้าปิมปา เป็นราชบุตรองค์ที่ 2 จากจำนวนราชโอรสธิดา 6 พระองค์[2] เมื่อพระบิดาถึงแก่พิราลัยแล้ว ได้ขึ้นครองราชย์เป็นเจ้านครลำปางในปี พ.ศ. 2303 ต่อมาราชสำนักพม่าได้เฉลิมพระนามพระองค์เป็นเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว[3][4]

ราชโอรส-ธิดา แก้

เจ้าฟ้าชายแก้วเษกสมรสกับนางจันทาราชเทวี มีพระราชโอรสธิดารวม 10 องค์ เป็นเจ้าชาย 7 องค์ เจ้าหญิง 3 องค์[5] ได้แก่

  1. พระเจ้ากาวิละ พระเจ้านครเชียงใหม่ พระองค์ที่ 1 (นับเป็น "เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 3" ในราชวงศ์ทิพย์จักร)
  2. พระยาคำโสม พระยานครลำปาง องค์ที่ 4
  3. พระยาธรรมลังกา เจ้านครเชียงใหม่ องค์ที่ 2
  4. พระเจ้าดวงทิพย์ พระเจ้านครลำปาง องค์ที่ 5
  5. เจ้าศรีอโนชา พระอัครชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
  6. เจ้าหญิงสรีวัณณา (ถึงแก่พิราลัยแต่เยาว์)
  7. พระยาอุปราชหมูล่า พระราชมหาอุปราชานราธิบดีศรีสุวรรณฝ่ายหน้าหอคำนครลำปาง
  8. พระยาคำฟั่น พระยานครเชียงใหม่ พระองค์ที่ 3 และพระยานครลำพูน องค์ที่ 1
  9. เจ้าสรีบุญทัน (ถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์) มีโอรสคือ
    1. เจ้าน้อยมหายศ เป็นที่เจ้าราชวงศ์นครลำพูน
  10. พระเจ้าบุญมา พระเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 2

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. Minister, Office of the Prime, English: Fundamental History of the City of Chiang Mai (PDF), p. 102, สืบค้นเมื่อ 2024-04-11
  2. วรเทวี (ณ ลำพูน) ชลวณิช. เจ้าหลวงลำพูน กรุงเทพฯ : อัมรันทร์พริ้นติ้ง. 2552
  3. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี, หน้า 110
  4. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, หน้า 149
  5. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, หน้า 150
บรรณานุกรม


ก่อนหน้า เจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว ถัดไป
พระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง)   เจ้าผู้ครองนครลำปาง
(พ.ศ. 2306 — พ.ศ. 2317)
  พระเจ้ากาวิละ