แพทองธาร ชินวัตร
แพทองธาร ชินวัตร (เกิด 21 สิงหาคม พ.ศ. 2529) ชื่อเล่น อุ๊งอิ๊ง[1] เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย บุตรสาวคนสุดท้องของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีพี่สองคนชื่อ พานทองแท้ ชินวัตร และพินทองทา คุณากรวงศ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรมพรรคเพื่อไทย
แพทองธาร ชินวัตร ร.ท.ภ. | |
---|---|
![]() | |
ภาพแพทองธารบนป้ายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2529 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรค | เพื่อไทย |
บิดา | ทักษิณ ชินวัตร |
มารดา | พจมาน ณ ป้อมเพชร |
คู่สมรส | ปิฎก สุขสวัสดิ์ |
บุตร | ธิธาร สุขสวัสดิ์ |
ศิษย์เก่า | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
อาชีพ | นักธุรกิจ, นักการเมือง |
ประวัติแก้ไข
แพทองธารสำเร็จการการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ และโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2551 และศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ สาขาวิชา Msc International Hotel Management ที่มหาวิทยาลัยเซอร์เรย์
เธอเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และกรรมการมูลนิธิไทยคม นอกจากนี้เธอยังเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการอื่น ๆ เช่น โรงแรมโรสวู๊ด กรุงเทพ[2],เทมส์ วัลลีย์ เขาใหญ่[3] และเดอะ ซิสเตอส์ เนลส์ แอนด์ มอร์[4] เป็นต้น ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2565 เธอถือหุ้นรวมทั้งหมด 21 บริษัท มูลค่าประมาณ 68,000 ล้านบาท[5]
เธอสมรสกับปิฎก สุขสวัสดิ์ มีบุตรสาว 1 คน[6] โดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีมงคลสมรสของทั้งคู่ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562 ณ โรงแรสโรสวู๊ด ฮ่องกง[7]
บทบาททางการเมืองแก้ไข
ในการประชุมของพรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2565 แพทองธารได้รับตำแหน่ง "หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย"[1] สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง วิเคราะห์ว่าตำแหน่งดังกล่าวเป็นการทะลายข้อจำกัดในการดำเนินงานของพรรคการเมือง และว่าเป็นการปูทางให้พรรคเพื่อไทยเสนอชื่อเธอเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งถัดไป[8] เธอกล่าวในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคเพื่อไทยเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ระบุว่าหัวหน้าครอบครัวกับหัวหน้าพรรคเป็นคนละตำแหน่งกัน แต่มิได้กล่าวอย่างชัดเจนว่าเธอจะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยหรือไม่[9]
ในช่วงปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าทางพรรคได้มอบหมายให้ ส.ส. และผู้สมัคร ส.ส. นำนโยบายที่พรรคได้ประกาศเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ปีเดียวกัน มาขึ้นป้ายหาเสียงชุดแรกก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปีถัดไป จำนวน 8 รูปแบบ โดยทุกป้ายในชุดดังกล่าวจะมีภาพเธอในฐานะหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทยอยู่ทางมุมขวาล่างของป้ายขนาดปกติ หรือด้านล่างในกรณีป้ายขนาดที่ความกว้างลดลงมาจากป้ายขนาดปกติ[10]
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 เธอกล่าวว่าพร้อมที่จะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย อีกทั้งระบุพร้อมจะจับมือกับทุกพรรคหากมีความคิดเรื่องนโยบายตรงกัน, เห็นพ้องในความเป็นประชาธิปไตย และเคารพเสียงของประชาชน แต่ปฏิเสธว่ายังไม่ได้มีการพูดคุยกับพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐแต่อย่างใด[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.)[12]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 matichon (2022-03-20). "เปิดตัว 'อุ๊งอิ๊ง' หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ลุยสร้างบ้านหลังใหญ่หัวใจเดิม". มติชนออนไลน์.
- ↑ isranews (2021-08-28). "ปี 63 ขาดทุน 396 ล.! ธุรกิจ รร.'เอม พินทองทา'ก่อนหยุดให้บริการ Rosewood Bangkok". สำนักข่าวอิศรา.
- ↑ "รับลมเย็นๆ พร้อมปิคนิค สนามหญ้า "เทมส์ วัลลีย์ เขาใหญ่"". ข่าวสด. 2017-12-04.
- ↑ ""The Sisters Nails & More" ความสุขที่อยากแบ่งปันของพี่น้องทายาทหมื่นล้าน". www.thairath.co.th. 2012-11-10.
- ↑ ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล (2022-03-20). "เจาะขุมทรัพย์ อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร ทรัพย์สินอู้ฟู่ 6.8 หมื่นล้าน". thansettakij.
- ↑ "แพทองธาร" สุดปลื้ม คลอดลูกสาว น่ารักน่าชัง แล้ว ชื่อเล่น "น้องธิธาร"
- ↑ "ทูลกระหม่อม เสด็จงานสมรส "แพทองธาร ชินวัตร"". workpointTODAY.
- ↑ ""สมชัย" ชี้ "เพื่อไทย" ใช้ช่องเป็น "สมาชิกครอบครัว" เลี่ยงเก็บค่าสมาชิก". bangkokbiznews. 2022-03-20.
- ↑ ""อุ๊งอิ๊ง" บอกไม่ได้พร้อมเป็นแคนดิเดตนายกฯหรือไม่ อ้างยังไม่ถูกเลือก ยันในพรรคไม่สับสนใครหัวหน้า". mgronline.com. 2022-04-24.
- ↑ "อุ๊งอิ๊ง สั่งเพื่อไทยขึ้นป้ายหาเสียงทั่วประเทศ ปีใหม่นายกฯ คนใหม่". ประชาชาติธุรกิจ. 2022-12-29.
- ↑ "แพทองธาร พร้อมเป็นนายกฯ เพื่อไทย ไม่จับมือประวิตร พลังประชารัฐ". ประชาชาติธุรกิจ. 2023-01-15.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |