การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (การประชุมร่วมกันของรัฐสภา) เกิดขึ้นหลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 อย่างเป็นทางการ โดยมีการลงมติในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566[1] และวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566[2] จากการลงมติครั้งที่ 3 ส่งผลให้ เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย
พ.ศ. 2566

← พ.ศ. 2562 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 (ครั้งที่หนึ่ง)
22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 (ครั้งที่สาม)
ครั้งต่อไป →
 
Pita_Limjaroenrat,_October_2023.jpg
PM Kishida meeting with PM Thavisin of Thailand (cropped).jpg
ผู้ได้รับเสนอชื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เศรษฐา ทวีสิน
พรรค ก้าวไกล เพื่อไทย
คะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 324
(ครั้งที่หนึ่ง)[ก]
482
(ครั้งที่สาม)

ชื่อบุคคลที่ได้รับเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี แก้

ครั้งที่ 1 แก้

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้เสนอชื่อบุคคลเพียงคนเดียวดังนี้[3]

ผู้ได้รับการเสนอชื่อรัฐสภา
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
ก้าวไกล
 
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(ตั้งแต่ 24 มีนาคม 2562)

ครั้งที่ 3 แก้

ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ชลน่าน ศรีแก้วได้เสนอชื่อบุคคลเพียงคนเดียวดังนี้[4]

ผู้ได้รับการเสนอชื่อรัฐสภา
เศรษฐา ทวีสิน
เพื่อไทย
 
ประธานอำนวยการ บมจ.แสนสิริ

(2564–2566)

ผลการลงมติ แก้

ครั้งที่ 1 แก้

การลงมติครั้งแรกจัดในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 การลงมตินั้นจำเป็นต้องมีเสียงจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวมกับเสียงจากสมาชิกวุฒิสภาให้ได้ 375 เสียง ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้กำหนดไว้ (เดิมต้องเป็น 376 เสียง แต่เรณู ตังคจิวางกูร สมาชิกวุฒิสภา ได้ลาออกก่อนลงมติ 1 วัน[5] จึงทำให้เหลือ 375 เสียง)

ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ พรรคการเมือง เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ งดออกเสียง ไม่เข้าร่วมประชุม รวม
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ก้าวไกล 151 - - - 151
เพื่อไทย 141 - - - 141
ภูมิใจไทย - 70 - 1 71
พลังประชารัฐ - 40 - - 40
รวมไทยสร้างชาติ - 36 - - 36
ประชาธิปัตย์ - - 25 - 25
ชาติไทยพัฒนา - - 10 - 10
ประชาชาติ 8 - 1 - 9
ไทยสร้างไทย 6 - - - 6
ชาติพัฒนากล้า - - 2 - 2
เพื่อไทรวมพลัง 2 - - - 2
เสรีรวมไทย 1 - - - 1
ประชาธิปไตยใหม่ - 1 - - 1
ครูไทยเพื่อประชาชน - - 1 - 1
เป็นธรรม 1 - - - 1
พลังสังคมใหม่ 1 - - - 1
ใหม่ - - 1 - 1
ท้องที่ไทย - 1 - - 1
วุฒิสภา 13 34 159 43 249
รวม 324 182 199 44 749
324 182 243
เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ งดออกเสียง+ไม่ร่วมประชุม

การลงมติครั้งแรกนั้น พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้คะแนนเสียงเห็นชอบ 324 เสียง ซึ่งไม่ถึงตามที่กำหนด จึงทำให้วันมูหะมัดนอร์ มะทาตัดสินใจเลื่อนการลงมติออกไปก่อน

ครั้งที่ 2 แก้

หลังจากการลงมติครั้งแรกไม่สามารถหาบุคคลที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ จึงได้มีการเลื่อนกำหนดการการลงมติเป็นวันที่ 19 กรกฎาคม สุทิน คลังแสง รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้เสนอ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อีกครั้ง แต่มีผู้ประท้วงว่าตามมาตรา 41 ไม่สามารถเสนอชื่อซ้ำเดิมได้ ยกเว้นมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ประธานสภาจึงเปิดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาลงมติเรื่องดังกล่าว

มติ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ งดออกเสียง ไม่ประสงค์ลงคะแนน รวม
เสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ ซ้ำไม่ได้ 395 312 8 1 716

ผลมติดังกล่าว ส่งผลให้ไม่สามารถเสนอชื่อพิธาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ในสมัยประชุมนี้[6] จึงเลื่อนการลงมติครั้งที่สามออกไปเป็นวันที่ 27 กรกฎาคม และอีกครั้งในวันที่ 4 สิงหาคม แต่แล้วก็ถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจาก ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าการลงมติของวันที่ 19 กรกฎาคมนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ส่งผลให้ชะลอการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีออกไปก่อน[7] [8] จนวันที่ 16 สิงหาคม ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย เมื่อมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาแล้ว คำขออื่นย่อมมีอันตกไป เนื่องจากเห็นว่า ผู้ร้องเรียนไม่ใช่บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรง ไม่อาจใช้สิทธิยื่นคำร้องเรียนได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ทำให้ไม่สามารถเสนอชื่อพิธาเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีกในสมัยประชุมเดียวกัน[9]

เมื่อการตัดสินสิ้นสุดลง จึงสามารถดำเนินการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีรอบที่ 3 ดำเนินต่อไปได้ โดยมีการนัดลงมติในวันที่ 22 สิงหาคม

ครั้งที่ 3 แก้

การลงมติครั้งที่สามจัดในวันที่ 22 สิงหาคม โดยการลงมตินั้นจำเป็นต้องมีเสียงจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บวกกับสมาชิกวุฒิสภารวมให้ได้ 375 เสียง ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้กำหนดไว้

ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ พรรคการเมือง เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ งดออกเสียง ไม่เข้าร่วมประชุม รวม
เศรษฐา ทวีสิน ก้าวไกล - 149 - 1 150
เพื่อไทย 140 - - 1 141
ภูมิใจไทย 71 - - - 71
พลังประชารัฐ 39 - - 1 40
รวมไทยสร้างชาติ 36 - - - 36
ประชาธิปัตย์ 16 2 6 1 25
ชาติไทยพัฒนา 10 - - - 10
ประชาชาติ 8 - 1 - 9
ไทยสร้างไทย - - 6 - 6
ชาติพัฒนากล้า 2 - - - 2
เพื่อไทรวมพลัง 2 - - - 2
เสรีรวมไทย 1 - - - 1
ประชาธิปไตยใหม่ 1 - - - 1
ครูไทยเพื่อประชาชน 1 - - - 1
เป็นธรรม - 1 - - 1
พลังสังคมใหม่ 1 - - - 1
ใหม่ 1 - - - 1
ท้องที่ไทย 1 - - - 1
วุฒิสภา 152 13 68 16 249
รวม 482 165 81 20 748
482 165 101
เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ งดออกเสียง+ไม่ร่วมประชุม

และการลงมติครั้งที่สามนั้น เศรษฐา ทวีสิน ได้คะแนนเสียงทั้งหมด 482 เสียง จึงทำให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในที่สุด

หมายเหตุ แก้

  1. คะแนนเสียงไม่ถึงตามที่กำหนด

อ้างอิง แก้

  1. "เลือกนายกฯ "วันนอร์" นัดประชุมสภา 13 ก.ค. รธน.ไม่กำหนดเสนอชื่อได้กี่ครั้ง". ไทยรัฐ. 2023-07-05. สืบค้นเมื่อ 2023-07-05.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "นัดโหวตนายกฯ 22 ส.ค. "วันนอร์" ชี้ ศาลไม่รับคำร้อง ถือว่ารัฐสภาปฏิบัติถูกต้อง". www.thairath.co.th. 2023-08-16.
  3. "เริ่มแล้ว โหวตนายกฯ ชลน่านเสนอชื่อ พิธา แบบไร้คู่แข่ง คาดลงมติได้ก่อน5โมงเย็น". ข่าวสด. 2023-07-13. สืบค้นเมื่อ 2023-07-13.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. ""หมอชลน่าน" ลุกเสนอชื่อ "เศรษฐา" เป็นนายกรัฐมนตรี สส.รับรอง 287 เสียง ไร้คู่แข่ง". www.sanook.com/news. 2023-08-22.
  5. "ประชุมสภา : "เรณู ตังคจิวางกูร" ยื่นลาออกจาก ส.ว.ก่อนโหวตนายกฯ". Thai PBS.
  6. ""วันนอร์" นัดประชุมโหวตนายกฯ อีก 27 ก.ค. ย้ำเสนอชื่อ "พิธา" ไม่ได้แล้ว". Thai PBS.
  7. "ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ชะลอโหวตนายกรอบ 3". pptvhd36.com. 2023-07-24.
  8. "ศาลรัฐธรรมนูญเลื่อนพิจารณาคำร้องปมเสนอชื่อ "พิธา" โหวตนายกฯซ้ำ". pptvhd36.com. 2023-08-03.
  9. "ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องเสนอชื่อ "พิธา" โหวตนายกฯซ้ำ". Thai PBS.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566 ถัดไป
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2562    
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย
  -