เดอะสแตนดาร์ด

เว็บไซต์ข่าวในประเทศไทย

บริษัท เดอะสแตนดาร์ด จำกัด เป็นสำนักข่าวและบริษัทผลิตสื่อออนไลน์ในประเทศไทยที่นำเสนอข่าว วิดีโอ สารคดี และพอดแคสต์ ผลิตนิตยสารแจกฟรีรายสัปดาห์ พอกเกตบุก รับจ้างจัดงาน[2]

เดอะสแตนดาร์ด
โลโก้แบบข้อความ
คําขวัญSTAND UP FOR THE PEOPLE
สำนักข่าวที่มุ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกแก่สังคม[1]
ก่อตั้งพ.ศ. 2560
ผู้ก่อตั้งวินิจ เลิศรัตนชัย
วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์
นิติพัฒน์ สุขสวย
ประเภทสำนักข่าวออนไลน์, บริษัทผลิตสื่อออนไลน์
สํานักงานใหญ่เลขที่ 23/100-102 ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
ที่ตั้ง
  • กรุงเทพ, ประเทศไทย
เจ้าของบริษัท เดอะสแตนดาร์ด จำกัด
บรรณาธิการบริหาร
นครินทร์ วนกิจไพบูลย์
เว็บไซต์thestandard.co

บริษัทจดทะเบียนเมื่อ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560 ด้วยทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท จากข้อมูลปี พ.ศ. 2560 มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นคือ วินิจ เลิศรัตนชัย ถือหุ้นร้อยละ 45, วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ถือหุ้นร้อยละ 25, นิติพัฒน์ สุขสวยถือหุ้นร้อยละ 20, บริษัท เดย์อาฟเตอร์เดย์ จำกัด ถือหุ้นด้วยอีกร้อยละ 10 มี นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ เป็นบรรณาธิการบริหารสำนักข่าว[3]

เดอะสแตนดาร์ดมีสำนักงานใหญ่ในซอยศูนย์วิจัย และพื้นที่กิจกรรมร่วมตั้งอยู่ในศูนย์การค้าสยามพารากอน[4]

เนื้อหา แก้

 
เดอะสแตนดาร์ดที่สยามพารากอน

เนื้อหาของเดอะสแตนดาร์ดแบ่งเป็นข่าวร้อยละ 50 เป็นข่าวในประเทศ ต่างประเทศ การเมือง อาชญากรรม เศรษฐกิจ เป็นต้น ส่วนอีกร้อยละ 50 เป็นเรื่องไลฟ์สไตล์ และวัฒนธรรม ในชื่อ "เดอะสแตนดาร์ด ป๊อบ"[5] รูปแบบข่าวเป็นข่าวสารในแนวทางสร้างสรรค์ คือ สามารถทำให้คนเรียนรู้จากข่าวได้ เลือกข่าวใหญ่และข่าวสำคัญ ที่มีผลกระทบกับคนหมู่มากเป็นหลัก เช่นข่าวระเบิด น้ำท่วม รัฐบาลประกาศเลื่อนเลือกตั้ง และข่าวอีกรูปแบบหนึ่งคือ ข่าวที่คนสนใจที่ใคร ๆ ก็เขียน โดยมาเขียนในมุมมองของตัวเอง[6] ผลงานโดดเด่นคือการจัดดีเบตก่อน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562, การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566[7]

รายได้ แก้

เดอะสแตนดาร์ดในปี พ.ศ. 2561 มีรายได้ 95,398,782.68 บาท กำไรสุทธิ 11,410,551.83 บาท[8]

แพลตฟอร์มที่เผยแพร่ แก้

เดอะสแตนดาร์ด ผลิตเนื้อหาหลายประเภท และเผยแพร่หลายช่องทาง ประกอบไปด้วย[9] เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก เอ็กซ์ อินสตาแกรม ยูทูบ ติ๊กต็อก และแพลตฟอร์มพอดแคสต์ อาทิ ซาวด์คลาวด์

อ้างอิง แก้

  1. About - THE STANDARD https://thestandard.co/about/
  2. "หายไปแค่ชุบตัว "วงศ์ทนง" และทีมงานเดิม กับความท้าทายใหม่ในโลกสื่อ ที่ไม่ได้มีแค่ออนไลน์". แบรนด์อินไซด์. 2017-06-05. สืบค้นเมื่อ 2019-10-22.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "เปิดตัว 'เดอะสแตนดาร์ด' วันแรก-ปรับผังคอลัมนิสต์รับคำวิจารณ์". 2017-06-05. สืบค้นเมื่อ 2019-10-22.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "SCBX NEXT TECH at Siam Paragon Fl.4". www.siamparagon.co.th.
  5. "12 เรื่องรู้จัก "The Standard" นามสกุลใหม่ของวงศ์ทนง". โพซิชันนิงแมก. 2017-06-05. สืบค้นเมื่อ 2019-10-22.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "The STANDARD : มาตรฐานของสำนักข่าวออนไลน์และความท้าทายที่อยากไปให้ถึง". เดอะแมตเทอร์. 2019-02-25. สืบค้นเมื่อ 2019-10-22.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "เลือกตั้ง 2566 DEBATE : ดีเบตเริ่มแล้ว คนแน่น รอยัล พารากอน แคนดิเดตขึ้นเวที". THE STANDARD. 2023-04-25.
  8. "สื่อออนไลน์โตระเบิด : The Standard รายได้เกือบ 100 ล้าน". 2019-09-26. สืบค้นเมื่อ 2019-10-22.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "About". THE STANDARD.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้