แมคโดนัลด์
แมคโดนัลด์ (อังกฤษ: McDonald's) เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเครือร้านอาหารจานด่วนที่ใหญ่ที่สุดในโลก[1]
ประเภท | เอกชน |
---|---|
ISIN | US5801351017 |
อุตสาหกรรม | ร้านอาหาร |
ก่อตั้ง | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 ใน แซนเบอร์นาร์ดีโน รัฐแคลิฟอร์เนีย |
ผู้ก่อตั้ง | ดิค (Dick) และ แมคโดนัลด์ (Mac McDonald) |
สำนักงานใหญ่ | ชิคาโก รัฐอิลลินอย สหรัฐอเมริกา |
บุคลากรหลัก | เรย์ คลอก ผู้ก่อตั้งบริษัท จิม สกินเนอร์ ประธานบริษัท ราล์ฟ อัลบาเรซ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติงาน |
ผลิตภัณฑ์ | อาหารจานด่วน (ประกอบด้วย แฮมเบอร์เกอร์ ผลิตภัณฑ์ไก่ เฟรนช์ฟรายส์ ของหวาน ฯลฯ) |
รายได้ | $ 27.56 พันล้าน (2555) |
รายได้จากการดำเนินงาน | 9,371,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2565) |
รายได้สุทธิ | 6,177,400,000 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2565) |
สินทรัพย์ | 52,626,800,000 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2563) |
พนักงาน | 1,800,000 (2556) |
เว็บไซต์ | www.mcdonalds.com |
ประวัติ
แก้แมคโดนัลด์ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2491 โดยสองพี่น้องแมคโดนัลด์เปิดเป็นร้านแฮมเบอร์เกอร์ชื่อว่า "แมคโดนัลด์" เป็นแบบไดรฟ์ทรูในแซนเบอร์นาร์ดีโน ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย แต่เริ่มนำระบบการบริการอย่างรวดเร็วเข้ามาใช้ในปี พ.ศ. 2491 ภายหลังทั้งสองได้ขายกิจการให้กับ นายเรย์ คร็อก เพื่อนำไปขยายสาขา และเป็นต้นกำเนิดของร้านอาหารแบบฟาสต์ฟู้ดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อย่างไรก็ตามปัจจุบันบริษัทแมคโดนัลด์ได้นับเอาการเปิดร้านแฟรนไชส์สาขาแรก เมื่อปี พ.ศ. 2498 เป็นวันก่อตั้งบริษัท
ปัจจุบันแมคโดนัลด์มีสาขากว่า 30,000 สาขาใน 121 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ให้บริการลูกค้ามากกว่า 50 ล้านคนต่อวัน เครือแมคโดนัลด์ยังประกอบธุรกิจร้านอาหารยี่ห้ออื่น และธุรกิจอื่น ๆ นอกเหนือไปจากร้านอาหาร เช่น ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น มีผลประกอบการ 20.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และกำไรสุทธิ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ตัวเลขปี พ.ศ. 2548)
รูปแบบทั่วไปของร้านแมคโดนัลด์คือแบบเคาน์เตอร์และแบบไดรฟ์ทรูหรือขับรถเข้าไปซื้อโดยไม่ต้องลงจากรถ อาหารหลักที่ขายทั่วไปคือ แฮมเบอร์เกอร์ ชีสเบอร์เกอร์ เฟรนช์ฟรายส์ ไก่ทอด สลัด ชุดอาหารเช้า ชุดอาหารสำหรับเด็กชื่อ แฮปปี้มีล และของหวานอีกหลายชนิด เช่น ไอศกรีม พาย เป็นต้น
แมคโดนัลด์กลายเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมอเมริกันและทุนนิยม การเปิดสาขาของร้านแมคโดนัลด์ในประเทศต่าง ๆ มักถูกมองเป็นการบุกรุกของวัฒนธรรมอเมริกัน นอกจากนี้อาหารของแมคโดนัลด์ยังได้รับการวิจารณ์ในเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพอีกด้วย
แมคโดนัลด์ในประเทศไทย
แก้แมคโดนัลด์เปิดสาขาแรกในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2528 โดยนายเดช บุลสุข ซึ่งประทับใจในอาหารของแมคโดนัลด์สมัยเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน AFS ที่สหรัฐอเมริกา นับเป็นประเทศที่ 35 และสาขาแรกอยู่ที่ห้างโซโก้ หรือเกษรอัมรินทร์ในปัจจุบัน
แมคโดนัลด์สาขาถนนราชดำเนิน ติดกับโรงเรียนสตรีวิทยา เป็นแมคโดนัลด์สาขาแรกในโลกที่ป้ายหน้าร้านใช้พื้นสีน้ำตาล แทนที่จะเป็นสีแดงเหมือนสาขาอื่น ๆ ในขณะนั้น เพื่อปรับให้เข้ากับภูมิสถาปัตยกรรมของอาคารริมถนนราชดำเนิน[2]
จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2566 แมคโดนัลด์ประเทศไทยมีจำนวนสาขาทั้งหมด 228 สาขา[3]
สวัสดิภาพสัตว์
แก้แมคโดนัลด์ประกาศบนเว็บไซต์ทางการว่า ตนเป็นบริษัทที่ “…เชื่อว่าการปฏิบัติต่อสัตว์ด้วยความห่วงใยและความเคารพเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เราเสิร์ฟอาหารที่ปลอดภัยให้กับผู้บริโภค สัตว์ที่สุขภาพดีย่อมนำมาซึ่งอาหารที่ปลอดภัย” (... believe treating animals with care and respect is an integral part of our commitment to serving McDonald’s customers safe food. Healthy animals provide safe food.)[4]
ห่วงโซ่อุปทานของแมคโดนัลด์ ใช้ไข่ไก่จากฟาร์มปลอดกรงแล้วในหลายๆ ประเทศ ได้แก่ออสเตรเลีย (ตั้งแต่ พ.ศ 2560)[5] เบลเยี่ยม (ตั้งแต่ พ.ศ 2556)[6] ฝรั่งเศส (ตั้งแต่ พ.ศ 2562)[7] และเยอรมนี (ตั้งแต่ พ.ศ 2560)[8]
เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558 แมคโดนัลด์ได้เผยแพร่คำประกาศเจตนารมณ์ว่าจะใช้ไข่ไก่จากฟาร์มไร้กรงเท่านั้น 100 เปอร์เซ็นต์ในทวีปอเมริกาเหนือ และจะดำเนินการเปลี่ยนระบบให้เสร็จสิ้นภายในปี พ.ศ. 2568[9]
เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 อาร์คอส ดอราดอส บริษัทผู้ถือแฟรนไชส์แมคโดนัลด์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ ได้ประกาศเจตนารมณ์ ว่าจะใช้ไข่ไก่จากฟาร์มปลอดกรงเท่านั้นภายในปี พ.ศ. 2568[10]
มาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ที่เช่นเดียวกันนี้ ยังไม่มีการประกาศใช้โดยแมคโดนัลด์ประเทศใด ๆ เลยในทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทยด้วย
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "McDonald's Is King Of Restaurants In 2017 – pg.1". Forbes. สืบค้นเมื่อ December 12, 2017.
- ↑ "แฟนพันธุ์แท้ 2002 : แมคโดนัลด์". แฟนพันธุ์แท้. 3 May 2002. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
- ↑ "แมคโดนัลด์ โชว์รายได้ทุบสถิติรอบ 10 ปี พร้อมเปิดกลยุทธ์สู้ศึก QSR ปี 2023-24 ทุ่ม 300 ล้านบาท ขยายสาขา-รีโนเวท". Marketing Oops! (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-03-28.
- ↑ "Animal Health & Welfare". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-25. สืบค้นเมื่อ 2020-02-11.
- ↑ Dear AFN Reader
- ↑ McDonald's[ลิงก์เสีย]
- ↑ McDonald's restaurants to open at the Louvre
- ↑ "McDonald's Deutschland weitet Einsatz von Freilandeiern in seinen Produkten aus". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-23. สืบค้นเมื่อ 2020-02-11.
- ↑ "McDonald's to Fully Transition to Cage-Free Eggs For all Restaurants in the U.S. and Canada". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-16. สืบค้นเมื่อ 2020-02-11.
- ↑ Arcos Dorados to exclusively source cage-free eggs
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของแมคโดนัลด์
- เว็บไซต์ของแมคโดนัลด์ประเทศไทย
- Facebook แมค โดนัลด์ ประเทศไทย
- เว็บไซต์เครือข่าย McDonald (แมค โดนัลด์) ไทย
- Line McDonald Official
- Twitter.com McThai อย่างเป็นทางการ
- Instagram McDonald Official
- Youtube McDonald Thai Official