เกษรอัมรินทร์
ศูนย์การค้าเกษรอัมรินทร์ (อังกฤษ: Gaysorn Amarin) หรือในชื่อเดิม ศูนย์การค้าอัมรินทร์ พลาซ่า (อังกฤษ: Amarin Plaza) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรมแบบผสมที่ตั้งอยู่ในย่านราชประสงค์ ประกอบด้วยศูนย์การค้า 5 ชั้น และอาคารสำนักงาน 22 ชั้น
Gaysorn Amarin | |
เกษรอัมรินทร์ในปี พ.ศ. 2564 ก่อนการปรับปรุง | |
ที่ตั้ง | 496–502 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร |
---|---|
พิกัด | 13°44′37″N 100°32′29″E / 13.74361°N 100.54139°E |
เปิดให้บริการ | พ.ศ. 2528 (ศูนย์การค้าอัมรินทร์ พลาซ่า) 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 (แมคโดนัลด์) 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 (ปรับปรุงศูนย์การค้า) 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 (LV The Place Bangkok) 20 มีนาคม พ.ศ. 2567 (ศูนย์การค้าเกษรอัมรินทร์)[1] |
ชื่อเดิม | อัมรินทร์พลาซ่า (พ.ศ. 2528-2565) |
ผู้บริหารงาน | บริษัท เกษรพร็อพเพอร์ตี้ จำกัด |
จำนวนชั้น | 5 ชั้น (เกษรอัมรินทร์) 22 ชั้น (อัมรินทร์ ทาวเวอร์) |
ขนส่งมวลชน | สถานีชิดลม สถานีสยาม |
เกษรอัมรินทร์เปิดดำเนินการในปี พ.ศ. 2528 โดยมีห้างสรรพสินค้าโซโก้เป็นผู้เช่าหลัก อาคารออกแบบโดย รังสรรค์ ต่อสุวรรณ โดดเด่นด้วยการออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมหลังสมัยใหม่ ที่ผสมผสานองค์ประกอบแบบกรีก-โรมันเข้ากับส่วนหน้ากระจกสมัยใหม่ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นความสำเร็จในเชิงพาณิชย์และเป็นปรากฎการณ์ในหมู่นักพัฒนา อีกทั้งยังเป็นต้นแบบของสถาปัตยกรรมในลักษณะนี้ที่เกิดขึ้นตามมาในประเทศไทย กระนั้นก็มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในแวดวงสถาปนิก โครงการนี้ดำเนินการโดยบริษัท อัมรินทร์พลาซ่า จำกัด ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จนถึงปี พ.ศ. 2550 เกษรกรุ๊ปได้ซื้อกิจการและผนวกเป็นส่วนหนึ่งของเกษรวิลเลจในเวลาต่อมา
ประวัติ
แก้การพัฒนา
แก้เกษรอัมรินทร์ เป็นทรัพย์สินแห่งแรกของบริษัท อัมรินทร์พลาซ่า จำกัด ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ดิ เอราวัณ กรุ๊ป ถือเป็นการร่วมลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ครั้งแรกของครอบครัวว่องกุศลกิจ ซึ่งดำเนินธุรกิจหลักในอุตสาหกรรมน้ำตาลผ่านกลุ่มมิตรผล อิสระ ว่องกุศลกิจ เป็นผู้ริเริ่มโครงการนี้ หลังจากได้รับข้อเสนอจากตระกูลศรีวิกรม์ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน และได้ร่วมมือกับตระกูลวัฒนาเวคิน เพื่อก่อตั้งบริษัทในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งในอีกหกปีต่อมา อิสระได้ให้วิฑูรย์พี่ชายของเขา ดูแลกิจการนี้แทนตน[2]
อาคารหลังนี้ออกแบบโดยรังสรรค์ ต่อสุวรรณ โดดเด่นด้วยการวางองค์ประกอบกรีก-โรมันเข้าด้วยกัน เช่น เสาไอออนิก ผ้าสักหลาด และบัวหัวเสา ร่วมกับผนังกระจกสมัยใหม่ รังสรรค์กล่าวว่าเขาไม่ได้มุ่งมั่นที่จะสร้างการออกแบบหลังสมัยใหม่ แต่ดัดแปลงตามสิ่งที่เขาคาดหวังจะดึงดูดรสนิยมของผู้เช่า แม้กระนั้นเจ้าของโครงการบางส่วนก็ไม่เห็นด้วยกับการออกแบบดังกล่าว แต่เขายืนกรานโดยรับประกันว่าจะมีผู้สนใจเช่าพื้นที่นี้ ไม่อย่างนั้นเขาจะเสียค่าปรับการก่อสร้างล่าช้าและยังต้องออกแบบใหม่โดยไม่ได้รับค่าจ้างอีกด้วย[3][4] โครงการขายได้ร้อยละ 80 ของยูนิตทั้งหมดก่อนเริ่มการก่อสร้าง การออกแบบอาคารกลายเป็นปรากฎการณ์ในหมู่สถาปนิกและนักพัฒนาชาวไทย หลังจากนั้นมีการการนำเอาองค์ประกอบกรีก-โรมันในลักษณะเดียวกับโครงการนี้มาใช้กันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม การออกแบบนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในแวดวงสถาปนิกว่าเป็นการใช้องค์ประกอบคลาสสิกอย่างไม่เหมาะสม โดยเฉพาะในบริบทสิ่งก่อสร้างของไทยในเวลานั้น[4][5]
การก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2526 แต่ในช่วงแรกประสบปัญหากับระบบเสาเข็ม ทำให้เจ้าของเปลี่ยนจากเสาเข็มเจาะคอนกรีตเป็นระบบเจาะ ทำให้ความคืบหน้าล่าช้าไปมากเนื่องจากโครงสร้างของดิน และการก่อสร้างได้เปลี่ยนไปใช้เสาเข็มเจาะเหล็กอีกครั้ง ซึ่งประสบปัญหามากขึ้นไปอีก เนื่องจากการก่อสร้างต้องหยุดชะงักตามคำสั่งศาลที่โรงแรมเอราวัณได้ฟ้องร้องเรื่องมลพิษทางเสียง แม้จะมีปัญหาข้างต้น แต่การชำระเงินล่วงหน้าของโครงการทำให้มีความมั่นคงทางการเงิน และสามารถลดเงินกู้จาก ธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งเริ่มแรกประมาณ 270 ล้านบาท เป็นน้อยกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งทำให้มีความได้เปรียบเหนือคู่แข่งอย่างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า อันเปิดทำการเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านั้น
การดำเนินงาน
แก้เกษรอัมรินทร์เปิดทำการในปี พ.ศ. 2528 โดยมีห้างสรรพสินค้าโซโก้ เป็นผู้เช่าหลัก ซึ่งเป็นสาขาต่างประเทศแห่งแรกของบริษัทเครือญี่ปุ่นดังกล่าว ในเวลาเดียวกันศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ที่อยู่ใกล้เคียง ได้เปิดให้บริการห้างสรรพสินค้าโตคิวด้วย อัมรินทร์พลาซ่ายังเคยเป็นที่ตั้งของแมคโดนัลด์สาขาแรกในประเทศไทย ซึ่งอยู่ด้านหน้าอาคาร โดยร้านเปิดทำการในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน[6]
"โซโก้" กลายเป็นชื่อที่ผู้คนพูดถึงอาคารแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม บริษัทเผชิญกับการขาดทุนอย่างหนักในช่วงสองสามปีแรก เนื่องจากจำนวนห้างสรรพสินค้าที่เพิ่งเปิดใหม่ทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง โซโก้เปิดสาขาที่สองในศูนย์การค้าเอราวัณ แบงค็อก ซึ่งเป็นโครงการในเครือเดียวกัน แต่ปิดตัวลงไม่นานหลังจากที่บริษัทแม่ในญี่ปุ่นลดขนาดการดำเนินงานระหว่างประเทศลงในปี พ.ศ. 2543[7]
ในปี พ.ศ. 2550 กลุ่มบริษัทเอราวัณได้ขายอัมรินทร์พลาซ่าให้กับกลุ่มเกษรเจ้าของที่ดิน (ซึ่งดำเนินการศูนย์การค้าเกษรพลาซ่าอยู่ฝั่งตรงข้ามของถนน) เนื่องจากใกล้จะสิ้นสุดสัญญาเช่าระยะเวลา 30 ปีของทรัพย์สินซึ่งมีโอกาสในการปรับปรุงอย่างจำกัด โครงการนี้ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเกษรวิลเลจในอีกสิบปีให้หลัง[8] ต่อมาได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ระหว่างปี 2565 ถึง 2567 และดำเนินการเปิดอีกครั้งในชื่อเกษรอัมรินทร์[9] โดยใช้แนวคิดผสมผสานสถาปัตยกรรมเดิมเข้ากับการใช้ชีวิตยุคใหม่[10]
การจัดสรรพื้นที่
แก้เกษรอัมรินทร์ตั้งอยู่ริมถนนเพลินจิต ใกล้มุมตะวันออกเฉียงใต้ของแยกราชประสงค์ ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เชื่อมต่อด้วยทางเดินลอยฟ้าไปยังสถานีชิดลมของ รถไฟฟ้าบีทีเอส รวมถึงอาคารเกษรเซ็นเตอร์ที่อยู่ตรงข้าม และโครงการอื่น ๆ ในพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีสะพานลอยตรงไปยังโรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณที่อยู่ใกล้เคียง
เกษรอัมรินทร์ แบ่งพื้นที่เป็นสองส่วน คือ ศูนย์การค้า ความสูง 5 ชั้น พื้นที่ 55,000 ตารางเมตร และอาคารสำนักงานอัมรินทร์ทาวเวอร์ ความสูง 22 ชั้น พื้นที่ 21,000 ตารางเมตร[8] โดยมีผู้เช่าหลัก เช่น วิลล่า มาร์เก็ท, อีฟแอนด์บอย, เรณู[11], คอปเปอร์ บียอนด์ บุฟเฟต์[12], จัสต์โค[13] และศูนย์อาหารเดอะ คุก แอท อัมรินทร์[14][15] เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของ "แอลวี เดอะ เพลส แบงค็อก" สาขารูปแบบพิเศษของหลุยส์ วิตตอง แห่งแรกของโลก ซึ่งประกอบด้วยร้านค้า, นิทรรศการ "วิชันนารี เจอร์นีส์", เลอ คาเฟ่, และร้านอาหาร เปิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567[16][17][18]
นอกจากนี้บริเวณแมคโดนัลเดิม จะพัฒนาเป็นช็อป โรเล็กซ์[19]
นอกจากนี้ บริเวณใกล้เคียงยังเป็นที่ตั้งของศาลท้าวอัมรินทราธิราชอีกด้วย
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "THE "BLOOMING LEGACIES" OF GAYSORN VILLAGE งานที่ขนทัพ Celebrities และศิลปินแนวหน้าของไทยมาแบบจัดเต็ม". BKKMENU.
- ↑ "อิสระ ว่องกุศลกิจ ทางสีเขียวแห่ง "มิตรผล" ความมั่งคั่งสู่ความมั่นคง - Forbes Thailand". forbesthailand.com.
- ↑ "รังสรรค์ ต่อสุวรรณ: อาจารย์ สถาปนิก นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของสังคมไทย (1)". The Momentum. 10 February 2017. สืบค้นเมื่อ 10 September 2021.
- ↑ 4.0 4.1 Chanowanna, Satanan (9 December 2015). "Arguments on the Postmodern Movement in Thai Architecture During the 1980s". EAU Heritage Journal Science and Technology (ภาษาอังกฤษ). 9 (3): 10–24. ISSN 2651-1738.
- ↑ Noobanjong, Koompong (2003). Power, identity, and the rise of modern architecture : from Siam to Thailand. Universal-Publishers. pp. 299, 309. ISBN 9781581122015.
- ↑ "First McDonald's opens in Bangkok – 75th Anniversary Bangkok Post". Bangkok Post.
- ↑ Khanthong, Thanong (10 July 2000). "Sogo to keep Bangkok presence". The Nation. สืบค้นเมื่อ 8 September 2021.
- ↑ 8.0 8.1 Jitpleecheep, Pitsinee (13 September 2017). "Gaysorn Village set to open". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 10 September 2021.
- ↑ Katharangsiporn, Kanana (22 April 2023). "Gaysorn sets out Bangkok expansion plans". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 October 2023.
- ↑ เอื้อศิริศักดิ์, ธนาดล (2024-02-21). "จากตำนานเสาโรมันของ อ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ สู่ยุคใหม่ที่ไม่เหมือนใครของ Gaysorn Amarin". The Cloud.
- ↑ "เกษรวิลเลจเผยตำนานบทใหม่ของ Gaysorn Amarin อย่างเต็มรูปแบบ ภายใต้คอนเซปต์ Blooming Legacies พร้อมเปิดตัว Raynue เล้าจ์แห่งใหม่ของย่านราชประสงค์ propholic.com". 2024-03-22.
- ↑ "Copper Beyond Buffet Gaysorn Amarin ที่สุดของพรีเมียมบุฟเฟต์ กับสาขาใหม่สุดหรูใจกลางเมือง". Hungry Hub Blog. 2024-03-22.
- ↑ "จัสโค เดินหน้าขยายโคเวิร์กกิ้งสเปซสาขาทื่ 4 ที่อาคารอัมรินทร์พลาซ่า". Positioning Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-06-11.
- ↑ Luekens, David (23 March 2017). "Siam Square". Travelfish. สืบค้นเมื่อ 10 September 2021.
- ↑ "Amarin Plaza Bangkok". Hotels.com. สืบค้นเมื่อ 10 September 2021.
- ↑ "Louis Vuitton is opening its first 'Le Cafe V' in Thailand with Gaggan Anand this March". Lifestyle Asia Bangkok (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-02-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-02-09. สืบค้นเมื่อ 2024-03-04.
- ↑ LV The Place Bangkok
- ↑ "เปิดแล้ว! 'LV The Place Bangkok' แลนด์มาร์กแห่งใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ จาก Louis Vuitton". VOGUE Thailand (ภาษาอังกฤษ). 2024-02-28.
- ↑ https://www.facebook.com/share/VX6Reng2acFPmrf1/?mibextid=WC7FNe เพจ”ที่ซุกหัวนอน” โพสต์บริเวณแมคโดนัล (อัมรินทร์เดิม) เตรียมพัฒนาเป็นช็อป โรเล็กซ์ l 23 สิงหาคม 2567