ถนนเพลินจิต

ถนนเพลินจิต (อักษรโรมัน: Thanon Phloen Chit) เป็นถนนในท้องที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นถนนสายสั้น ๆ มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนราชดำริ (แยกราชประสงค์) ต่อเนื่องจากถนนพระรามที่ 1 ตัดกับถนนชิดลม (แยกชิดลม) และถนนวิทยุ (แยกเพลินจิต) และไปสิ้นสุดที่แนวขอบทางรถไฟสายแม่น้ำฟากตะวันตก โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องออกไปคือถนนสุขุมวิท

เพลินจิต
ถนนเพลินจิตบริเวณแยกชิดลม
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว:2.826 กิโลเมตร (1.000 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ:ถนนราชดำริ / ถนนพระรามที่ 1 ในเขตปทุมวัน
 
ปลายทางทิศตะวันออกเฉียงใต้:ถนนสุขุมวิท ในเขตคลองเตย

ประวัติแก้ไข

ถนนเพลินจิตสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2463 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาลได้ตัดถนนขึ้น 2 สาย คือ เส้นหนึ่งเริ่มตั้งแต่ถนนราชดำริตรงสะพานราชปรารภ ตรงไปทางตะวันออกถึงถนนขวางที่ตั้งวิทยุโทรเลข ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "ถนนเพลินจิต" ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2464 ส่วนอีกเส้นหนึ่งตัดเชื่อมถนนเพลินจิตกับถนนพระรามที่ 4 และพระราชทานนามว่า "ถนนวิทยุ"[1]

โดยถนนเพลินจิต เดิมสะกดว่า "เพลินจิตร์" ได้รับนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการเสนอแนะของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เนื่องจากเดิมสถานที่บริเวณนี้เป็นที่ห่างไกล การสัญจรไปถึงลำบากจนแทบลืมความสบายไปเลย ผู้คนจึงมักนิยมเรียกว่า "หายห่วง"[2]

ปัจจุบัน ถนนเพลินจิตจัดว่าเป็นถนนสายธุรกิจสายหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าระดับหรูหราและใหญ่โตหลายแห่ง เช่นเดียวกับบริเวณแยกราชประสงค์ที่อยู่ใกล้เคียง[2] โดยมีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ตั้งอยู่บนเกาะกลางถนนตลอดสาย และมีสถานีรถไฟฟ้าบนถนนเพลินจิตอยู่ 2 สถานี คือ สถานีชิดลม และสถานีเพลินจิต

รายชื่อทางแยกแก้ไข

รายชื่อทางแยกบน ถนนเพลินจิต ทิศทาง: ราชประสงค์–ใต้ทางด่วนเพลินจิต
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
  ถนนเพลินจิต (ราชประสงค์–ใต้ทางด่วนเพลินจิต)
กรุงเทพมหานคร 0+000 แยกราชประสงค์ เชื่อมต่อจาก:   ถนนพระรามที่ 1 จากปทุมวัน, เฉลิมเผ่า
  ถนนราชดำริ ไปประตูน้ำ   ถนนราชดำริ ไปศาลาแดง
แยกชิดลม   ถนนชิดลม จากแยกชิดลม-เพชรบุรี   ถนนหลังสวน ไปหลังสวน
แยกเพลินจิต   ถนนวิทยุ ไปแยกวิทยุ-เพชรบุรี   ถนนวิทยุ ไปสารสิน, วิทยุ
ทางข้ามทางรถไฟสายแม่น้ำ
แยกใต้ทางด่วนเพลินจิต   ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไปดินแดง, แจ้งวัฒนะ   ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไปดาวคะนอง, บางนา (ไม่มีทางเชื่อมเข้า-ออกทางพิเศษ)
ตรงไป:   ถนนสุขุมวิท ไปบางนา, สมุทรปราการ (ห้ามรถตรงไป ยกเว้นรถประจำทาง)
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

อ้างอิงแก้ไข

  1. Warren, William (2002). Bangkok. London: Reaktion. p. 79. ISBN 9781861891297.
  2. 2.0 2.1 pongsakornlovic (2010-12-28). "CHN_184_Phloen Chit Road". ชื่อนั้น...สำคัญไฉน ?.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′37″N 100°32′43″E / 13.743639°N 100.545389°E / 13.743639; 100.545389