นานา (ย่านในกรุงเทพมหานคร)
นานา (อักษรโรมัน: Nana) เป็นชื่อย่านและทางแยกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กับแขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา โดยแยกนานาเป็นสี่แยกที่เป็นจุดตัดกันระหว่างถนนสุขุมวิท กับซอยสุขุมวิท 4 (ซอยนานาใต้) และซอยสุขุมวิท 3 (ซอยนานาเหนือ)
แยกนานาทางฝั่งปากซอยสุขุมวิท 3 (ซอยนานาเหนือ) | |
ชื่ออักษรไทย | นานา |
---|---|
ชื่ออักษรโรมัน | Nana |
รหัสทางแยก | N064 (ESRI), 105 (กทม.) |
ที่ตั้ง | แขวงคลองเตย เขตคลองเตย, แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร |
ทิศทางการจราจร | |
↑ | ซอยสุขุมวิท 3 (ซอยนานาเหนือ) » แยกมิตรสัมพันธ์ |
→ | ถนนสุขุมวิท » แยกอโศก (แยกอโศกมนตรี) |
↓ | ซอยสุขุมวิท 4 (ซอยนานา) » การยาสูบแห่งประเทศไทย |
← | ถนนสุขุมวิท » แยกใต้ด่วนพระรามที่ 4 (แยกบ่อนไก่) |
ชื่อ "นานา" มาจากนามสกุลของนายเล็ก นานา อดีตนักการเมืองและนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชาวไทยเชื้อสายอินเดีย ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมากในกรุงเทพมหานคร จนได้รับฉายาว่า "ราชาที่ดินกรุงเทพฯ" ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มธุรกิจในย่านนี้ [1]โดยมีสถานที่สำคัญใกล้เคียง คือ สถานีรถไฟฟ้านานา ตั้งอยู่บริเวณปากซอยสุขุมวิท 7 ห่างออกไปประมาณ 300 เมตร[1] และนานาพลาซ่า ศูนย์การค้าสำคัญของย่านนี้ ซึ่งอยู่ในซอยสุขุมวิท 4
บริเวณรอบ ๆ แยกนานา รวมถึงในซอยสุขุมวิท 3 และ 4 เป็นแหล่งที่เป็นที่รู้จักกันดีในแง่ของความเป็นย่านโคมแดง เช่นเดียวกับ ย่านพัฒน์พงศ์, ธนิยะ หรือซอยคาวบอย อันเป็นแหล่งรวมสถานบันเทิงยามค่ำคืนจำนวนมาก ทั้ง ผับ, บาร์, ดิสโก้เทค (รวมถึงมีการขายบริการทางเพศด้วย)[1] เป็นที่รู้จักกันดีของชาวต่างประเทศ[1] รวมถึงยังเป็นที่อยู่อาศัยของชาวต่างประเทศจำนวนมาก ในหลากหลายเชื้อชาติและศาสนา[2] ถือว่าเป็นย่านที่มีการพัฒนาและความเจริญ มีอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่สร้างขึ้นอยู่ข้างเคียง[3]
ประวัติ
แก้แต่เดิมบริเวณย่านนานาเรียกว่า ทุ่งบางกะปิ ภายหลังมีกลุ่มผู้มีรายได้สูง เจ้านายในพระราชวงศ์ ข้าราชการระดับสูงและคหบดี มาซื้อที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย เมื่อมีการตัดถนนสุขุมวิทเมื่อ พ.ศ. 2479 เมื่อเริ่มก่อสร้างเป็นถนนหินใส่ฝุ่น การจัดสรรที่ดินในบริเวณนี้เริ่มแรกโดยนายเอ อี นานา ได้ซื้อที่ดินแถบนี้ไว้มาก ได้เริ่มจัดสรรที่ดินของตนเป็นบริษัทแรกเป็นที่ดินซอยนานาแยกเข้าไปทั้งสองฟากของถนนสุขุมวิทในปัจจุบัน ต่อมามีเจ้าของที่ดินอื่น ๆ เริ่มเข้ามาพัฒนาด้วยเช่นกัน
ต่อมาเมื่อตัดถนนเพชรบุรีเมื่อ พ.ศ. 2503 ในช่วงปี พ.ศ. 2510 มีการสร้างสะพานข้ามคลองแสนเสบเพื่อเชื่อมถนนเพชรบุรีกับถนนสุขุมวิท ในช่วงสงครามเวียดนามเกิดสถานบริการและสถานบันเทิงระหว่างซอยนานาจนถึงแยกอโศก รวมถึงเกิดโรงแรมเพื่อรองรับชาวต่างชาติ โรงแรมที่มีชื่อเสียงเช่น โรงแรมแลนด์มาร์ก[4]
ระเบียงภาพ
แก้-
ซอยสุขุมวิท 3 (ซอยนานาเหนือ)
-
ด้านในซอยสุขุมวิท 4 (ซอยนานาใต้) มองเห็นแยกนานา
-
ปากซอยสุขุมวิท 3 (ซอยนานาเหนือ) ใน พ.ศ. 2549
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Soi Nana". Where in CITY?. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-09. สืบค้นเมื่อ 2018-03-20.
- ↑ Pipattanakitphuvadol, Napatsanan (2015-06-19). "ชาวต่างชาติ อยู่ย่านไหน? ใน กทม ?". APRIS Property.
- ↑ "Q Sukhumvit คอนโด High Rise ติด BTS นานา จาก Q.House". THINK of LIVING. 2015-02-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-01. สืบค้นเมื่อ 2018-03-20.
- ↑ เจนการ เจนการกิจ. "ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรม ในย่านสุขุมวิท" (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ นานา (ย่านในกรุงเทพมหานคร)
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์