ถนนราชดำริ (อักษรโรมัน: Thanon Ratchadamri) เป็นถนนสายสั้น ๆ มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร มีเส้นทางต่อจากถนนสีลม เริ่มตั้งแต่แยกศาลาแดง บริเวณตัดกับถนนพระรามที่ 4 ในพื้นที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงปทุมวันกับแขวงลุมพินีตลอดทั้งเขต ระหว่างนั้นตัดกับถนนสารสินที่สามแยกราชดำริ ตัดกับถนนพระรามที่ 1 และถนนเพลินจิตที่แยกราชประสงค์ จากนั้นข้ามคลองแสนแสบที่สะพานเฉลิมโลก 55 เข้าสู่เขตราชเทวี เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงถนนเพชรบุรีและแขวงมักกะสันในช่วงสั้น ๆ และสิ้นสุดที่สี่แยกประตูน้ำซึ่งเป็นแยกตัดกับถนนเพชรบุรี โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องต่อไปคือถนนราชปรารภ[1]

ถนนราชดำริ
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว2.218 กิโลเมตร (1.378 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2445–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศใต้สี่แยกศาลาแดง ถนนพระรามที่ 4
 สี่แยกราชประสงค์ ถนนพระรามที่ 1 และถนนเพลินจิต
ปลายทางทิศเหนือสี่แยกประตูน้ำ ถนนเพชรบุรี

ประวัติ

แก้
 
ถนนราชดำริถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2478
 
บริเวณสะพานเฉลิมโลก 55 พ.ศ. 2489

ถนนราชดำริเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2445[2] การสร้างถนนเส้นนี้เป็นพระราชดำริของพระองค์ที่ให้กำหนดขนาดถนนที่จะสร้างในรัชสมัยของพระองค์ โดยคำนึงถึงความสำคัญของถนนในอนาคตด้วย เพื่อว่าเมื่อธุรกิจก้าวหน้าขึ้น ด้วยประชาชนที่มากขึ้นและนิยมเดินทางด้วยถนนมากขึ้น จะทำให้ถนนคับแคบเกินไปดังเช่นถนนเจริญกรุง เมื่อแรกสร้างประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ว่ากว้างเกินไป แต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถนนเจริญกรุงกลับแคบเล็กไปทำให้เกิดอุบัติเหตุเสมอ

ถนนที่จะตัดขึ้นใหม่นั้น ควรจะได้วินิจฉัยเสียก่อนว่าจะเป็นถนนขนาดใด แล้วให้ปักเขตถนนไว้ และห้ามมิให้ปลูกสร้างตึกเรือนที่ถาวรลงในเขตถนนที่กำหนดไว้ เพื่อเป็นการเตรียมการไว้แต่แรก เจ้าหน้าที่จะได้ไม่ลำบากในการรื้อถอนเมื่อต้องการจะขยายถนน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มที่ถนนราชดำริเป็นต้นไป และกำหนดแนวการตัดถนนและขุดคลองไว้ที่ช่วงตั้งแต่ศาลาแดงไปถึงบางกะปิ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงเกษตราธิการและกระทรวงธรรมการเป็นผู้ดำเนินการ และมีเจ้าพนักงานในการสุขาภิบาลเป็นนายงานทำการขุดคลองและถนน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนและนามคลองในคราวเดียวกันเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2445 ว่า "ถนนราชดำริห์" และ "คลองราชดำริห์" และมีพระราชกระแสให้ปลูกต้นไม้ เช่น ต้นขี้เหล็ก หรือต้นก้ามปู หรือต้นประดู่ เพื่อให้รากของต้นไม้ยึดขอบถนนไว้ด้วย แต่เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้กราบบังคมทูลว่าท่านได้ปลูกต้นยางอินเดียและต้นมะพร้าวสลับกันไปแล้ว ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ ให้คงไว้ตามเดิม

ปัจจุบันถนนราชดำริกลายเป็นถนนสำคัญในย่านการค้า เพราะทั้ง 2 ฝั่งของถนนราชดำริฝั่งทิศเหนือของแยกราชประสงค์ เต็มไปด้วยศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และตลาดมากมาย และมีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม เป็นรถไฟฟ้ายกระดับเหนือเกาะกลางตั้งแต่สี่แยกราชประสงค์ไปจนถึงสี่แยกศาลาแดง และเป็นที่ตั้งของสถานีราชดำริ บริเวณใกล้ ๆ กับสามแยกราชดำริ

รายชื่อทางแยก

แก้
รายชื่อทางแยกบน ถนนราชดำริ ทิศทาง: ศาลาแดง – ประตูน้ำ
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
  ศาลาแดง – ประตูน้ำ (ถนนราชดำริ)
กรุงเทพมหานคร 0+000 แยกศาลาแดง เชื่อมต่อจาก:   ถนนสีลม จากบางรัก
  ถนนพระรามที่ 4 ไปสามย่าน   ถนนพระรามที่ 4 ไปวิทยุ
0+582 แยกราชดำริ ไม่มี   ถนนสารสิน ไปถนนวิทยุ
1+720 แยกราชประสงค์   ถนนพระรามที่ 1 ไปปทุมวัน   ถนนเพลินจิต ไปชิดลม
สะพานเฉลิมโลก 55 ข้ามคลองแสนแสบ
2+332 แยกประตูน้ำ   ถนนเพชรบุรี ไปราชเทวี   ถนนเพชรบุรี ไปอโศก
ตรงไป:   ถนนราชปรารภ ไปมักกะสัน, ดินแดง
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญที่ถนนตัดผ่าน

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "รายละเอียดถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน 2". กองก่อสร้างและบูรณะ สำนักการโยธา. สืบค้นเมื่อ 2 พ.ย. 2014.
  2. ""ร้อยเรื่องเมืองไทย" ตอน ราชดำริ - ราชประสงค์". Youtube. 11 พ.ค. 2012. สืบค้นเมื่อ 2 พ.ย. 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°44′23″N 100°32′22″E / 13.739639°N 100.539389°E / 13.739639; 100.539389