แยกปทุมวัน เป็นสี่แยกในพื้นที่แขวงวังใหม่และแขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดของถนนพระรามที่ 1 และถนนพญาไท และถือเป็นจุดศูนย์รวมของทางหลวงสายประธาน 2 จาก 4 สายของประเทศไทย คือถนนพหลโยธินซึ่งเริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งตั้งอยู่ที่ปลายถนนพญาไททางทิศเหนือ และถนนสุขุมวิทซึ่งอยู่ที่ปลายถนนเพลินจิตที่เชื่อมต่อกับถนนพระรามที่ 1 ทางทิศตะวันออก

สี่แยก ปทุมวัน
ทางวิ่งรถไฟฟ้าบีทีเอสสองสายและสกายวอล์กเหนือแยกปทุมวัน
ชื่ออักษรไทยปทุมวัน
ชื่ออักษรโรมันPathum Wan
รหัสทางแยกN045 (ESRI), 096 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงวังใหม่และแขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนพญาไท
» แยกราชเทวี
ถนนพระรามที่ 1
» แยกเฉลิมเผ่า
ถนนพญาไท
» แยกสามย่าน
ถนนพระรามที่ 1
» แยกเจริญผล

ปัจจุบันมีสกายวอล์กวันสยาม เป็นทางเดินเชื่อมต่อระหว่างสถานีสนามกีฬาแห่งชาติของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ไปยังสถานที่สำคัญของย่านสยาม ทั้ง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, เอ็มบีเคเซ็นเตอร์, สยามดิสคัฟเวอรี และสยามสแควร์ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน จัดสร้างโดยสมาคมการค้าพลังสยาม (สมาคมการค้าที่ร่วมมือโดยเอ็มบีเค, สยามพิวรรธน์ และสยามสแควร์) ซึ่งเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2560[1]

สถานที่สำคัญบริเวณทางแยก แก้

เหตุการณ์สำคัญ แก้

แยกปทุมวัน เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ใช้จัดการชุมนุมทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง ดังนี้

อ้างอิง แก้

  1. มติชน (4 สิงหาคม 2560). "เปิดใช้แล้ว!!ทางเดินลอยฟ้าเชื่อมแยกปทุมวัน". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "เกาะติดชัตดาวน์กรุงเทพ แยกปทุมวัน". เอ็มไทยดอตคอม. 2014-01-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-05. สืบค้นเมื่อ 2018-02-19.
  3. ""สุเทพ"แจ้งยุบเวทีรวมสวนลุมฯ-เปิดจราจรรอบเวที 2 มี.ค." ผู้จัดการออนไลน์. 2014-03-1. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′46″N 100°31′51″E / 13.746164°N 100.530750°E / 13.746164; 100.530750