สยามเซ็นเตอร์

ศูนย์การค้าบริเวณย่านสยามสแควร์ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

สยามเซ็นเตอร์ เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่แบบพิเศษเฉพาะ (Specially Shopping Center) ซึ่งไม่มีร้านแบ่งตามแผนก (Department Store) ดำเนินงานโดย บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด มีที่ตั้งอยู่ตรงกลางของกลุ่มศูนย์การค้าวันสยาม ในย่านสยาม ริมถนนพระรามที่ 1

สยามเซ็นเตอร์
สยามเซ็นเตอร์ logo
แผนที่
ที่ตั้ง979 ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°44′47″N 100°31′57″E / 13.74639°N 100.53250°E / 13.74639; 100.53250
เปิดให้บริการ29 มกราคม พ.ศ. 2516[1]
พ.ศ. 2534 (ปรับปรุงครั้งแรก)
พ.ศ. 2540 (หลังไฟไหม้) (ปรับปรุงครั้งที่ 2)
มกราคม-ตุลาคม พ.ศ. 2548 (ปรับปรุงครั้งที่ 3)
กรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2555 (ปรับปรุงครั้งที่ 4)
ผู้บริหารงานบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด
จำนวนชั้น4 ชั้น
ที่จอดรถ1,500 คัน
ขนส่งมวลชน สยาม
เว็บไซต์www.siamcenter.co.th

ประวัติ

แก้

สยามเซ็นเตอร์เปิดบริการเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศูนย์การค้า[1] ปรับปรุงครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2534 ปรับปรุงครั้งที่สองเมื่อปี พ.ศ. 2540 (หลังไฟไหม้) ใช้เวลาราว 2 ปี ใช้งบกว่า 90 ล้าน[2] ปรับปรุงครั้งที่สาม ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม พ.ศ. 2548 ใช้งบกว่า 350 ล้านบาท (ทยอยปิดบางส่วน) และปรับปรุงครั้งที่สี่ ระหว่างเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2555 และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

การจัดสรรพื้นที่

แก้

สยามเซ็นเตอร์มีพื้นที่แต่ละชั้นประมาณ 200-400 ตารางเมตร โดยแบ่งได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ ได้แก่

  • Fashion Avenue ประกอบด้วยร้านค้าเรือธงของสินค้าอันมีชื่อเสียง ในพื้นที่ร้านขนาดใหญ่ ตกแต่งพื้นที่ในลักษณะโปร่ง สบายตา ฟรีฟอร์ม อาทิ การใช้กระจกหรืออาครีลิกใสทรงโค้งเหลี่ยม ในการตกแต่งหน้าร้าน เปิดพื้นที่ทางเดินให้โล่งกว้าง
  • Fashion Galleria ร้านค้าเสื้อผ้า เครื่องประดับ และเครื่องสำอาง โดยมีการจัดพื้นที่แบบคอนเซ็ปท์ช็อป
  • Fashion Visionary ศูนย์รวมร้านเสื้อผ้าและเครื่องประดับของนักออกแบบแฟชันชาวไทย การตกแต่งบริเวณชั้นนี้ ใช้วัสดุตกแต่งด้วยไม้ เหล็ก และทองแดง
  • Food Factory เป็นที่ตั้งของภัตตาคาร ร้านอาหารนานาชาติต่าง ๆ

โดยมีทางเดินซึ่งเชื่อมเข้ากับสยามดิสคัฟเวอรี สยามพารากอน และสถานีสยามของรถไฟฟ้าบีทีเอส

รางวัลที่ได้รับ

แก้

หลังการปรับปรุงอาคารครั้งที่สี่ สยามเซ็นเตอร์ได้รับเลือกให้เป็นผู้ชนะและได้รับรางวัลโกลด์ อวอร์ด จากเวทีเอเชีย แปซิฟิก ช็อปปิ้ง เซ็นเตอร์ อวอร์ด ในปี พ.ศ. 2557 และติด 1 ใน 5 ศูนย์การค้าที่ออกแบบดีที่สุดของโลก จากการจัดอันดับของสมาคมศูนย์การค้าระหว่างประเทศ (International Council of Shopping Centers – ICSC) ประจำปี พ.ศ. 2558 ในสาขาการออกแบบและพัฒนา และ รางวัลศูนย์การค้าที่ยอดเยี่ยมของประเทศไทย จากการโหวตของนักท่องเที่ยวชาวจีน ซึ่งเป็นการจัดขึ้นโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยสยามเซ็นเตอร์ได้รับเลือกเป็นศูนย์การค้าที่ดีที่สุดประจำปี พ.ศ. 2558[3]

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้