สยามพิวรรธน์

(เปลี่ยนทางจาก วันสยาม)

สยามพิวรรธน์ เป็นบริษัทธุรกิจด้านการค้าปลีกและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ปัจจุบันเป็นเจ้าของและผู้บริหารสยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ และอาคารสำนักงานสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ เป็นหนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ นอกจากนี้ยังร่วมกับพันธมิตรพัฒนาธุรกิจห้างสรรพสินค้าในศูนย์การค้าสองแห่ง ได้แก่ พารากอน ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ในสยามพารากอนและสยามทาคาชิมายะในไอคอนสยาม ควบคู่ไปกับการพัฒนาและขยายธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจบริหารจัดการศูนย์การประชุมและศูนย์แสดงนิทรรศการ การบริหารจัดการอาคาร การสื่อสารการตลาด รวมถึง ONESIAM SuperApp[1][2][3] ซึ่งเป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มที่รวมสินค้า บริการ และสิทธิประโยชน์จากร้านค้าในศูนย์การค้าทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ และไอคอนสยาม

สยามพิวรรธน์
อุตสาหกรรมธุรกิจค้าปลีก
อสังหาริมทรัพย์
ก่อตั้ง10 มกราคม พ.ศ. 2502 (ในชื่อ "บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส")
28 มกราคม พ.ศ. 2546 (เปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน)
ผู้ก่อตั้งพลเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์
สำนักงานใหญ่989 อาคารสำนักงานสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
บุคลากรหลัก
ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์
บริษัทแม่สยามพิวรรธน์
เว็บไซต์siampiwat.com

ประวัติแก้ไข

สยามพิวรรธน์ มีจุดเริ่มต้นในปี 2502 ด้วยการก่อตั้งบริษัท บางกอก อินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส์ จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตอล ซึ่งเป็นโรงแรมห้าดาวและเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์แรกของบริษัทที่เปิดทำการในปี 2509 ต่อมาในปี 2516 ได้เปิดให้บริการสยามเซ็นเตอร์ ตามด้วยศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ และสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ ในปี 2540[4]

ในปี 2545 สยามพิวรรธน์ ปิดกิจการโรงแรมสยาม อินเตอร์คอนติเนนตอล หลังดำเนินกิจการมาได้ 35 ปี และรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดเพื่อเริ่มโครงการก่อสร้างศูนย์การค้าสยามพารากอน และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “สยามพิวรรธน์” ในปี 2546 และเปิดตัวสยามพารากอนในปี 2548[5]

ในปี 2559 สยามพิวรรธน์ปรับปรุงสยามดิสคัฟเวอรี่และเปิดทำการอีกครั้งในฐานะ “ดิ เอ็กซ์พลอราทอเรียม” (Siam Discovery - The Exploratorium)[6]  ก่อนจะเปิดตัวไอคอนสยาม ในปี 2561 ซึ่งเป็นเมกะโปรเจ็กต์ที่มีมูลค่าสูงถึง 54,000 ล้านบาท โดยตั้งเป้าให้เป็น The Next Global Destination[7]  ภายใต้แนวคิด “การสร้างประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย” (Creating Shared Value) และ “การร่วมกันรังสรรค์” (Co-Creation)[8]

เหตุการณ์สำคัญแก้ไข

2502 พลตรี เฉลิมชัย จารุวัสตร์ (ยศขณะนั้น) ก่อตั้งบริษัทบางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอลโฮเต็ลส์ จำกัด

2509 โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตอล เปิดทำการและเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์แรกของบริษัท

2516 สยามเซ็นเตอร์เปิดทำการ

2540 สยามดิสคัฟเวอรี่เปิดทำการ ควบคู่กับอาคารสำนักงานระดับหรู สยามพิวรรธน์ทาวเวอร์

2540 ลอฟท์ ร้านสเปเชียลตี้ชื่อดังจากญี่ปุ่น เปิดตัวเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่สยามดิสคัฟเวอรี่

2545 สยามพิวรรธน์ปิดกิจการโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตอลหลังดำเนินกิจการมาได้ 35 ปี และรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดเพื่อเริ่มโครงการก่อสร้าง “ศูนย์การค้าสยามพารากอน”

2546 เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น “สยามพิวรรธน์”

2548 สยามพารากอนเปิดทำการ

2549 รอยัล พารากอน ฮอลล์ ซึ่งตั้งอยู่บนชั้น 5 ของศูนย์การค้าสยามพารากอน เปิดทำการเป็นศูนย์การประชุมและแสดงนิทรรศการ

2556 สยามเซ็นเตอร์ได้ปรับโฉมใหม่ทั้งหมดและเปิดตัวอีกครั้งในชื่อ “สยามเซ็นเตอร์ – เมืองแห่งไอเดียที่ล้ำเทรนด์” (Siam Center - The Ideopolis)

2558 เปิดตัว “สยามพิวรรธน์อคาเดมี” แหล่งรวมความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการศูนย์การค้าและโครงการอสังหาริมทรัพย์ โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อนำเสนอหลักสูตรด้านการบริหารจัดการอาคารโดยเฉพาะ

2559 สยามดิสคัฟเวอรี่เปิดทำการอีกครั้งในฐานะ “ดิ เอ็กซ์พลอราทอเรียม” (Siam Discovery - The Exploratorium)

2560 สยามพิวรรธน์ขยายธุรกิจและก่อตั้ง บริษัท สยาม กูร์เมต์ โฮลดิ้ง จำกัด เป็นบริษัทย่อยที่ดูแลธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

2561 เปิดตัวไอคอนสยาม

2563 สยามพิวรรธน์เปิดตัว สยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ (Siam Premium Outlets Bangkok)

ขอบข่ายธุรกิจแก้ไข

กลุ่มสยามพิวรรธน์ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีกแบบครบวงจร โดยแยกย่อยเป็น 7 กลุ่มธุรกิจ ดังต่อไปนี้

ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

 
สยามเซ็นเตอร์

สยามเซ็นเตอร์ (Siam Center – The Ideaopolis) ศูนย์การค้าที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516

 
สยามดิสคัฟเวอรี่

สยามดิสคัฟเวอรี่ (Siam Discovery - The Exploratorium) ศูนย์การค้าที่มุ่งเน้นตอบสนองความต้องการด้านไลฟ์สไตล์ที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540

 
สยามพิวรรธน์ทาวเวอร์

สยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ อาคารสำนักงานระดับเอ็กซ์คลูซีฟสูง 30 ชั้น ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร

 
สยามพารากอน

สยามพารากอน ที่เปิดตัวในปี พ.ศ. 2548 เป็นศูนย์การค้าระดับโลกที่ได้รับความนิยมจากทั้งคนไทย ชาวต่างชาติที่พักอาศัยในประเทศไทย และนักท่องเที่ยว จนติดอันดับที่ 6 สถานที่ที่นักท่องเที่ยวเช็คอินสูงสุดในโลก ซึ่งเป็นสถานที่แห่งเดียวในไทยและภูมิภาคเอเชียติดทำเนียบ "1 ใน 10" จากการจัดอันดับของ Facebook Review ในปี 2558 (Global Legendary Landmark)[9]

 
ไอคอนสยาม

ไอคอนสยาม โครงการเมืองและศูนย์การค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ติดอันดับ 1 ใน 4 ศูนย์การค้ายอดเยี่ยมระดับโลกจาก MIPIM Awards 2021 ซึ่งเป็นงานประกวดอสังหาริมทรัพย์ระดับโลกที่จัดมากว่า 30 ปี เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2564 ณ เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส[10]

 
สยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ

สยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ เปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2563 เป็นลักชัวรี่พรีเมี่ยมเอาท์เล็ต ภายใต้การดูแลของ บริษัท สยามพิวรรธน์ ไซม่อน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างไซม่อน พร็อตเพอร์ตี้ กรุ๊ป และ กลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์


ธุรกิจห้างสรรพสินค้า

พารากอน ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ เป็นห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่บนพื้นที่ 80,000 ตารางเมตรภายในสยามพารากอนโดยมีสยามพิวรรธน์ และ เดอะ มอลล์ กรุ๊ป เป็นเจ้าของและดำเนินงานร่วมกัน

สยามทาคาชิมายะ เป็นห้างสรรพสินค้าทาคาชิมายะแห่งแรกในประเทศไทย บนพื้นที่ 36,000 ตารางเมตรภายในไอคอนสยาม เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างทาคาชิมายะ ห้างสรรพสินค้าระดับพรีเมี่ยมจากประเทศญี่ปุ่น กับ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด 


ธุรกิจค้าปลีก

สยามพิวรรธน์ก่อตั้ง บริษัท สยามพิวรรธน์ รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด เพื่อเป็นหน่วยธุรกิจค้าปลีกโดยเฉพาะ

LOFT (ลอฟท์) ร้านสเปเชียลตี้สโตร์สัญชาติญี่ปุ่นที่มีต้นกำเนิดในชิบูย่า เปิดตัวครั้งแรกในเมืองไทยในปีพ.ศ. 2540 โดยเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวที่ได้รับอนุญาตให้เปิดนอกญี่ปุ่น ปัจจุบันมี 2 สาขา ได้แก่ สาขาศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ และสาขาไอคอนสยาม

The Selected ไลฟ์สไตล์มัลติแบรนด์สโตร์ที่ตั้งอยู่ภายในไอคอนสยาม เป็นแหล่งรวมทั้งศิลปะ แฟชั่น ไลฟ์สไตล์ ดนตรี ไปจนถึงเทคโนโลยี โดยนำเสนอแบรนด์ต่างประเทศและแบรนด์ไทยรวมกว่า 100 แบรนด์

The Wonder Room แฟชั่นมัลติแบรนด์สโตร์ในสยามเซ็นเตอร์ที่เปิดโอกาสให้ดีไซเนอร์ไทยรุ่นใหม่ที่กำลังมาแรงได้นำผลงานมาจัดแสดงและจำหน่าย

ODS (Objects of Desire Store) ร้านของตกแต่งบ้านมัลติแบรนด์บนชั้น 3 สยามดิสคัฟเวอรี่ ที่รวบรวมสินค้าตกแต่งบ้านและงานออกแบบมานำเสนอมากกว่า 130 แบรนด์

ȦLAND ไลฟ์สไตล์สโตร์แอนด์คัลเจอร์สเปซ (Lifestyle Store & Culture Space) จากประเทศเกาหลี ตั้งอยู่ในสยามเซ็นเตอร์และไอคอนสยาม เป็นร้านมัลติแบรนด์ที่รวบรวมสินค้าหมวดแฟชั่นและไลฟ์สไตล์เกาหลีที่ใหญ่

Absolute Siam ตั้งอยู่ ณ ชั้น 1 สยามเซ็นเตอร์ เป็นศูนย์รวมสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ภายใต้ไอเดียสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่จากแบรนด์ไทยและดีไซน์เนอร์ชื่อดัง

ไอคอนคราฟต์ ตั้งอยู่ที่ชั้น 4 และ ชั้น 5 ไอคอนสยาม และ ชั้น 3 สยามดิสคัฟเวอรี่ เป็นพื้นที่แห่งแรงบันดาลใจที่รวมผลงานจากช่างฝีมือไทยทั่วประเทศเพื่อเชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยในมุมมองใหม่ลงบนงานหัตถศิลป์

Ecotopia ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 สยามดิสคัฟเวอรี่ เมืองแห่งคนรักษ์โลกที่รวบรวมผลิตภัณฑ์รักษ์โลกกว่า 300 แบรนด์

Jung Saem Mool (จองแซมมุล) ตั้งอยู่ใน สยามเซ็นเตอร์ และไอคอนสยาม เป็นแบรนด์เครื่องสำอางชื่อดังจากเกาหลีที่ก่อตั้งโดยจองแซมมุล เมคอัพอาร์ทิสต์ระดับไอคอนของเกาหลี

สุขสยาม ค้าปลีกรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Co-Creation หรือการร่วมกันรังสรรค์ระหว่างไอคอนสยามกับพันธมิตรทางธุรกิจ ศิลปิน วิสาหกิจท้องถิ่น ชุมชนวิถีไทย และผู้ประกอบการรายย่อยระดับท้องถิ่นจาก 77 จังหวัดทั่วไทย


ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

สยามพิวรรธน์ได้ก่อตั้งบริษัท สยาม กูร์เม่ต์ โฮลดิ้ง จำกัด ขึ้นเป็นบริษัทย่อยเพื่อดูแลการคัดสรร ลงทุน สร้าง และกำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มชั้นเลิศให้แก่กลุ่มสยามพิวรรธน์

บลู บาย อลัง ดูคาส (Blue by Alain Ducasse) หนึ่งในร้านอาหารไฟน์ไดนิ่งระดับหรูในโซนไอคอนลักซ์ของไอคอนสยาม ซึ่งเป็นร้านอาหารแห่งแรกในประเทศไทยของ Alain Ducasse เชฟที่มีชื่อเสียงระดับโลก ทั้งยังได้รางวัลมิชลินสตาร์จากคู่มือ มิชลิน ไกด์ ฉบับ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ตและพังงา ประจำปี 2564[11]


ธุรกิจบริหารจัดการศูนย์การประชุมและศูนย์แสดงนิทรรศการ

ด้วยความพร้อมด้านทีมงานมืออาชีพและประสบการณ์ที่ครอบคลุม สยามพิวรรธน์ขยายธุรกิจในอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ของประเทศไทย

 
รอยัล พารากอน ฮอลล์

รอยัล พารากอน ฮอลล์ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ 12,000 ตารางเมตร ชั้น 5 สยามพารากอน รองรับ 5,000 ที่นั่ง ดำเนินงานโดย บริษัท รอยัล พารากอน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ซึ่งรับหน้าที่บริหารสถานที่จัดการประชุม แสดงนิทรรศการ และจัดงานต่างๆ พร้อมด้วยเทคโนโลยี เพื่อรองรับการจัดงาน Entertainment อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งงานระดับชาติและระดับโลก

 
ทรู ไอคอน ฮอลล์

ทรู ไอคอน ฮอลล์ ศูนย์ประชุมพร้อมนวัตกรรมล้ำยุคแห่งแรกในกรุงเทพฯ บนพื้นที่กว่า12,000 ตารางเมตร พร้อมที่นั่ง 2,600 ที่นั่ง บนชั้น 7 ของไอคอนสยาม มีขีดความสามารถและเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดรองรับการจัดงานทั้งระดับชาติและระดับโลก


การบริหารจัดการอาคาร

 
ICS

บริษัท สยามโปรเฟสชั่นแนล แมเนจเม้นท์ จำกัด เป็นบริษัทย่อยของสยามพิวรรธน์ที่รับหน้าที่บริหารจัดการอาคารทุกประเภทโดยทีมงานมืออาชีพ


การสื่อสารการตลาด

บริษัท ซูพรีโม จำกัด เป็นบริษัทในเครือที่รับหน้าที่บริหารจัดการด้านการตลาดแบบครบวงจร ให้บริการด้านการสื่อสารการตลาด ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง ส่งเสริมการขายและงานอีเว้นท์ระดับโลก ให้แก่ผู้เช่าและโครงการอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มสยามพิวรรธน์

แพลตฟอร์มธุรกิจสู่การเติบโตและสร้างความยั่งยืนแก้ไข

นอกจากนี้ กลุ่มสยามพิวรรธน์ยังขับเคลื่อนการเติบโตและความยั่งยืนด้วยแนวคิด “การสร้างคุณค่าสู่มูลค่า” (Universe of Value)[12][13][14][15] ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มธุรกิจที่สอดคล้องกับหัวข้อหลักของการประชุมสุดยอดเอเปค 2022 คือ เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล หรือ “Open. Connect. Balance.” เน้นสร้างสรรค์แพลตฟอร์มที่เปิดกว้างสู่โอกาสความสำเร็จร่วมกัน สนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อยของไทยได้พัฒนาศักยภาพ ยกระดับผลิตภัณฑ์ และสร้างช่องทางการตลาดให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ผ่านเครือข่ายธุรกิจค้าปลีกของสยามพิวรรธน์ อาทิ

o  Absolute Siam ศูนย์รวมสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์โดยภายใต้ไอเดียของไทยดีไซน์เนอร์

o  ไอคอนคราฟต์ พื้นที่แห่งแรงบันดาลใจที่รวมผลงานจากช่างฝีมือไทยทั่วประเทศ

o  สุขสยาม แหล่งรวบรวมสิ่งดีงามจากทั่วประเทศไทยมานำเสนอสู่สายตาชาวโลก

o  O.D.S.: Objects of Desire Store ร้านมัลติแบรนด์ที่เป็นแหล่งรวมสินค้าตกแต่งบ้านที่ได้รางวัล

นอกจากนี้ยังเน้นการเชื่อมโยงพันธมิตร คู่ค้า ร้านค้า ลูกค้า และผู้เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคค้าปลีกและท่องเที่ยว เพื่อสร้างระบบนิเวศน์เพื่อความสำเร็จร่วมกันอย่างยั่งยืนและเอื้อต่อการฟื้นฟูและส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจ รวมทั้งขยายธุรกิจโดยนำอัตลักษณ์ไทยสู่เวทีโลก ผ่านหลากหลายโครงการ อาทิ

o  ร่วมทุนกับ ไซม่อน พร็อตเพอร์ตี้ กรุ๊ป เปิด “สยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ” (Siam Premium Outlets Bangkok) เป็นลักชัวรี่พรีเมี่ยมเอาท์เล็ตแห่งแรกในประเทศไทย[16]

o  ร่วมกับทาคาชิมายะ ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าระดับพรีเมี่ยมจากประเทศญี่ปุ่น เปิดให้บริการห้างสรรพสินค้า "สยาม ทาคาชิมายะ" สาขาแรกในประเทศไทยในไอคอนสยาม

 
ONESIAMSuperApp

o  ร่วมกับพันธมิตรจาก 13 อุตสาหกรรมในการพัฒนา ONESIAM SuperApp แพลตฟอร์มที่รวมประสบการณ์เหนือความคาดหมายและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ไว้ในที่เดียว เพิ่มความสะดวกสบายให้ลูกค้าได้ทุกที่ทุกเวลา


ในแง่การสร้างความสมดุล บริษัทฯ คำนึงถึงความยั่งยืนในทุกกระบวนการและทุกธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ทั้งผู้คน สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้เกิดโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และช่วยฟื้นฟูและส่งต่อโลกที่น่าอยู่ให้กับทุกชีวิต อาทิ

o  การใช้แนวคิดอารยสถาปัตย์ (Universal Design) เป็นจุดเริ่มต้นของการออกแบบก่อสร้างในทุกๆ อาคารและพื้นที่โดยรอบ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่และเพื่อขับเคลื่อนรองรับและส่งเสริมทุกการเข้าถึงให้ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย สามารถใช้บริการต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบาย ปลอดภัย เท่าเทียม

o  การมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูและส่งต่อโลกที่น่าอยู่ให้กับทุกชีวิต ผ่าน Recycle Collection Center หรือ RCC ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการ Siam Piwat 360° Waste Journey to Zero Waste

o  การจัดการขยะแบบครบวงจรตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยเปิดจุดรับขยะแบบไดร์ฟทรู (Drive-Thru) แห่งแรกของประเทศไทย

o  จัดตั้ง อีโคโทเปีย (Ecotopia) ต้นแบบของชุมชนคนรักษ์โลกที่หลอมรวมความคิดสร้างสรรค์และการดำรงชีวิตวิถีใหม่เพื่อความยั่งยืนของทุกฝ่ายร่วมกัน (Sustainable Living) ผ่านการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ครบครันจากผู้ผลิตมากกว่า 300 แบรนด์ และเป็นพื้นที่สำหรับคนรักษ์โลกได้เข้ามาทำกิจกรรมร่วมกัน

o  ระบบโซลาร์รูฟท็อปของไอคอนสยาม ซึ่งตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 1,992,887 kWh ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 996 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ton CO.2.e) เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 57,921 ต้น ถือเป็นพลังงานทดแทนที่ช่วยลดต้นทุนจากการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในองค์กรและช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์สู่ชั้นบรรยากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

o  สยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต แบงค์คอก กำลังอยู่ระหว่างพัฒนาพื้นที่หลังคาแนวราบขนาดกว่า 20,000 ตารางเมตร ให้เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้ถึง 3,000 เมตริกตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ยืนต้น 49,000 ต้นใน 10 ปี (ที่มา: EPA.gov)

o  นโยบาย Green Building เป็นแนวปฏิบัติในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ทำให้มีพื้นที่สีเขียวที่อยู่ในสยามพารากอน 2,500 ตรม. สยามเซ็นเตอร์ 400 ตรม. สยามดิสคัฟเวอรี่ 500 ตรม. อาคารจอดรถสยาม 2,300 ตรม. ไอคอนสยาม 4,000 ตรม. และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต แบงค์คอก 22,288 ตร.ม.

o  โครงการ Green Heart รณรงค์ปลูกฝังอุดมการณ์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในใจพนักงานทุกคน โดย กระตุ้นให้เกิดความตระหนักถึงการไม่เริ่มสร้างขยะจากตัวเอง ร่วมกันสร้างพื้นที่สีเขียว ลดปริมาณขยะโดยให้ความสำคัญกับการคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบ

รางวัลสำคัญ ๆ ที่ได้รับแก้ไข

พ.ศ. 2558       Thailand Green Design Awards จากโครงการประกวด 100 Design Project โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พ.ศ. 2559       China Daily Asia Pacific Retail Leadership Award[17]

พ.ศ. 2559       ใบรับรองการชดเชยคาร์บอนประจำปี 2559 จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

พ.ศ. 2559       ใบรับรองจาก Friendly Design Foundation - Universal Design Organization of the Year

พ.ศ. 2559       ใบรับรองจาก Friendly Design Foundation - Friendly Design Building

พ.ศ. 2560       รางวัล The Best Rest Room of the Year โดยกรุงเทพมหานคร

พ.ศ. 2560       Thailand Green Design Awards for Business Entrepreneur for Energy Saving (โครางการ Carbon Foot Print) โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พ.ศ. 2560       ใบรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) - องค์การช่วยลดคาร์บอน

พ.ศ. 2560       ใบรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) - บุคลากรช่วยการลดคาร์บอน

พ.ศ. 2561       Outstanding Leaders in Asia โดย Asia Corporate Excellence & Sustainability Awards (ACES)

พ.ศ. 2561       สยามพิวรรธน์ได้รับการจัดอันดับที่ 16 ในฐานะองค์กรที่คนรุ่นใหม่อยากเข้าทำงานมากที่สุด โดย Work Venture

พ.ศ. 2562       Urban Place Award 2019 - OneSiam Skywalk (Skywalk บริเวณแยกปทุมวัน) ได้รับการยอมรับว่าเป็นโครงการต้นแบบเพื่อการพัฒนาเมืองในด้านสาธารณูปโภคสำหรับคนเดินจากสมาคมออกแบบผังเมืองไทย

พ.ศ. 2563       เป็น 1 ใน 50 บริษัทที่คนรุ่นใหม่สนใจร่วมงานด้วยมากที่สุดในปี 2563 จากผลสำรวจของ WorkVenture เว็บไซต์ค้นหางานที่มีผู้หางานคนรุ่นใหม่ทั่วประเทศเข้าใช้บริการแล้วมากกว่า 5,000,000 คน

พ.ศ. 2563       รางวัล “Green Leadership” ในฐานะองค์กรที่มีนโยบายดูแลรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆ พื้นที่ที่ได้เข้าไปดำเนินธุรกิจ จากเวที Asia Responsible Enterprise Awards 2020 (AREA 2020)[18]

พ.ศ. 2564       สยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ ได้รับรางวัล Building Safety Award 2021 ประเภท GOLD โดยสมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร (The Building Inspectors Association: BSA)

พ.ศ. 2565       รางวัล “องค์กรส่งเสริมอารยสถาปัตย์แห่งปี” ในงาน “Thailand Friendly Design Expo 2022 : มหกรรมอารยสถาปัตย์ และนวัตกรรมสุขภาพเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 5” ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่เชิดชูด้านอารยสถาปัตย์ที่สยามพิวรรธน์ได้รับต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 (พ.ศ. 2559-2560, 2562, 2565)[19]

พ.ศ. 2565       รางวัล "Corporate Excellence Award" และ "Inspirational Brand Award" จาก Asia Pacific Enterprise Awards (APEA) 2022 ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับองค์กรที่มีผลงานโดดเด่นทางด้านการบริหารงาน และสร้างการเติบโตทางธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง[20][21]

พ.ศ. 2565       รางวัลชนะเลิศระดับโกลด์ในสาขา Excellence in Crisis Management and Recovery แสดงถึงความแข็งแกร่งด้านการบริหารจัดการภาวะวิกฤติและการฟื้นฟู และรางวัลระดับบรอนซ์ สาขา Excellence in Women Empowerment Strategy การให้ความสำคัญในด้านความเท่าเทียมสนับสนุนและส่งเสริมผู้หญิงให้มีความก้าวหน้าในองค์กร ในงาน HR Excellence Awards 2022 จาก Human Resources Online ประเทศสิงคโปร์[22]

พ.ศ. 2565       รางวัลยอดเยี่ยม “บริษัทที่น่าทำงานด้วยมากที่สุดในเอเชีย” หรือ HR Asia Best Companies to Work for in Asia 2022 จาก HR Asia ซึ่งเป็นนิตยสารชั้นนำด้านทรัพยากรบุคคลของภูมิภาคเอเชีย[23]

พ.ศ. 2565       รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 สาขาสถานที่ทำงานที่มีความเท่าเทียมทางเพศ ในงาน UN Women 2022 Thailand Women’s Empowerment Principles (WEPs) Awards จัดโดย องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women)[24]

พ.ศ. 2565       นายอักเซล วินเทอร์ ประธานบริหารสายงานดิจิทัล บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ได้รับรางวัล CIO100 Awards สุดยอดผู้บริหารด้านเทคโนโลยี ในกลุ่มธุรกิจรีเทลขององค์กรไทยที่มีผลงานโดดเด่นในการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ Digital Transformation[25]

อ้างอิงแก้ไข

·      สยามพิวรรธน์ร่วมสนับสนุน APEC 2022 พร้อมโชว์ศักยภาพการดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิด Universe of Value[26]

·      ส่องความปัง! "สยามพิวรรธน์" ยักษ์ค้าปลีกไทย เป็น "ที่ 1 ของโลก" ด้านอะไรบ้าง[27]

·      “ทีเส็บ” ผนึก “สยามพิวรรธน์” ขับเคลื่อนไมซ์กระตุ้นเศรษฐกิจ[28]

·      สยามพิวรรธน์ เปิดตัว "The Visionary ICON" 11 ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจ[29]


ดูเพิ่มแก้ไข

·      รายชื่อห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย[30]

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

·      สยามพิวรรธน์[31]

·      สยามเซ็นเตอร์[32]

·      สยามดิสคัฟเวอรี่[33]

·      ไอคอนสยาม[34]

·      สยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต[35]

·      ONESIAM[36]

  1. "สัมผัสประสบการณ์บนโลกคู่ขนานกับ 4 ศูนย์การค้า สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่และไอคอนสยาม". OneSiam.com.
  2. ""สยามพิวรรธน์" ก้าวสู่ยุค "Beyond Retail" ปั้นซูเปอร์แอป รองรับสินทรัพย์ดิจิทัล "Cypto - NFT - Metaverse" - Brand Buffet" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-12-12.
  3. ""ONESIAM SuperApp" ความน่าสนใจของสยามพิวรรธน์ ในการก้าวเข้าสู่ธุรกิจดิจิทัล". Thumbsup (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-12-13.
  4. wanpen (2020-06-22). "สยามพิวรรธน์ ถอดความสำเร็จ จากสยามเซ็นเตอร์ สู่ สยามพรีเมี่ยม เอาท์เล็ต". www.thebangkokinsight.com.
  5. "สยามพารากอน....อีกก้าวหนึ่งของประเทศไทยไปสู่สวรรค์แห่งการชอปปิ้ง". mgronline.com. 2005-12-25.
  6. ""สยามดิสฯ" เผยโฉมใหม่สเปเชียลตีสโตร์แห่งแรกในไทย". mgronline.com. 2016-03-14.
  7. "3 วัน 'พันล้าน' บาท เบื้องหลังทุ่มงบไม่อั้น เปิดตัว ICONSIAM ให้กระหึ่มทั่วโลก 9-11 พ.ย. นี้ - Brand Buffet" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-10-31.
  8. "เปิดตัว "ICONSIAM" วิถีริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา "Global Destination" ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก - ThaiPublica". thaipublica.org. 2018-10-30.
  9. "'สยามพารากอน'ทรานส์ฟอร์มใหญ่ปั้น'ต้นแบบโลก'ยึดที่หนึ่งในใจลูกค้า". bangkokbiznews. 2023-02-15.
  10. Limited, Bangkok Post Public Company. "ICONSIAM ranks world top four shopping center". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-03-20.
  11. "Blue by Alain Ducasse ร้านอาหารไฟน์ไดนิ่ง ณ ไอคอนสยาม คว้าเอาดาวมิชลินสตาร์ไปครอง!". VOGUE Thailand (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-23.
  12. "สยามพิวรรธน์ร่วมสนับสนุน APEC 2022 พร้อมโชว์ศักยภาพการดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิด Universe of Value [Advertorial]". THE STANDARD. 2022-11-20.
  13. Branded Content (2022-11-17). "สยามพิวรรธน์ ส่งเสริมความภูมิใจประเทศเจ้าภาพ APEC 2022 ร่วมสะท้อนคุณค่าและศักยภาพองค์กรแห่งความยั่งยืนของไทยใน APEC Showcase Green Press Center | Brand Inside" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  14. "สยามพิวรรธน์ ร่วมสนับสนุน APEC 2022 พร้อมโชว์ศักยภาพการดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิด Universe of Value". www.thairath.co.th. 2022-11-15.
  15. "สยามพิวรรธน์ โชว์ศักยภาพธุรกิจด้วยแนวคิด Universe of Value ใน APEC 2022 - ThaiPublica". thaipublica.org. 2022-11-21.
  16. "ส่อง "พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต" แห่งแรกในไทย "Siam Premium Outlets Bangkok"". thansettakij. 2020-06-05.
  17. "China Daily Asia Pacific Retail Leadership Awards winners revealed". ixtenso.com (ภาษาอังกฤษ).
  18. Admin (2021-01-06). "สยามพิวรรธน์ ตอกย้ำจุดยืนพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน เดินหน้าส่งเสริมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่ "องค์กรขยะเป็นศูนย์"". Positioning Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  19. https://www.brandage.com/article/29480/category.aspx?key=%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2
  20. Limited, Bangkok Post Public Company. "Siam Piwat wins ASIA PACIFIC ENTERPRISE AWARDS 2022 in Corporate Excellence and Inspirational Brand categories". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-03-20.
  21. ""สยามพิวรรธน์" โชว์ศักยภาพ คว้า 2 รางวัลใหญ่ทางธุรกิจระดับสากล ในงาน APEA 2022". bangkokbiznews. 2022-07-05.
  22. ""สยามพิวรรธน์" คว้า 2 รางวัลดีเด่นจากเวทีสากล HR Excellence Awards 2022". bangkokbiznews. 2022-09-12.
  23. "สยามพิวรรธน์ คว้ารางวัล "บริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดในเอเชีย" จาก HR Asia - Brand Buffet" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-10-07.
  24. ""สยามพิวรรธน์" คว้ารางวัล "UN Women 2022 Thailand WEPs Awards"". bangkokbiznews. 2022-11-11.
  25. ""อักเซล วินเทอร์" ผู้บริหาร "สยามพิวรรธน์" คว้ารางวัล CIO100 Awards". bangkokbiznews. 2022-12-12.
  26. "สยามพิวรรธน์ร่วมสนับสนุน APEC 2022 พร้อมโชว์ศักยภาพการดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิด Universe of Value [Advertorial]". THE STANDARD. 2022-11-20.
  27. "ส่องความปัง! "สยามพิวรรธน์" ยักษ์ค้าปลีกไทย เป็น "ที่ 1 ของโลก" ด้านอะไรบ้าง". bangkokbiznews. 2022-10-04.
  28. ""ทีเส็บ" ผนึก "สยามพิวรรธน์" ขับเคลื่อนไมซ์กระตุ้นเศรษฐกิจ". mgronline.com. 2023-02-16.
  29. "สยามพิวรรธน์ เปิดตัว "The Visionary ICON" 11 ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจ - Forbes Thailand". forbesthailand.com.
  30. "รายชื่อห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย", วิกิพีเดีย, 2023-03-12, สืบค้นเมื่อ 2023-03-20
  31. "Siam Piwat". www.siampiwat.com.
  32. "Siam Center | Siam Center". siamcenter.co.th.
  33. "Siam Discovery". www.siamdiscovery.co.th.
  34. https://www.iconsiam.com/th
  35. "SIAM PREMIUM OUTLETS BANGKOK". www.siampremiumoutlets.com (ภาษาอังกฤษ).
  36. "OneSiam : The Parallel World of Extraordinary Experiences". OneSiam.com.