ธารินทร์ นิมมานเหมินท์

ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ กรรมการที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ธารินทร์ นิมมานเหมินท์
ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
28 กันยายน พ.ศ. 2535 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย
ก่อนหน้า พนัส สิมะเสถียร
ถัดไป สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
ก่อนหน้า โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ถัดไป สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 29 ตุลาคม พ.ศ. 2488 (77 ปี)
ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
พรรค ประชาธิปัตย์
คู่สมรส นกน้อย นิมมานเหมินท์
บุตร วริศร์ นิมมานเหมินท์

ประวัติแก้ไข

ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เกิดวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2488 ที่ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่[2] เป็นบุตรของนายไกรศรี นิมมานเหมินท์ และนางจรรยา ศรีอาภรณ์ มีน้องชาย 1 คนคือ นายศิรินทร์ นิมมานเหมินท์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ถึงแก่อสัญกรรม) ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางนกน้อย นิมมานเหมินท์

วงศ์ตระกูลแก้ไข

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
4. กี นิมมานเหมินท์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2. ไกรศรี นิมมานเหมินท์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
10. หลวงอนุสารสุนทร (สุ่นฮี้ ชุติมา)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5. กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
11. คำเที่ยง บุรี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1. ธารินทร์ นิมมานเหมินท์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. จรรยา ศรีอาภรณ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

การศึกษาแก้ไข

การทำงานแก้ไข

เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในช่วงหลังการลดค่าเงินบาทปี พ.ศ. 2540 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ของรัฐบาลนายชวน หลีกภัย 2[3]

นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ได้เข้ามาดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังครั้งที่ 2 ในเดือน พฤศจิกายน 2540 ซึ่งในช่วงก่อนหน้านั้น ประเทศไทยได้ประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรงยิ่ง เนื่องจากปัญหาความไม่มีเสถียรภาพของระบบการเงินของประเทศ และการที่สูญเสียทุนสำรองระหว่างประเทศไปจนเกือบหมดในการปกป้องค่าเงินบาท จนทำให้รัฐบาล พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้ไปพึ่งพากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศเพื่อมาหนุนเงินสำรองระหว่างประเทศของไทย ซึ่งในการกู้ยืมดังกล่าวนั้น ประเทศไทยต้องยอมรับเงื่อนไขที่เข้มงวดหลายประการในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศ นายธารินทร์ ได้พยายามแก้ไขเงื่อนไขดังกล่าวทำให้การเจริญเติบโตของประเทศได้กลับมาเป็นบวกอย่างต่อเนื่อง ระบบการเงินได้รับการแก้ไขเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ทุนสำรองระหว่างประเทศได้เริ่มกลับเข้ามาสู่ในระดับที่สร้างความมั่นใจ ค่าของเงินบาทมีเสถียรภาพและประเทศไทยได้เริ่มชำระเงินกู้คืนให้กับ IMF ซึ่งเป็นการปลดเงื่อนไขของ IMF ทั้งปวง นายธารินทร์เคยได้รับการวางตัวให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สืบต่อจากนายชวน หลีกภัย

ประวัติการดำรงตำแหน่งทางธุรกิจแก้ไข

ประวัติการดำรงตำแหน่งทางการเมืองแก้ไข

ประวัติการดำรงตำแหน่งด้านอื่นๆแก้ไข

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค เก็บถาวร 2018-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ สืบค้นวันที่ 16 มีนาคม 2561
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. วิกฤตต้มยำกุ้ง 2 ก.ค. 2540 : ใครเป็นใครใน 5 ตัวละครเอกของวิกฤตเศรษฐกิจแห่งเอเชีย
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙

ดูเพิ่มแก้ไข

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข