ชฎาทิพ จูตระกูล
ชฎาทิพ จูตระกูล (ชื่อเล่น: แป๋ม[1], สกุลเดิม: จารุวัสตร์) กรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ, ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด, ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด[2], ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด[3] และรองประธานกรรมการ บริษัท สยามพารากอน รีเทล จำกัด[4]
ชฎาทิพ จูตระกูล | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2504 |
อาชีพ | นักธุรกิจ |
มีชื่อเสียงจาก | ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บจก. สยามพิวรรธน์ |
คู่สมรส | อภิชาติ จูตระกูล |
บุตร | ชญาภา จูตระกูล |
บิดามารดา | พลเอก เฉลิมชัย จารุวัสตร์ ทันตแพทย์หญิง ลัดดา จารุวัสตร์ |
ประวัติ
แก้ชฎาทิพเป็นธิดาคนสุดท้องในจำนวนบุตรสามคนของพลเอก เฉลิมชัย จารุวัสตร์ อดีดรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคนแรก กับทันตแพทย์หญิงลัดดา จารุวัสตร์ เธอยังมีพี่ชายอีกสองคนคือชาญชัย (ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554[5]) และชาลี จารุวัสตร์[6]
เธอสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประกาศนียบัตรด้านการประกันภัยน้ำมันและแก๊ส จาก Chartered Insurance Institute สหราชอาณาจักร[6][7]
การทำงาน
แก้ชฎาทิพเริ่มทำงานที่ Mercantile & General Reinsurance ก่อนย้ายมายังทิพยประกันภัย[6] และเข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานบัญชีที่สยามเซ็นเตอร์ซึ่งเป็นธุรกิจของบิดาในปี พ.ศ. 2529[6] ก่อนย้ายไปแผนกการตลาด และดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารสยามเซ็นเตอร์ รวมถึงโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล ในปี พ.ศ. 2539[8]
หลังดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ชฎาทิพมีส่วนสำคัญในการบริหารงานศูนย์การค้าในเครือบริษัทดังกล่าว ทั้งสยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี รวมถึงร่วมกับกลุ่มเดอะมอลล์ ที่นำโดยศุภลักษณ์ อัมพุช ในการสร้างสยามพารากอน โดยต่อมาในปี พ.ศ. 2546 บจก. บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส ได้รับพระราชทานชื่อใหม่จาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า "สยามพิวรรธน์" สองปีถัดจากนั้นสยามพารากอนก็เปิดให้บริการ[8]
ในปี พ.ศ. 2552 สยามพิวรรธน์ร่วมมือกับกลุ่มเอ็มบีเคในการปรับปรุงเสรีเซ็นเตอร์เป็นพาราไดซ์ พาร์ค และในอีกห้าปีต่อมาได้ร่วมมือกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในการสร้างไอคอนสยาม ซึ่งเปิดให้บริการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561[9] ในปีเดียวกันบริษัทได้ร่วมมือกับไซม่อนกรุ๊ปในการสร้างสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต แบงค็อก ซึ่งเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2563[10]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 เธอได้รับการแต่งตั้งจากเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ[11] ทั้งนี้ เศรษฐายังเป็นลูกพี่ลูกน้องกับอภิชาติ จูตระกูล สามีของเธอด้วย[12] หลังจากนั้นเมื่อเกิดเหตุกราดยิงที่สยามพารากอน ในวันที่ 3 ตุลาคม ขณะที่เธอประชุมกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เธอได้ขอออกจากห้องประชุมเพื่อเดินทางไปติดตามสถานการณ์ด้วยตนเอง[13] วันถัดจากนั้นหลังเหตุการณ์สงบ เธอได้แสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ อีกทั้งขอบคุณคู่ค้า ลูกค้า และทีมงานที่ให้ความร่วมมือในการอพยพออกจากอาคารหลังเกิดเหตุ รวมถึงระบุว่าแผนรักษาความปลอดภัยของโครงการที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ช่วยลดความเสี่ยงและจำกัดวงความเสียหายจากเหตุดังกล่าว[14]
ชีวิตส่วนตัว
แก้ชฎาทิพสมรสกับอภิชาติ จูตระกูล ประธานกรรมการ บมจ. แสนสิริ มีธิดาหนึ่งคน[12] คือ ชญาภา จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะ พิงค์แล็บ จำกัด[15]
รางวัลที่ได้รับ
แก้ปี พ.ศ. | ผลงานที่ได้รับรางวัล |
2566 | รางวัลนักธุรกิจสตรีดีเด่น เนื่องในงานวันสตรีสากล โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์[16] |
2563 | รางวัลในสาขา Responsible Business Leadership จาก Asia Responsible Enterprise Awards 2020[17] |
2561 | ได้รับการจารึกชื่อในหอเกียรติยศของสภาการค้าปลีกโลก (World Retail Hall of Fame 2019)[18] |
2559 | รางวัล Asian Women Leadership Award 2016 จากหนังสือพิมพ์ China Daily ร่วมกับ Asia News Network[19] |
2558 | ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 50 นักธุรกิจหญิงผู้ทรงอิทธิพลแห่งเอเชียประจำปี 2558 (Forbes Asia’s Power Businesswomen 2015) จาก นิตยสาร ฟอร์บส เอเชีย (Forbes Asia)[20] |
2557 | รางวัล Asia Pacific Entrepreneurship Award สาขา Woman Entrepreneur of the Year จากองค์กรเอ็นเตอร์ไพรส์เอเชีย[21] |
2557 | ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน “50 นักธุรกิจหญิงผู้ทรงอิทธิพลแห่งเอเชียประจำปี 2557” (Forbes Asia’s Power Businesswomen 2014) จาก นิตยสาร ฟอร์บส เอเชีย (Forbes Asia)[22] |
2557 | รางวัล นักธุรกิจสตรีตัวอย่าง ส่วนกลาง ประจำปี พ.ศ. 2557 จากสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปภัมภ์[23] |
อ้างอิง
แก้- ↑ ""มาดามแป๋ม-ชฎาทิพ จูตระกูล" เตรียมเป็นเจ้าภาพงานใหญ่ต้อนรับคณะผู้นำสตรีโลก". mgronline.com. 2022-06-16.
- ↑ "ICONSIAM จุดบรรจบของทุนและเทคนิค". 2014-07-14.
- ↑ "สยามพารากอน ปั้นเทคคอมมูนิตี้ 'สยามพารากอน เน็กซ์ เทค เอกซ์ เอสซีบี เอกซ์'". bangkokbiznews. 2023-10-08.
- ↑ "เดอะ สยามพารากอน ปรากฏการณ์ยิ่งใหญ่ของการผนึกกำลังสองผู้นำธุรกิจ". ryt9.com.
- ↑ "อย่าบิดเบือนราคาน้ำมัน". mgronline.com. 2011-02-14.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "รู้จัก ชฎาทิพ จูตระกูล ผู้ปลุกปั้น "ไอคอนสยาม" อาณาจักรห้าหมื่นล้าน". thepeople (ภาษาอังกฤษ). 2018-11-26.
- ↑ admin (2007-02-05). "ชฎาทิพย์ จูตระกูล ผู้หญิงนำเทรนด์". Positioning Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ 8.0 8.1 "ชฎาทิพ จูตระกูล รู้ลึก คิดต่าง สร้างการใหญ่". 2014-07-16.
- ↑ "2 ยักษ์ใหญ่ CP จับมือสยามพิวรรธน์ ผุดอภิมหาโปรเจกต์ "ไอคอนสยาม" มูลค่าลงทุนกว่า 5 หมื่นล้านบาท". mgronline.com. 2014-07-02.
- ↑ สยามพิวรรธน์รุกเอาต์เลตหรู ผนึกไซม่อนกรุ๊ปเทหมื่นล้านเปิด3สาขาทั่วไทย
- ↑ "เชฟชุมพล – นิค จีนี่ – ดวงฤทธิ์ นั่งกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ ดึง 'หมอเลี้ยบ' เป็นกรรมการและเลขานุการ" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-09-13.
- ↑ 12.0 12.1 คือ... แพทย์ผู้ให้ด้วยหัวใจ ธาดา ยิบอินซอย
- ↑ "นายกฯ เผย ผบ.ตร. รุดไปพารากอน "ชฎาทิพ" ผู้บริหารรีบออกจากห้องประชุมติดตามสถานการณ์". ไทยรัฐ. 3 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ฐานเศรษฐกิจ (2023-10-04). "เปิดใจ "ชฎาทิพ จูตระกูล" ครั้งแรก หลังเหตุการณ์กราดยิงพารากอน". thansettakij.
- ↑ Content, Branded (2023-07-31). "สยามพิวรรธน์จัดทัพทีมนวัตกรรม พัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์ม ขยายธุรกิจไปได้อย่างไร้ขีดจำกัด | Brand Inside" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว". www.dwf.go.th.
- ↑ "Siam Piwat Company Limited | Asia Responsible Enterprise Awards" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-09-23.
- ↑ "หญิงไทยคนแรก! ชฎาทิพ จูตระกูล ถูกจารึกชื่อสู่หอเกียรติยศสภาค้าปลีกโลก ส่วน 'ไอคอนสยาม' คว้าด้านออกแบบ". THE STANDARD. 2019-05-31.
- ↑ "Top Asian women presenting the best of themselves[1]- Chinadaily.com.cn". www.chinadaily.com.cn.
- ↑ "ชฎาทิพ จูตระกูล The Icon of "Siam" - Forbes Thailand". forbesthailand.com.
- ↑ "Hall of Fame 2014 | APEA - Asia Pacific Enterprise Awards" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-08-06.
- ↑ "Chadatip Chutrakul". Prestige Online - Thailand (ภาษาอังกฤษ). 2022-07-19.
- ↑ "ยกย่องสุดยอดสตรีนักธุรกิจดีเด่น-อนุรักษ์โลก". www.thairath.co.th. 2014-10-20.