บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เป็นบริษัทธุรกิจค้าปลีกและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นเจ้าของและบริหารกิจการศูนย์การค้า ได้แก่ สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ สยามพารากอน ไอคอนสยาม และสยาม พรีเมียม เอาท์เล็ต[1][2]

สยามพิวรรธน์
อุตสาหกรรมธุรกิจค้าปลีก
อสังหาริมทรัพย์
ก่อตั้ง10 มกราคม พ.ศ. 2502 (ในชื่อ "บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส")
28 มกราคม พ.ศ. 2546 (เปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน)
ผู้ก่อตั้งพลเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์
สำนักงานใหญ่989 อาคารสำนักงานสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน, ,
บุคลากรหลัก
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ (ประธาน
ชฎาทิพ จูตระกูล (CEO กลุ่ม)
บริษัทแม่เอ็ม บี เค กรุ๊ป
เว็บไซต์www.siampiwat.com

ประวัติ

แก้

บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ก่อตั้งโดย พลเอก เฉลิมชัย จารุวัสตร์ ในชื่อ บริษัท บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส จำกัด เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2502 เพื่อบริหารและพัฒนาที่ดินจำนวน 50 ไร่ บริเวณพื้นที่ฝั่งเหนือของย่านสยาม ริมถนนพระรามที่ 1 ฝั่งขาออก เพื่อก่อสร้างโรงแรมห้าดาวระดับนานาชาติแห่งแรกของไทย คือ โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล[3] โดยเริ่มแรกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นมองเห็นถึงประโยชน์ทางการท่องเที่ยวจากการเข้ามาสร้างโรงแรมของกลุ่มทุนต่างชาติ จึงอนุมัติเงินทุนจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รวมถึงทุนจากสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในประเทศ เพื่อลงทุนในบริษัทดังกล่าว[4] ต่อมา ชฎาทิพ จูตระกูล บุตรสาวของพลเอกเฉลิมชัย ได้รับช่วงต่อจากบิดาในการบริหารบริษัท

เมื่อโรงแรมดังกล่าวดำเนินการมาครบ 30 ปี บริษัทได้ดำริที่จะสร้างศูนย์การค้าใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว จึงได้ยุติการดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2545 หลังจากนั้นจึงดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมทั้งหมด และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น "บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด" ซึ่งเป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2546 โดยพื้นที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศูนย์การค้าสยามพารากอน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 สยามพิวรรธน์ได้รวมตัวกับกลุ่มธุรกิจสยามสแควร์ และบริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งสมาคมการค้าพลังสยามขึ้น เพื่อพัฒนาศูนย์การค้าในย่านสยามให้เป็นย่านค้าปลีกระดับโลก[5][6] โดยสยามพิวรรธน์ได้รับงบประมาณจากสมาคมฯ จำนวน 4,300 ล้านบาท สำหรับการปรับปรุงศูนย์การค้ากลุ่มวันสยาม เช่น ปรับปรุงสยามดิสคัฟเวอรี[7][8] ปรับปรุงร้านอาหารในสยามพารากอน[9]

ตามข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ผู้ถือหุ้นของสยามพิวรรธน์ ประกอบด้วย บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นใหญ่สุด 47.9771% กลุ่มบุคคลไม่เปิดเผยนาม 24.8523% ธนาคารกรุงเทพ 5.1943% ธนาคารกสิกรไทย 5.0969% นอกนั้นเป็นผู้ถือหุ้นรายอื่น ๆ[10] และยังมีงานวิจัยบางชิ้นที่ระบุว่า สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นของบริษัท[11]

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2567 สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า สยามพิวรรธน์เตรียมทำการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน (IPO) ในช่วงปลายปีเดียวกัน ซึ่งบริษัทมีเป้าหมายระดมทุนให้ได้ 500–750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.8–2.7 พันล้านบาท เพื่อขยายธุรกิจในประเทศไทยและทวีปเอเชีย ซึ่งอาจรวมถึงการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ หากการระดมทุนเป็นไปตามเป้าหมาย จะเป็นการทำ IPO ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การทำ IPO ของไทยประกันชีวิต ที่สามารถทำ IPO ได้ด้วยมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อสองปีก่อนหน้า[12][13]

ธุรกิจของบริษัท

แก้

ศูนย์การค้า

แก้

วันสยาม

แก้

ในปี พ.ศ. 2561 สยามพิวรรธน์ได้เปิดตัวเครื่องหมายการค้า "วันสยาม" สำหรับเรียกกลุ่มธุรกิจศูนย์การค้าและอาคารสำนักงานของบริษัทที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของพื้นที่ย่านสยาม ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน ซึ่งได้ทำการเช่าที่ดินจากวังสระปทุม โดยประกอบด้วยศูนย์การค้าดังนี้

ศูนย์การค้าอื่น ๆ

แก้
  • ไอคอนสยาม และ ไอซีเอส (ร่วมทุนกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ และแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น ในนามบริษัท ไอคอนสยาม จำกัด และบริษัท ไอซีเอส จำกัด)
  • สยาม พรีเมียม เอาท์เล็ต แบงค็อก: อะ สยามพิวรรธน์ ไซมอน เซ็นเตอร์ (ร่วมทุนกับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ไซมอน)

อาคารสำนักงาน

แก้

อาคารสำนักงานสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ เป็นอาคารสำนักงานสูง 30 ชั้น เชื่อมต่อกับอาคารสยามดิสคัฟเวอรี และอาคารจอดรถสยาม นอกจากเป็นที่ตั้งสำนักงานบริษัทแล้ว ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) อีกด้วย

ธุรกิจค้าปลีก

แก้
  • บริษัท ดิสคัฟเวอรี่ รีเทล จำกัด - จัดจำหน่ายสินค้าในโซนโอเพนสเปซ (ดิสคัฟเวอรีแล็บ) ภายในสยามดิสคัฟเวอรี
  • บริษัท สยามพารากอน รีเทล จำกัด - บริษัทร่วมทุนกับกลุ่มเดอะมอลล์ เพื่อดำเนินการ “พารากอน ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์” ในสยามพารากอน
  • บริษัท สยามพิวรรธน์ รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด (ชื่อเดิม บริษัท สยาม สเปเชีลลิตี้ จำกัด) - จัดจำหน่ายสินค้าในรูปแบบต่าง ๆ
  • บริษัท สยาม กูร์เมต์ โฮลดิ้ง จำกัด - บริหารภัตตาคาร บลู บาย อลัง ดูคาส ในไอคอนสยาม
  • บริษัท สยาม ทาคาชิมาย่า (ประเทศไทย) จำกัด - บริษัทร่วมทุนกับกลุ่มทาคาชิมาย่า เพื่อดำเนินการห้างสรรพสินค้าสยามทาคาชิมาย่า ในสาขาไอคอนสยาม
  • บริษัท สยามพิวรรธน์-ไซม่อน จำกัด - บริษัทร่วมทุนกับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ไซมอน จากสหรัฐ เพื่อดำเนินการศูนย์การค้าลักชูรี พรีเมียม เอาท์เล็ต จำนวน 3 แห่ง โดยหนึ่งในนั้นตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร[14][15]

ธุรกิจอื่น ๆ

แก้
  • บริษัท ซูพรีโม จำกัด บริษัทจัดการตลาดให้กับศูนย์การค้าในเครือ
  • บริษัท ดิจิมีเดีย จำกัด บริษัทจัดการตลาดในสื่อออนไลน์
  • บริษัท สยามอัลไลแอนซ์ แมเนจเม้นท์ จำกัด บริหารศูนย์ประชุม พารากอน ฮอลล์ และทรู ไอคอน ฮอลล์[16][17]
  • บริษัท สยามโปรเฟสชั่นแนล แมเนจเม้นท์ จำกัด ดูแลการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ในเครือ
  • บริษัท ซุปเปอร์ฟอร์ซ จำกัด บริหารจัดการระบบรักษาความปลอดภัยภายในอาคารในเครือสยามพิวรรธน์

อ้างอิง

แก้
  1. "Siam Piwat history".
  2. "จับตา "สยามพิวรรธน์" ร่วมทุน "ไซม่อน" ปฏิบัติการเขย่าวงการค้าปลีกประเทศไทย". 14 June 2018.
  3. ร่วมค้นพบแนวคิดล้ำยุคและเหตุการณ์สำคัญที่ผลักดันให้สยามพิวรรธน์เป็นผู้นำทางความคิดในวงการค้าปลีกและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
  4. "42 ปี บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอลโฮเต็ลส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-15. สืบค้นเมื่อ 2014-07-01.
  5. "3 ยักษ์ค้าปลีก ผนึก 'พลังสยาม' เทียบชั้นมหานครใหญ่". วอยซ์ทีวี. 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "พันธมิตรพลังสยามผนึกกำลังครั้งประวัติศาสตร์ ผลักดัน "ย่านสยาม" ยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจการค้า". สมาคมการค้าพลังสยาม. 2015-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "ยกเครื่องสยามดิสคัฟเวอรี่ 4 พันล้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-27. สืบค้นเมื่อ 2021-03-02.
  8. ‘สยามพิวรรธน์’ เปิดคอนเซ็ปต์ค้าปลีกรูปแบบใหม่
  9. "สยามพารากอนจัดเต็ม รวมร้านอาหารและขนมหวานคุณภาพระดับโลกไว้ที่เดียว ไปลุยกันเลย!! | กินกับพีท". กินกับพีท. 2016-11-30. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. ขุมข่ายธุรกิจ 'ไอคอนสยาม' แสนล.! หลังฉากการลงทุน 2 ยักษ์ใหญ่ 'สยามพิวรรธน์-ซีพี.'
  11. เปิดงานวิจัย ความเป็นมา "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์"
  12. Chew, Elffie (21 มีนาคม 2024). "Shopping Mall Owner Siam Piwat Said to Consider Biggest Thai IPO Since 2022" [สยามพิวรรธน์ เจ้าของห้างสรรพสินค้า เตรียมพิจารณาทำ IPO ครั้งใหญ่ที่สุดในไทยนับตั้งแต่ปี 2565] (ภาษาอังกฤษ). บลูมเบิร์ก. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. ฐานเศรษฐกิจ (2024-03-21). "บลูมเบิร์ก ตีข่าว "สยามพิวรรธน์" เล็งทำ IPO ครั้งใหญ่สุดของไทยในรอบ 2 ปี". thansettakij.
  14. เดือดแน่ ! สยามพิวรรธน์ ควงไซมอน ผุดลักชัวรี่ พรีเมียมเอาท์เล็ท ประเดิมทำเลบางนาสาขาแรก
  15. สยามพิวรรธน์ ลงขันไซม่อนกรุ๊ป ผุดลักชัวรี่พรีเมียมเอาต์เล็ต ตั้งเป้า 3 แห่งใน 3 ปีกว่าหมื่นล้าน
  16. "สยามพิวรรธน์ขานรับกรุงเทพฯ ติดอันดับ 6 เมืองประชุมระดับโลก ชู 'รอยัลพารากอนฮออล์' และ 'ไอคอนฮอลล์' เดสติเนชันการประชุมมาตรฐานเวิลด์คลาส". mgronline.com. 2022-03-03.
  17. "ธุรกิจ MICE ส่งสัญญาณดี SAM ชี้ยอดจองถึงมิ.ย. 65 กว่า 60%". thansettakij. 2021-10-02.