อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นอนุสาวรีย์ในกรุงเทพมหานคร โดยรอบเป็นวงเวียนอยู่กึ่งกลางระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนราชวิถี และถนนพญาไท โดยตั้งอยู่ที่ กม.4+700 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ซึ่ง กม.0+000 ได้เริ่มนับมาจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินกลาง โดยที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมินี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียกชื่อถนนพหลโยธิน
![]() อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 | |
![]() | |
ผู้ออกแบบ | หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล |
---|---|
ประเภท | อนุสาวรีย์ |
ความสูง | 50 เมตร |
เริ่มก่อสร้าง | พ.ศ. 2484 |
สร้างเสร็จ | พ.ศ. 2485 |
การเปิด | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485 |
อุทิศแด่ | ทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่เสียชีวิตไปในกรณีพิพาทอินโดจีนและสมรภูมิอื่น ๆ |
ชื่ออักษรไทย | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ |
ชื่ออักษรโรมัน | Victory Monument |
รหัสทางแยก | N107 |
ที่ตั้ง | แขวงทุ่งพญาไทและแขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร |
ทิศทางการจราจร | |
↑ | ถนนพหลโยธิน » สะพานควาย-ห้าแยกลาดพร้าว |
→ | ถนนราชวิถี » แยกสามเหลี่ยมดินแดง |
↓ | ถนนพญาไท » แยกรางน้ำ |
← | ถนนราชวิถี » แยกตึกชัย |
ประวัติ แก้ไข
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิสร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่เสียชีวิตไปในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เรื่องการปรับปรุงพรมแดนไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส ซึ่งในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 59 คน ทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน โดยพลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 และจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485 สถาปนิกผู้ออกแบบอนุสาวรีย์คือ หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล
ก่อนที่จะมีการสร้างวงเวียนอนุสาวรีย์ บริเวณจุดตัดของถนนพญาไท ถนนราชวิถี และถนนพหลโยธินนี้ มีชื่อเรียกว่า สี่แยกสนามเป้า
ความหมาย แก้ไข
การออกแบบอนุสาวรีย์ของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล มีแรงบันดาลใจสี่ประการ คือ
- ปฏิบัติการของกองทัพทั้ง 5
- ปฏิบัติการอย่างกล้าหาญของกำลังพลโดยเฉพาะ
- อาวุธที่ทหารใช้สู้รบ
- เหตุการณ์ที่สำคัญที่ต้องเปิดการสู้รบ
ประติมากรรมทหาร 5 เหล่า หม่อมหลวงปุ่มใช้ดาบปลายปืนซึ่งเป็นอาวุธประจำกายทหาร โดยใช้ดาบปลายปืนห้าเล่มรวมกัน จัดตั้งเป็นกลีบแบบลูกมะเฟือง ปลายดาบชี้ขึ้นบน ส่วนคมของดาบหันออก ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับหินอ่อน มีความสูงประมาณ 50 เมตร ดาบปลายปืนส่วนด้ามตั้งเหนือเพดานห้องโถงใหญ่ ซึ่งใช้เก็บกระสุนปืนใหญ่บรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ด้านนอกตอนโคนดาบปลายปืนมีรูปปั้นหล่อทองแดงขนาดสองเท่าคนธรรมดาของนักรบ 5 เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน ศิลปินผู้ปั้นรูปเหล่านี้เป็นลูกศิษย์ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เช่น สิทธิเดช แสงหิรัญ, อนุจิตร แสงเดือน, พิมาน มูลประสุข, แช่ม ขาวมีชื่อ ภายใต้การควบคุมของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ด้านนอกของผนังห้องโถงเป็นแผ่นทองแดงจารึกนามผู้เสียชีวิต รายนามผู้ที่ได้รับการจารึกไว้มีทั้งสิ้น 160 นาย เป็นทหารบก 94 นาย ทหารเรือ 41 นาย ทหารอากาศ 13 นาย และตำรวจสนาม 12 นาย จนถึงปัจจุบันแผ่นทองแดงจารึกรายนามผู้เสียชีวิตและผู้สละชีพเพื่อชาติจากสงครามต่าง ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2483 – พ.ศ. 2497 รวมทั้งสิ้น 801 นาย
รายชื่อที่ปรากฏในแผ่นป้ายของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ด้านนอกผนังห้องโถง) |
---|
|
ความสำคัญ แก้ไข
นอกจากเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญ และเป็นที่จารึกรายนามทหารที่เสียชีวิต ในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเกาหลีแล้ว ยังเป็นต้นทางของถนนพหลโยธิน รวมไปถึงศูนย์กลางการคมนาคมที่มีรถโดยสารให้บริการในหลายเส้นทาง เป็นจำนวนมาก ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า BTS และรถตู้ ผ่านตลอด 24 ชั่วโมง จึงทำให้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นชุมทางการคมนาคมที่สำคัญของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณา ptt performa gold เมื่อปี พ.ศ. 2540 และยังเป็นฉากระเบิดอนุสาวรีย์ ในภาพยนตร์เรื่อง มหาอุตม์ เมื่อปี พ.ศ. 2546
สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้ไข
- โรงพยาบาลราชวิถี และ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
- โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
- คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ สถาบันเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
- เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่พลาซ่า
- เซ็นเตอร์วัน ช้อปปิ้งพลาซ่า
- ทางพิเศษศรีรัช
- สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
การเดินทาง แก้ไข
การเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะสู่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
บริการ | สถานี/ที่หยุดรถประจำทาง | เส้นทาง/สาย |
---|---|---|
รถโดยสารประจำทาง | เกาะราชวิถี | 8, 12, 14, 18, 28, 97, 108, 157, 509, 515, 515E, 536, 538, 539, 2-3, 2-15, 2-38, 3-26E, 3-37, 3-39, 3-55, 4-54E, 4-61 |
เกาะพญาไท | 14, 17, 34, 36, 38, 54, 59, 62, 74, 77, 108, 139, 140, 204, 503, 510, 515, 529, 536, 539, 1-2E, 1-3, 1-63, 3-8, 3-39, 3-44, 3-45, 3-54, 4-3, 4-23E, 4-28, 4-62 | |
เกาะดินแดง | 12, 24, 36, 36ก, 92, 168, 187, 538, 1-2E, 1-37, 1-56, 1-63, 3-26E, 3-37, 3-55 | |
เกาะพหลโยธิน | 8, 26, 27, 28, 34, 39, 54, 59, 63, 74, 77, 97, 166, 204, 502, 503, 509, 510, 522, A2, 1-3, 1-5, 2-15, 2-38, 3-45 | |
รถไฟฟ้าบีทีเอส | N3 อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ |
ดูเพิ่ม แก้ไข
อ้างอิง แก้ไข
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′53″N 100°32′19″E / 13.76472°N 100.53861°E
- สงครามอินโดจีน ไทยรบฝรั่งเศส พ.ศ. 2483[ลิงก์เสีย] โดย สรศัลย์ แพ่งสภา
- อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อนุสรณ์สถาน "วันทหารผ่านศึก" 3 กุมภาพันธ์ รำลึก โดย สุชาฎา ประพันธ์วงศ์