แยกคอกวัว เป็นสี่แยกที่เป็นจุดตัดระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนตะนาว ตั้งอยู่ในแขวงบวรนิเวศ และแขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

สี่แยก คอกวัว
แผนที่
ชื่ออักษรไทยคอกวัว
ชื่ออักษรโรมันKhok Wua
รหัสทางแยกN003 (ESRI), 079 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงบวรนิเวศและแขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนตะนาว
» ถนนข้าวสาร
ถนนราชดำเนินกลาง
» อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ถนนตะนาว
» แยกศาลเจ้าพ่อเสือ
ถนนราชดำเนินกลาง
» แยกผ่านพิภพลีลา (ปิ่นเกล้า-สนามหลวง)

ประวัติ

แก้

ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เคยเป็นที่เลี้ยงวัวของชาวฮินดู ที่อาศัยรอบ ๆ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เนื่องจากเป็นทุ่งหญ้าและป่าละเมาะ บริเวณป้อมเผด็จดัสกรตามแนวกำแพงพระบรมมหาราชวัง เป็นที่ตั้งของโรงเลี้ยงวัวหลวง เพื่อผลิตน้ำนมส่งพระราชวัง ซึ่งไม่ปรากฏร่องรอยเหลืออยู่อีกแล้วในปัจจุบัน (ความปรากฏอยู่ในบทละครล้อเลียนเรื่อง ระเด่นลันได ของ พระมหามนตรี (ทรัพย์) ในสมัยรัชกาลที่ 3) จนไปถึงบริเวณคลองมอญ รวมถึงเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวมุสลิมที่อพยพมาจากภาคใต้และประเทศอินโดนีเซีย โดยมีศาสนสถานที่เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ คือ มัสยิดบ้านตึกดิน และมัสยิดจักรพงษ์ ที่อยู่ทางย่านบางลำพู (ปัจจุบันก็ได้แยกย้ายไปอาศัยอยู่ที่อื่นจนเกือบหมดแล้ว)

ในบริเวณแยกคอกวัวยังเคยเป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงานสำคัญ ๆ หลายแห่งด้วยกัน เช่น ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ (ปัจจุบันย้ายอยู่บริเวณริมถนนพหลโยธิน ใกล้แยกสะพานควาย) นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ทำการของสถานีวิทยุ ททท. บริษัทไทยโทรทัศน์ ซึ่งต่อมาได้เกิดเพลิงไหม้ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จึงถูกรื้อทำลายอาคารทั้งหมด ปล่อยว่างอยู่นาน กระทั่งได้สร้างอนุสาวรีย์สถาน ทางฝั่งถนนตะนาวที่มุ่งหน้าไปยังย่านบางลำพู ดังปรากฏโดดเด่นอยู่ในปัจจุบันนี้

แยกคอกวัวนับเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญจุดหนึ่งของมวลชนที่จะรวมตัวเดินขบวนประท้วงในภาวะวิกฤตทางสังคมการเมืองของไทย (นอกจากอยู่ใกล้กับสนามหลวงและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย) ปรากฏในหลายช่วงของประวัติศาสตร์ ทั้งในปี พ.ศ. 2516, พ.ศ. 2519, พ.ศ. 2535, พ.ศ. 2549, พ.ศ. 2551, พ.ศ. 2553, พ.ศ. 2556–57[1] และ พ.ศ. 2563–2564

อ้างอิง

แก้
  1. "ข่าวศิลปะ บันเทิง - สี่แยกคอกวัว ถนนตีทอง". ไทยพีบีเอส. 2013-10-21.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°45′26″N 100°29′56″E / 13.757266°N 100.498958°E / 13.757266; 100.498958