แยก ณ ระนอง (อังกฤษ: Na Ranong Square) เป็นห้าแยกจุดตัดระหว่างถนนรัชดาภิเษก, ถนนพระรามที่ 3, ถนนสุนทรโกษา และถนน ณ ระนอง ในพื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

ห้าแยก ณ ระนอง
ชื่ออักษรไทยณ ระนอง
ชื่ออักษรโรมันNa Ranong
รหัสทางแยกN261 (ESRI), 199 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนรัชดาภิเษก
» แยกพระรามที่ 4
ถนนสุนทรโกษา
» แยกศุลกากร
ถนน ณ ระนอง
» วัดคลองเตยใน
ถนนพระรามที่ 3
» แยกนางลิ้นจี่
ถนนสุนทรโกษา
» แยกคลองเตย

รูปแบบของทางแยก

แก้
  • สะพานข้ามทางแยกในแนวถนนพระรามที่ 3 และถนนรัชดาภิเษก ต่อเนื่องไปยังแยกพระรามที่ 4 (มีการปิดปรับปรุงตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2562 เพื่อขยายตัวสะพานไปลงบริเวณโรงเรียนนนทรีวิทยา[1][2] (กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2565 (สะพานข้ามถนนเชิ้อเพลิง)[3] และ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566 (สะพานหลัก)[4])
  • สะพานเลี้ยวขวาจากถนนพระรามที่ 3 ไปถนนสุนทรโกษา มุ่งหน้าแยกศุลกากร (มีการปิดเพื่อก่อสร้างคานสะพานหลักตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565[5] และกลับมาเปิดการจราจรบางส่วนอีกครั้งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม (ทางขึ้นสะพานมุ่งหน้าเข้าถนนสุนทรโกษา)[6])
  • ถนนระดับดินผ่านตลอดของถนนทุกสายเมื่อเลี้ยวซ้ายเข้าถนนที่อยู่ติดกัน
  • สัญญาณไฟจราจรของรถในถนนระดับดินที่ต้องการตรงไป เลี้ยวขวา และเลี้ยวซ้าย (เฉพาะจากถนนสุนทรโกษาฝั่งแยกศุลกากร เข้าถนน ณ ระนอง และถนนพระรามที่ 3)

สถานที่สำคัญบริเวณทางแยก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 17 เม.ย.62 เริ่มปิดสะพานข้ามแยก ณ ระนอง 2 ปี ขึ้นลงไม่ได้ทั้ง ถ.รัชดาฯ และพระราม3
  2. เห็นเพจสำนักการโยธา กทม. แชร์โครงการนี้ เป็นการรื้อทำใหม่สะพานช่วง แยก ณ ระนอง ทางรถไฟสถานีแม่น้ำ
  3. krutju, Monchaya (2022-10-11). "เปิดใช้ 'สะพานข้ามแยก ณ ระนอง ช่วงข้ามถนนเชื้อเพลิงและทางรถไฟ' เพื่อบรรเทาจราจรติดขัด". เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 2023-03-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "4 ปีที่รอคอย เปิดสะพานข้ามแยก ณ ระนอง ตีห้าครึ่งถึง 4 ทุ่ม จากศูนย์ฯ สิริกิติ์วิ่งฉิวไปพระราม 3". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-06-01. สืบค้นเมื่อ 2023-06-07.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "ปิดสะพานข้ามแยก ห้าแยก ณ ระนอง ถนนพระราม 3 ขาเข้า". สวพ. FM 91 สถานีวิทยุเพื่อความปลอดภัยและการจราจร. ไลน์ทูเดย์. 2022-01-17. สืบค้นเมื่อ 2023-06-07.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "คนกรุงเฮ! 1 ส.ค. 65 เปิดใช้สะพานข้ามแยก ณ ระนอง และอุโมงค์สี่แยกไฟฉาย". พีพีทีวี. 2022-07-31. สืบค้นเมื่อ 2023-03-05.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°43′04″N 100°33′29″E / 13.717706°N 100.558142°E / 13.717706; 100.558142