แยกอุรุพงษ์

แยกอุรุพงษ์ เป็นสี่แยกในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดระหว่างถนนพระรามที่ 6 กับถนนเพชรบุรี

สี่แยก อุรุพงษ์
Map
ชื่ออักษรไทยอุรุพงษ์
ชื่ออักษรโรมันUruphong
รหัสทางแยกN016 (ESRI), 001 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงทุ่งพญาไทและแขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนพระรามที่ 6
» แยกศรีอยุธยา
ถนนเพชรบุรี
» แยกเพชรพระราม
ถนนพระรามที่ 6
» แยกพงษ์พระราม
ถนนเพชรบุรี
» แยกยมราช

โดยชื่อ "อุรุพงษ์" ที่ทางแยกรวมถึงถนนอุรุพงษ์ที่อยู่ใกล้เคียง เป็นชื่อที่มีที่มาจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช พระราชบุตรลำดับรองสุดท้ายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นพระราชบุตรที่ทรงโปรดมาก ซึ่งสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเยาว์วัยและตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ด้วย[1]

เหตุการณ์สำคัญแก้ไข

ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 แยกอุรุพงษ์ ใช้เป็นสถานที่จัดเวทีเดินหน้าผ่าความจริง หยุดล้างผิดคนโกง ของพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ต่อเนื่องจนถึงเช้าวันที่ 7 สิงหาคม ปีเดียวกัน และมีการเดินส่ง ส.ส. ของพรรคเข้าสู่รัฐสภา เพื่อคัดค้านการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม (พ.ร.บ.นิรโทษกรรม[2]) ของรัฐบาล และเป็นสถานที่ปักหลักชุมนุมถาวรของเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556 จนถึงวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน [3] [4]

อ้างอิงแก้ไข

  1. nickmee (2006-04-25). "เกร็ดกระทู้ – ตอน พระองค์เจ้าชายอุรุพงศ์รัชสมโภช ลูกรักที่สุด สุดท้ายของ ร.๕". พันทิปดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 2018-02-19.
  2. "เวทีผ่าความจริงปชป.ที่อุรุพงษ์คึกคัก". ไอเอ็นเอ็นนิวส์. 6 August 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.
  3. "เกาะติดม็อบต้านนิรโทษกรรม 7พ.ย.56". เดลินิวส์. 7 November 2013. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.
  4. "ม็อบยังปิดแยกอุรุพงษ์ เปลี่ยนชื่อใหม่'คปท.' จี้ ตร.เร่งหาคนร้าย". ไทยรัฐ. 10 October 2013. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′22″N 100°31′25″E / 13.756179°N 100.523577°E / 13.756179; 100.523577