พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)

อดีตนายกรัฐมนตรีไทย
(เปลี่ยนทางจาก พระยาพหลพลพยุหเสนา)

พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นามเดิม พจน์ พหลโยธิน (29 มีนาคม พ.ศ. 2430 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490) เป็นผู้นำทางทหารและนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีสยามคนที่ 2 ตั้งแต่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 หลังการรัฐประหารนายกรัฐมนตรีคนก่อนคือพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ต่อมาได้วางมือจากการเมือง ตั้งแต่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ดำรงตำแหน่งมา 5 ปี 178 วัน

พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน)
พระยาพหลพลพยุหเสนา ใน พ.ศ. 2483
นายกรัฐมนตรีสยาม คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
ก่อนหน้าพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ถัดไปหลวงพิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2477
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าพระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์
ถัดไปหลวงประดิษฐ์มนูธรรม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ
ดำรงตำแหน่ง
16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2477
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
ถัดไปพระสารสาสน์ประพันธ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน – 22 กันยายน พ.ศ. 2477
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าพระยาประเสริฐสงคราม
ถัดไปหลวงพิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
22 กันยายน พ.ศ. 2477 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าพระยาอภิบาลราชไมตรี
ถัดไปพระยาศรีเสนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 – 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าพระยามานวราชเสวี
ถัดไปพระยาไชยยศสมบัติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าพระยาฤทธิอัคเนย์
ถัดไปพระยาฤทธิอัคเนย์
ผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 11
ดำรงตำแหน่ง
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 – 4 มกราคม พ.ศ. 2481
ก่อนหน้าพลเอก พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
ถัดไปพลเอก หลวงพิบูลสงคราม
ดำรงตำแหน่ง
25 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2489
ก่อนหน้าหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต
ถัดไปอดุล อดุลเดชจรัส
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
พจน์

29 มีนาคม พ.ศ. 2430
เมืองพระนคร ประเทศ​สยาม (ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย)
เสียชีวิต14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 (59 ปี)
วังปารุสกวันจังหวัดพระนคร ประเทศสยาม (ปัจจุบัน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย)[1]
พรรคการเมืองคณะราษฎร
คู่สมรส
บุตร
  • ภาพร
  • พรจันทร์
  • ชัยจุมพล
  • พุทธินาถ
  • พจี
  • พวงแก้ว
  • พรหมธรมหัชชัย
บุพการี
  • พระยาพหลพลพยุหเสนา (กิ่ม พหลโยธิน) (บิดา)
  • จับ พหลโยธิน (มารดา)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ปรัสเซีย
ไทย สยาม
 ไทย
สังกัด กองทัพปรัสเซีย
กองทัพบกไทย
กองทัพไทย
ประจำการ2453–2455 (ปรัสเซีย)[ต้องการอ้างอิง]
2454–2490 (ไทย)
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก
บังคับบัญชากองทัพบกไทย
สงคราม/การสู้รบสงครามโลกครั้งที่ 2[2]

พระยาพหลพลพยุหเสนาขึ้นชื่อว่าเป็นบุคคลที่มีชีวิตเรียบง่าย ไม่ยึดติดกับตำแหน่ง เขาเป็นนายกรัฐมนตรีสามสมัย และลาออกจากตำแหน่งเมื่อรัฐบาลแพ้เสียงในสภา เป็นผู้นำคณะราษฎรที่เป็นที่ยอมรับของทุกสายช่วยประสานงานระหว่างฝ่ายพลเรือนและทหาร และมือสะอาด แม้มีโอกาสมากมายที่สามารถแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตัวแต่ก็ไม่เคยฉกฉวยโอกาสเหล่านั้น ยามที่เขาถึงแก่อสัญกรรมพบว่าครอบครัวเขาไม่มีเงินพอจัดพิธีศพ และได้รับสมญานามว่า เชษฐบุรุษประชาธิปไตย[3]

ปฐมวัย แก้ไข

 
พจน์ พหลโยธิน ณ ประเทศเยอรมนี พ.ศ. 2448

พจน์ พหลโยธิน เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2430 ภูมิลำเนา ณ จังหวัดพระนคร (ปัจจุบันคือกรุงเทพมหานคร) เป็นบุตรพระยาพหลพลพยุหเสนา (กิ่ม พหลโยธิน) ชาวไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว [4] มหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มารดาเป็นชาวไทยเชื้อสายมอญ ชื่อว่านางจับ ซึ่งเป็นภรรยาคนที่ห้าของนายกิ่ม ภายหลังบิดาถึงแก่อนิจกรรม ท่านก็อยู่ภายใต้การอุปการะของพี่ชายต่างมารดาที่ชื่อนพ (ต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็นพระยาพหลโยธินรามนิทราภักดี)

เมื่ออายุราวแปดขวบ บิดาพาไปฝากเรียนกับขุนอนุกิจวัตร ครูใหญ่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร และย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสุขุมาลลัย (ปัจจุบันคือโรงเรียนวัดพิชัยญาติ) ต่อมาในพ.ศ. 2444 พี่ชายที่เป็นทหารได้ฝากเข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก[5][3] พจน์สอบได้อันดับหนึ่งในชั้นห้า จึงได้รับเลือกศึกษาวิชาทหารที่จักรวรรดิเยอรมันในปี พ.ศ. 2447 พจน์เข้าเรียนที่โรงเรียนเตรียมนายร้อยในเมืองพ็อทซ์ดัมเป็นเวลาหนึ่งปี และเข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยปรัสเซียในกรุงเบอร์ลินอีกสองปี[6] ซึ่งที่นี่ พจน์และนักเรียนไทยหลายคนได้เป็นเพื่อนร่วมชั้นกับแฮร์มัน เกอริง กับฮิเดกิ โทโจ[7]

ราชการทหาร แก้ไข

เมื่อจบการศึกษาใน พ.ศ. 2453 พจน์เข้ารับราชการทหารนายสิบในกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ของกองทัพเยอรมัน

ระหว่างนี้ได้รับยศร้อยตรีของสยามในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2454 และต่อมาในปีพ.ศ. 2455 พจน์เดินทางจากเยอรมนีไปศึกษาวิชาช่างแสงทหาร ณ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก แต่กลับถูกเรียกตัวกลับก่อนเรียนจบ เนื่องจากนักเรียนทหารในเดนมาร์กเรียกร้องขึ้นเบี้ยหวัดจากกระทรวงกลาโหมสยาม กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถทรงกริ้วและเรียกตัวนักเรียนทั้งหมดกลับ[5]

เมื่อกลับมาถึงสยามในกลางปี พ.ศ. 2457 พจน์ได้เลื่อนเป็นร้อยโทและเข้าประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 จังหวัดราชบุรี ราวปี พ.ศ. 2459 ได้เป็นผู้บังคับการกองร้อยที่ 2 กรมทหารปืนใหญ่บางซื่อ ในปีถัดมาได้เป็นผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 9 จังหวัดฉะเชิงเทรา[8] (ยศร้อยเอก) ปีถัดมาได้บรรดาศักดิ์เป็น หลวงสรายุทธ์สรสิทธิ์ ตำแหน่งผู้บังคับการทหารบกปืนใหญ่ที่ 2 จังหวัดพระนคร[9] และในปีพ.ศ. 2462 ได้สังกัดกรมทหารปืนใหญ่ทหารบก กระทรวงกลาโหม และได้รับมอบหมายให้เดินทางไปตรวจรับปืนใหญ่และดูกิจการทหารในจักรวรรดิญี่ปุ่น ปรากฏว่าพจน์ปฏิบัติงานได้ดีเยี่ยมจนได้รับพระราชทานตราตั้งจากจักรพรรดิไทโชเป็นเกียรติยศสำหรับตนเองและประเทศชาติ เมื่อกลับมาสยามได้เลื่อนเป็นพันตรี และเจริญก้าวหน้าทางตำแหน่งขึ้นตามลำดับ

พ.ศ. 2473 เขาเป็นตำแหน่งจเรทหารปืนใหญ่ในยศพันเอก มีหน้าที่ตรวจการและให้ความรู้แก่เหล่าทหารปืนใหญ่ในกรมกอง ในช่วงนี้เขาเห็นว่าบรรดาเสนาบดีและทหารชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นเจ้านั้นต่างยึดความคิดตนเองเป็นใหญ่ ไม่คิดจะฟังความคิดเห็นของทหารสามัญชน[10] เขาได้คัดค้านการปืนสโตร๊กบันของฝรั่งเศสเพราะเห็นว่าเป็นปืนเก่าล้าสมัย แต่นายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นเจ้ากลับดีเห็นงามกับการซื้อปืนชนิดนี้[10]

การปฏิวัติสยาม แก้ไข

พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหนึ่งในสี่ทหารเสือร่วมกับพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน), พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) และพระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนของการวางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น พระยาพหลฯ รู้ดีว่าตัวเองไม่ได้ฉลาดที่สุดในกลุ่ม จึงให้พระยาทรงสุรเดชเป็นผู้อำนวยการฝ่ายทหาร รับผิดชอบวางแผนก่อการทั้งหมด ส่วนตัวเขาจะขอเป็นเพียงผู้นำไปปฏิบัติ

ก่อนก่อการ พระยาพหลพลพยุหเสนาได้กล่าวกับภรรยาไว้ว่า "...การที่คิดเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนี้ ก็มิได้แน่ใจว่าจะทำสำเร็จดอก มองเห็นข้างศีรษะจะหลุดจากบ่านั้นมากกว่า แต่ที่เห็นแน่ตระหนักในใจก็คือ ถ้าไม่เร่งรัดจัดเปลี่ยนระบอบการปกครองเสียในเวลานี้แล้ว ต่อไปภายหน้าบ้านเมืองก็คงจะประสบแต่ความหายนะถึงล่มจมลงไปเป็นแน่..."[10] แล้วจึงออกจากบ้านไปพร้อมกับพระประศาสน์พิทยายุทธที่ขับรถมารับ มุ่งหน้าไปยังตำบลนัดพบ คือ บริเวณทางรถไฟสายเหนือตัดกับถนนประดิพัทธ์ ในเวลา 05.00 น. เพื่อสมทบกับกลุ่มของพระยาทรงสุรเดช พร้อมกับเหน็บปืนพกโคลต์รีวอลเวอร์ที่เอวเป็นอาวุธข้างกาย ก่อนที่จะเดินทางไปที่กรมทหารม้าที่ 1 เกียกกาย เพื่อลวงเอากำลังทหารและยุทโธปกรณ์มาใช้ในการปฏิวัติตามแผนของพระยาทรงสุรเดช ซึ่งที่คลังแสงภายในกรมทหารแห่งนี้ พระยาพหลฯ เป็นผู้ใช้คีมตัดเหล็กทำการตัดโซ่ที่คล้องประตูคลังแสง เพื่อขนกระสุนและปืนออกมา[11] ระหว่างนี้ พระประศาสน์ฯ ตรงไปเอารถเกราะออกจากโรงรถทหารอย่างเร่งรีบ[12]

เมื่อทหารทุกหน่วยมาพร้อมที่ลานพระบรมรูปแล้ว เวลาเจ็ดนาฬิกาเศษ พระยาพหลฯ เชิญนายทหารสัญญาบัตรมารายล้อม ในมือถือกระดาษแผ่นหนึ่งที่มีข้อความภาษาเยอรมัน แต่อ่านออกมาเป็นภาษาไทยด้วยน้ำเสียงแตกพร่าว่า[13] "บัดนี้คณะราษฎรอันประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน ได้พร้อมใจกันเข้ายึดอำนาจการปกครองไว้แล้วโดยเด็ดขาด เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเยี่ยงนานาอารยประเทศทั้งหลาย..."[12] จากนั้นจึงนำกำลังเข้ายึดพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นกองบัญชาการ การปฏิวัติสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อยในเวลาราวเที่ยงวัน

บทบาททางการเมือง แก้ไข

 
ผู้นำคณะราษฎร ประกอบไปด้วย หลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์, พระยาพหลพลพยุหเสนา, ปรีดี พนมยงค์

เมื่อท่านต้องรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นคนที่ 2 ของประเทศ แทนที่พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ที่ถูกรัฐประหารไปเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 การทำหน้าที่ของท่านไม่ราบรื่น เนื่องด้วยประสบกับปัญหาหลายด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งการสงคราม ที่กำลังจะเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ขึ้น ทำให้ท่านต้องดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีติดต่อกันถึง 3 สมัย จากนั้นก็ลงจากตำแหน่ง แล้วเข้ามาเป็นรัฐมนตรีอีก 3 กระทรวง คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2477 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปี พ.ศ. 2478 จากนั้นเมื่อมีเหตุการณ์ผันผวนทางการเมือง ท่านก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่ 4 โดยนั่งควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ หลังจากนั้น ก่อนจะเข้าดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 5 วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 และลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481 และยุติบทบาททางการเมืองไป ซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อมาก็คือหลวงพิบูลสงคราม นายทหารรุ่นน้องที่ท่านไว้ใจนั่นเอง

พระยาพหลพลพยุหเสนาได้รับพระราชทานวังปารุสกวัน จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นที่พำนัก แม้ถึงตอนที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ซึ่งท่านได้ใช้ที่นี่เป็นที่พำนักพักอาศัยตราบจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต[1]

พระยาพหลพลพยุหเสนา มีคติประจำใจว่า "ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชาย ต้องไว้ชื่อ" ชีวิตของท่านไม่มีทรัพย์สินเงินทองมากมายเลยแม้จะผ่านตำแหน่งสำคัญ ๆ มามากก็ตาม[1] ใน พ.ศ. 2487 ระหว่างปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ในรัฐบาลพันตรีควง อภัยวงศ์ ที่ขึ้นมาแทนที่รัฐบาลของจอมพลแปลก ที่ได้ลาออกไปก่อนหน้านั้น เมื่อรัฐบาลมีมติปลด จอมพลแปลก ออกจากตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ (ปัจจุบันคือ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด) ก็ได้ขอให้ท่านรับตำแหน่งนี้เอาไว้ ทั้งที่ท่านประกาศไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีกแล้ว ประกอบกับร่างกายที่เป็นอัมพาตจากอาการเส้นโลหิตในสมองแตก แต่ท่านก็รับไว้ในที่สุด แม้จะปรารภว่าจะให้เป็นท่านเป็นแม่ทัพกล้วยปิ้งหรืออย่างไร อีกทั้งระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพันตรีควง ในช่วงนี้ เป็นที่หวาดวิตกว่า อาจมีรัฐประหาร ด้วยกำลังทหารจากจังหวัดลพบุรี ที่ยังให้การสนับสนุนจอมพลแปลกอยู่ เพื่อยุติภาวะอันนี้ พันตรีควง จึงตัดสินใจเดินทางไปพบจอมพลแปลกด้วยตัวเองถึงที่บ้านพักส่วนตัว ภายในศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี หลังจากเจรจากันแล้ว จอมพลแปลกได้ยืนยันว่า ไม่มีความคิดเช่นนั้นเลย อีกทั้งยังมีความรักใคร่ พันตรีควง เสมือนเป็นน้องชายตนเอง ในการครั้งนี้ ด้วยความเป็นห่วงพันตรีควง พระยาพหลพลพยุหเสนาได้โทรศัพท์ไปสอบถามถึงบ้านพักของพันตรีควงถึง 2 ครั้ง เมื่อไม่ได้ความ ก็เดินทางออกจากวังปารุสกวันไปที่หลักสี่เพื่อรอคอยการกลับมาของพันตรีควงด้วยตนเอง ทั้งที่สภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวย [2]

พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ล้มป่วยลงด้วยโรคอัมพาตเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2488 เนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตก แต่ด้วยความสามารถของนายแพทย์และด้วยกำลังใจอันเข้มแข็ง ท่านได้ต่อสู้โรคร้ายมาตลอดราว 2 ปีเศษ จนเมื่อเวลา 21.40 น. ของคืนวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2490 ได้เกิดอาการหายใจลึกและสะท้อน ชีพจรอ่อน พูดไม่ได้ มีเสมหะในลำคอมาก ม่านตาไม่ขยาย อาการทรุดลงตามลำดับ จนถึงเวลา 3.05 น. ของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ก็ได้ถึงแก่อสัญกรรม ด้วยวัย 59 ปี 322 วัน นายแพทย์พร้อมกันลงความเห็นว่าเส้นโลหิตในสมองได้แตกอีกเป็นครั้งที่ 2 จึงเป็นเหตุให้ถึงแก่อสัญกรรม[14] ซึ่งงานศพของท่านทางครอบครัวไม่มีเงินเพียงพอที่จะจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพ จนทางรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ต้องเข้ามารับอุปถัมภ์ จัดการงานพระราชทานเพลิงให้ท่านแทน[1] ศพของพระยาพหลฯ ได้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วังปารุสกวันและพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2490 ซึ่งเป็นวัดที่ท่านอยู่จำศีลภาวนาเมื่อคราวอุปสมบท

อนุสรณ์ แก้ไข

ภายหลังการอสัญกรรม ได้มีการเปลี่ยนชื่อถนนตามนามสกุลของท่าน คือ ถนนพหลโยธิน และมีการสร้างโรงพยาบาลและใช้ชื่อเป็นการระลึกถึงท่าน คือ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ที่จังหวัดกาญจนบุรีซึ่งท่านถือจากว่าจังหวัดกาญจนบุรีเป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีสะพานพหลพลพยุหเสนา ในเทศบาลเมืองกาญจนบุรีและปัจจุบัน มีการสร้างพิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา อยู่ภายในศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายพหลโยธิน หมู่ที่ 7 ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งเคยเป็นที่พำนักของท่านมาก่อนในขณะเป็นผู้บังคับบัญชา ภายในรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ รูปปั้น ชุดเครื่องแบบ ตลอดจนรูปถ่าย จดหมายลายมือของท่าน และบัตรประจำตัว เพื่อเป็นแหล่งศึกษาชีวประวัติและเชิดชูเกียรติของท่าน ซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัด[15]

ครอบครัว แก้ไข

พระยาพหลพลพยุหเสนา สมรสครั้งแรกกับ คุณหญิงพิศ แต่ไม่มีบุตร-ธิดาด้วยกัน ต่อมาได้สมรสครั้งที่สองกับบุญหลง ธนะโสภณ มีบุตร-ธิดา รวม 7 คน คือ

  1. นางสาวภาพร พหลพลพยุหเสนา
  2. นางพรจันทร์ ศรีพจนารถ
  3. พลตรี ชัยจุมพล พหลพลพยุหเสนา
  4. พันตรี พุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา
  5. นางพจี พหลโยธิน สุทธินาค
  6. นางพวงแก้ว สาตรปรุง
  7. พันตำรวจโท พรหมธรมหัชชัย พหลพลพยุหเสนา

เกียรติยศ แก้ไข

ยศทหาร แก้ไข

  • 23 มกราคม พ.ศ. 2454: นายร้อยตรี[16]
  • 11 สิงหาคม พ.ศ. 2457: นายร้อยโท[17]
  • 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2459: นายร้อยเอก[18]
  • 21 เมษายน พ.ศ. 2462: นายพันตรี[19]
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2466: นายพันโท[20]
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2471: นายพันเอก[21]
  • 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2480: นาวาเอก นาวาอากาศเอก[22]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2482: พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี
  • 19 มิถุนายน พ.ศ. 2484: พลโท[23]
  • 21 ธันวาคม พ.ศ. 2485: พลเอก[24]
  • 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486: พลเรือเอก พลอากาศเอก[25]

บรรดาศักดิ์ แก้ไข

  • 20 เมษายน พ.ศ. 2461: หลวงสรายุทธ์สรสิทธิ์[26]
  • 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2467: พระสรายุทธ์สรสิทธิ์[27]
  • 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474: พระยาพหลพลพยุหเสนา[28]
  • 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2485: ประกาศยกเลิกบรรดาศักดิ์[29]
  • 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488: คืนบรรดาศักดิ์ พระยาพหลพลพยุหเสนา

เครื่องอิสริยาภรณ์ แก้ไข

พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้ไข

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้ไข

ตำแหน่งทางวิชาการ แก้ไข

ดูเพิ่ม แก้ไข

อ้างอิง แก้ไข

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ส.พลายน้อย. พระยาพหลฯ นายกรัฐมนตรีผู้ซื่อสัตย์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2555. 137 หน้า. ISBN 9740208754
  2. 2.0 2.1 จรี เปรมศรีรัตน์. กำเนิดพรรคประชาธิปัตย์ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 : 61 ปีประชาธิปัตย์ยังอยู่ยั้งยืนยง. นนทบุรี : ใจกาย, 2552. 323 หน้า. ISBN 9789747046724
  3. 3.0 3.1 “เชษฐบุรุษ” พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พ.ศ. 2430-90 ศิลปวัฒนธรรม. 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
  4. "ประวัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-14. สืบค้นเมื่อ 2008-01-29.
  5. 5.0 5.1 นเรศ นโรปกรณ์, 100 ปี พระยาพหลฯกรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2531), 17.
  6. ย้อนราก “3 ทหารเสือ” คณะราษฎร ผลผลิตจากโรงเรียนนายร้อยเยอรมนี ศิลปะวัฒนธรรม. 25 มีนาคม พ.ศ. 2563
  7. Judith A. Stowe: Siam Becomes Thailand. A Story of Intrigue. C. Hurst & Co., London 1991, ISBN 0-82481-393-6, S. 370.
  8. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง เลื่อนย้ายนายทหารรับราชการกับออกจากประจำการ (หน้า ๑๓๐๐) ราชกิจจานุเบกษา
  9. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ย้ายนายทหารรับราชการ (หน้า ๓๖๓๘) ราชกิจจานุเบกษา
  10. 10.0 10.1 10.2 กุหลาบ สายประดิษฐ์, เบื้องหลังการปฏิวัติ 2475กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บูรพาแดง, 2518)
  11. 24 มิถุนายน (6) จากเดลินิวส์ โดย นรนิติ เศรษฐบุตร รศ.
  12. 12.0 12.1 หลอกทหารมาปฏิวัติ 2475 แผนการลวงของพระยาทรงสุรเดช ศิลปวัฒนธรรม. 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563
  13. นายหนหวย. ทหารเรือปฏิวัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, พฤศจิกายน 2555 (พิมพ์ครั้งที่ 3). 124 หน้า. ISBN 9789740210252
  14. หนังสือ 111ปี ฯพณฯ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เชษฐบุรุษ พิมพ์ครั้งที่1 กันยายน 2552 หน้าที่ 90-91
  15. พิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา[ลิงก์เสีย]
  16. พระราชทานยศทหารบก ราชกิจจานุเบกษา
  17. ตั้งตำแหน่งยศทหารบก ราชกิจจานุเบกษา
  18. พระราชทานยศนายทหารบก ราชกิจจานุเบกษา. 4 มิถุนายน 2459
  19. พระราชทานยศทหารบก ราชกิจจานุเบกษา. 27 เมษายน 2462
  20. พระราชทานยศทหารและข้าราชการในกระทรวงกลาโหม ราชกิจจานุเบกษา. 20 พฤษภาคม 2466
  21. พระราชทานยศ
  22. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  23. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  24. พระราชทานยศทหาร เก็บถาวร 2018-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา. 1 มกราคม 2486
  25. พระราชทานยศทหาร เก็บถาวร 2018-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา. 23 พฤศจิกายน 2486
  26. "พระราชทานตั้งเลื่อนบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 35: 208. 28 เมษายน 2461. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-03. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  27. "พระราชทานบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (ง): 1244. 20 กรกฎาคม 2467. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. "พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (ง): 3011. 15 พฤศจิกายน 2474. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-30. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. "พระบรมราชโองการ ประกาศเรื่อง การยกเลิกบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (33ก): 1089. 15 พฤษภาคม 2485. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-13. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๓๐๓๐, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖
  31. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๑๒, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๘๐
  32. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ เก็บถาวร 2022-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๒๒, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
  33. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิและเครื่องหมายเปลวระเบิด สำหรับผู้กระทำความชอบได้รับบาดเจ็บ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘๑๐, ๑๕ เมษายน ๒๔๘๔
  34. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๗๙, ๓๐ กันยายน ๒๔๗๗
  35. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน เก็บถาวร 2022-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๕๖, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๗
  36. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๒๕๙๐, ๑๗ สิงหาคม ๒๔๘๖
  37. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเหรียญจักรมาลาไปพระราชทาน, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๐๕, ๒๕ ธันวาคม ๒๔๗๐
  38. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๒๗๗, ๒ มีนาคม ๒๔๗๒
  39. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๕๙, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
  40. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๕๓, ๒๔ ธันวาคม ๒๔๖๕
  41. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๖๒๖, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๕
  42. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๓๙, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
  43. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๓๐, ๑๘ มีนาคม ๒๔๘๒
  44. "ตำแหน่งทางวิชาการ ศาสตราจารย์ธรรมศาสตร์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-04. สืบค้นเมื่อ 2018-08-04.
ก่อนหน้า พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ถัดไป
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)    
นายกรัฐมนตรีไทย
(21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 – 11 กันยายน พ.ศ. 2481)
  หลวงพิบูลสงคราม
พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์)   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2477)
  หลวงประดิษฐ์มนูธรรม
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ
(16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2477)
  พระสารสาสน์ประพันธ์
พลตรี พระยาประเสริฐสงคราม   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(1 เมษายน พ.ศ. 2477 – 22 กันยายน พ.ศ. 2477)
  พลตรี หลวงพิบูลสงคราม
พระยาอภิบาลราชไมตรี   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(22 กันยายน พ.ศ. 2477 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478)
  พระยาศรีเสนา
พระยามานวราชเสวี   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 – 12 กุมภาพัน พ.ศ. 2479)
  พระยาไชยยศสมบัติ
พระยาฤทธิอัคเนย์   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
(9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480)
  พระยาฤทธิอัคเนย์
พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
  ผู้บัญชาการทหารบก (สมัยแรก)
(6 สิงหาคม พ.ศ. 2475 - 4 มกราคม พ.ศ. 2481)
  พันเอก หลวงพิบูลสงคราม
พลโท หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต   ผู้บัญชาการทหารบก (สมัยสอง)
(25 สิงหาคม พ.ศ. 2487 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2489)
  พลเอก อดุล อดุลเดชจรัส