พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ)
มหาอำมาตย์ตรี พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ) เป็น อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) และอดีตคณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนแรก และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งธนาคารไทยทนุ เมื่อปี พ.ศ. 2492
พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ) | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2481 | |
ก่อนหน้า | พระยาพหลพลพยุหเสนา |
ถัดไป | ปรีดี พนมยงค์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 มีนาคม พ.ศ. 2440 |
เสียชีวิต | 9 มกราคม พ.ศ. 2521 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิงศรี ไชยยศสมบัติ คุณหญิงดารา ไชยยศสมบัติ |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ) เป็นบุตรของอำมาตย์เอกพระยาราชธนพิทักษ์ (สังข์ กฤษณามระ) และคุณหญิงแสง ราชธนพิทักษ์ (แสง ศรัทธาคุ้ม) จบการศึกษาจากโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อจบการศึกษาจึงเข้ารับราชการที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติในปีพ.ศ. 2456 ในตำแหน่งเสมียนกรมที่ปรึกษาการคลัง จากนั้นจึงสอบชิงทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ
แล้วกลับมาเข้ารับราชการที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้รับบรรจุในตำแหน่งเสมียนอังกฤษ ในเดือนตุลาคมพ.ศ. 2465 พร้อมทั้งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงกฤษณามระพัต ต่อจากนั้นจึงลาออกจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเข้าทำงานในกรมบัญชีกลาง ตำแหน่งนายเวรชั้น 2 สักระยะหนึ่งได้โอนไปอยู่กรมตรวจเงินแผ่นดิน ตำแหน่งนายเวรชั้น 1 ภายหลังต่อมาเปลี่ยนชื่อตำแหน่งเป็นปลัดกรมชั้น 1 รับราชการอยู่ในกรมตรวจเงินแผ่นดิน จนได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตรวจเงินแผ่นดิน ในปี พ.ศ. 2472 ได้รับการโอนกลับมาที่กรมบัญชีกลางอีกครั้ง พร้อมตำแหน่งรักษาการอธิบดีกรมบัญชีกลางเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2472 จนรับตำแหน่งอธิบดีกรมบัญชีกลางเมื่อเดือนเมษายน 2472 ด้วยวัยเพียง 32 ปี และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาไชยยศสมบัติ
พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ) ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ครั้งแรกเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 6[1] และดำรงตำแหน่งต่อมาในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 7[2] และคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 8[3] และพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2481 นอกจากนี้ยังเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในผู้แทนราษฎรชั่วคราว[4]
คู่สมรสคือ คุณหญิงศรี ไกรฤกษ์ และน้องสาว - คุณดารา ไกรฤกษ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2502 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2504 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 6 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-27. สืบค้นเมื่อ 2015-05-18.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 7 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-27. สืบค้นเมื่อ 2015-05-18.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 8 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-27. สืบค้นเมื่อ 2015-05-18.
- ↑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 49 หน้า 1338 วันที่ 17 กรกฎาคม 2475
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๔๐ ง หน้า ๑๒๘๐, ๙ พฤษภาคม ๒๕๐๔
ก่อนหน้า | พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2480 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2481) |
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) |