สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (อังกฤษ: State Audit Office of the Kingdom of Thailand, SAO) หรือ สตง. เป็นองค์กรอิสระ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การปฏิบัติงาน และการดำเนินการอื่น ที่เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจสอบการใช้งบประมาณของรัฐบาล โดยมีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (Auditor General) เป็นหัวหน้าสำนักงาน

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
State Audit Office of the Kingdom of Thailand
เครื่องหมายราชการ

ที่ทำการสำนักงาน
ภาพรวมสำนักงาน
ก่อตั้ง18 กันยายน พ.ศ. 2458; 109 ปีก่อน (2458-09-18)
สำนักงานก่อนหน้า
  • กรมตรวจเงินแผ่นดิน
  • สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
  • สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
ประเภทองค์กรอิสระ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
บุคลากร3,991 คน (พ.ศ. 2566)[1]
งบประมาณต่อปี3,192,392,600 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารสำนักงาน
  • มณเฑียร เจริญผล, ผู้ว่าการ
  • สุทธิพงษ์ บุญนิธิ, รองผู้ว่าการ
  • ธนพล โกมารกุล ณ นคร, รองผู้ว่าการ
  • กุลิสราพ์ บุญทับ, รองผู้ว่าการ
  • พิมพา วภักดิ์เพชร, รองผู้ว่าการ
  • บรรลูน ศิริสิงห์สังชีย, รองผู้ว่าการ
  • อรุณ สังข์ทอง, รองผู้ว่าการ
  • อัญชิสา ร่มสายหยุด, รองผู้ว่าการ
  • ประวิทย์ ตันตราจินต์, รองผู้ว่าการ
ต้นสังกัดสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
เว็บไซต์www.audit.go.th

ประวัติ

แก้

การตรวจเงินแผ่นดินในประเทศไทย เริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา "พระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติแลว่าด้วยกรมต่าง ๆ ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงิน จุลศักราช 1237" ขึ้นในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418ใน พ.ศ. 2476 รัฐสภาได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2476 นับเป็นกฎหมายตรวจเงินแผ่นดินฉบับแรกภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และมี หลวงดำริอิศรานุวรรต (หม่อมหลวงดำริ อิศรางกูร) เป็นประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคนแรก เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476[3]

ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน” สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ. 2495 ต่อมาใน พ.ศ. 2515 ย้ายไปขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรีไทย จากนั้นได้มีการตราพระราชบัญญัติการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2522 พร้อมทั้งได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อหน่วยงานจาก “สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน” เป็น “สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน”

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่โดยเป็นหน่วยงานของรัฐบาล ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้กำหนดให้เป็นองค์กรตรวจสอบอิสระและเป็นกลาง ประกอบด้วย คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยให้เสนอรายงานผลการปฏิบัติงานต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 ในเวลาต่อมา

ต่อมาปี พ.ศ. 2563 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้เริ่มโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ บนเนื้อที่ 10 ไร่ ย่านจตุจักร กรุงเทพมหานคร มูลค่าด้วยงบประมาณรวมกว่า 2,136 ล้านบาท ภายหลังวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 ได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.7 ที่ซะไกง์ ประเทศพม่า ทำให้อาคารที่กำลังก่อสร้างเกิดพังถล่มลงมา[4][5]

ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

แก้

เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มีผลใช้บังคับ และกำหนดให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นองค์กรอิสระ โดยมี คตง. 10 คน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน 1 คน จึงได้มีการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน แต่ประสบปัญหาล่าช้า เนื่องจากผู้สมัครขาดคุณสมบัติ จึงมีผู้เสนอชื่อให้คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนแรก[6]

หลังการรัฐประหารในปี 2549 ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.)[7] และให้ทำหน้าที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง[8]

ต่อมาใน พ.ศ. 2553 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ของคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ว่าพ้นจากตำแหน่งนับตั้งแต่วันที่มีอายุครบ 65 ปี[9] พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ได้เรียกร้องให้คุณหญิงจารุวรรณ ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าว จนเกิดความขัดแย้งกันภายใน สตง. กระทั่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ศาลปกครองกลางได้ตัดสินให้การดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินของคุณหญิงจารุวรรณ สิ้นสุดลงเมื่อมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์แล้ว[10]

ลำดับ
(สมัย)
รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 คุณหญิง จารุวรรณ เมณฑกา 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
2 พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส 25 กันยายน พ.ศ. 2557 25 กันยายน พ.ศ. 2560[11]
3 ประจักษ์ บุญยัง 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561[12] 3 มิถุนายน พ.ศ. 2567
4 มณเฑียร เจริญผล 4 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน

คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน

แก้

ดูเพิ่ม

แก้
วิกิซอร์ซ

อ้างอิง

แก้
  1. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. "รายงานผลการปฎิบัติงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2566" (PDF). สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2024.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๑๐๒, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. ประกาศ ตั้งประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
  4. 150 ปี สตง. ผู้พิทักษ์เงินแผ่นดิน เผชิญวิกฤตโปร่งใสตึกใหม่พังถล่ม
  5. เปิดประวัติอาคาร สตง. ย่านจตุจักร ถล่ม จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (นางจารุวรรณ เมณฑกา)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 30 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2011.
  7. ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๐ เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
  8. ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๒ เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลใช้บังคับต่อไป
  9. "เปิดคำวินิจฉัยกฤษฎีกา'จารุวรรณ'พ้นผู้ว่าสตง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2011.
  10. "ศาลปกครองพิพากษา'จารุวรรณ'พ้นตำแหน่งผู้ว่าสตง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2010.
  11. คสช.ตั้ง “พรชัย จำรูญพานิชย์กุล” นั่งรักษาการผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน. ประชาชาติธุรกิจ.
  12. โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง'ประจักษ์ บุญยัง'เป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน. ไทยโพสต์.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้