คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ คตง. เป็นคณะกรรมการ ที่ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ การตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 มีหน้าที่ดูแล สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้งบประมาณของหน่วยงานของรัฐ เสนอรายงานผลการปฏิบัติงานต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีทุกปี

คตง. ทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดนโยบายและกรอบการทำหน้าที่ให้ผู้ว่าการ สตง. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของ สตง. นำไปปฏิบัติ

คตง. ยังเป็นผู้สรรหาและแต่งตั้ง คณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลัง (ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 คือ คณะกรรมการวินัยทางบประมาณและการคลัง) ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ทำหน้าที่วินิจฉัยโทษทางปกครอง (โดยหลักคือการสั่งปรับเงินเดือน) ข้าราชการหรือนักการเมืองที่กระผิดทางงบประมาณและการคลัง เช่น ยักยอกทรัพย์ ทุจริต หรือไม่ทำตามระเบียบการพัสดุ เป็นต้น ในขณะที่พิจารณาลงโทษทางอาญานั้นเป็นหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. และศาล

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

แก้

สตง. ถูกปรับเปลี่ยนให้มีการบริหารงานแบบ "คณะกรรมการ" ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการประกาศใช้ "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542" และมี คตง. ชุดแรกใน ปี พ.ศ. 2543 และมี คตง. ชุดที่สองในปี พ.ศ. 2547

ชุดที่หนึ่ง (พ.ศ. 2543)

แก้

ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 14 เมษายน พ.ศ. 2543 พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (จำนวน ๑๐ ราย) ถึง 14 เมษายน พ.ศ. 2547

ชุดที่สอง (พ.ศ. 2547)

แก้

ชุดที่สอง ได้รับเลือกจากวุฒิสภา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2547 และวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2547 จำนวน 9 คน ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (จำนวน ๑๐ ราย)

ชุดที่สาม (พ.ศ. 2557)

แก้

ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557 พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

ชุดที่สี่ (พ.ศ. 2560)

แก้

ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560 พระราชโองการประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน[2]

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้