ปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์
ปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 10 สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11 วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน อดีตสมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหา (ชุดปี 2554) และอดีตอธิบดีกรมบัญชีกลาง
ปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ | |
---|---|
กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน | |
ดำรงตำแหน่ง 25 กันยายน พ.ศ. 2557 – 25 กันยายน พ.ศ. 2560 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2492[1] อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
คู่สมรส | หม่อมราชวงศ์พันธุ์ชมพูนุช นิมมานเหมินท์ |
ประวัติ
แก้เกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2492 เป็นบุตรของนายพิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์ กับหม่อมราชวงศ์พันธุ์ชมพูนุท นิมมานเหมินท์ (สกุลเดิม ทองแถม)
การศึกษา
แก้ปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ จบการศึกษาบัญชีบัณฑิต จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2515 ปริญญาโทด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตต (สหรัฐอเมริกา) ในปี พ.ศ. 2517 และปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2529
นอกจากนั้นยังผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 42 ปี พ.ศ. 2542[1]
การทำงาน
แก้ปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ เริ่มรับราชการในสังกัดกระทรวงการคลัง เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยปลัดกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2538 เป็นรองอธิบดีกรมธนารักษ์ ในปี พ.ศ. 2539 เป็นหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2543 จากนั้นปี พ.ศ. 2548 ได้รับตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง และอธิบดีกรมบัญชีกลางในปีถัดมา จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2552
ปิยพันธุ์ เป็น กรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิ ในปี พ.ศ. 2551 - 2552[1] เคยเป็นกรรมการธนาคารนครหลวงไทย[2] เป็นประธานกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์[3]
ในปี พ.ศ. 2554 ปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ ได้รับการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาด้วย[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557[5]
ในปี พ.ศ. 2562 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[6] และมีบทบาทในการเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2543 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 ปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์จาก ไทยรัฐ สืบค้นวันที่ 18 สิงหาคม 2563
- ↑ https://www.ryt9.com/s/smsn/720497
- ↑ https://positioningmag.com/37429
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ วุฒิสภาตั้งคณะกมธ. 40 คนพิจารณางบประมาณ 2563[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2017-11-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๐๕, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔