กรพจน์ อัศวินวิจิตร
กรพจน์ อัศวินวิจิตร อดีตกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย อดีตผู้แทนการค้าไทย ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร อดีตผู้อำนวยการธนาคารออมสิน และอดีตสมาชิกวุฒิสภา
กรพจน์ อัศวินวิจิตร | |
---|---|
ผู้แทนการค้าไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – 6 มกราคม พ.ศ. 2544 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 มีนาคม พ.ศ. 2499 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติพัฒนา |
คู่สมรส | อัญชนา อัศวินวิจิตร[1] |
ประวัติ
แก้กรพจน์ อัศวินวิจิตร เกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2499 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายอวยชัย กับ นางปราณี อัศวินวิจิตร จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และระดับปริญญาโท สาขาการบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเซาท์เทิร์นแคลิฟอร์เนีย
การทำงาน
แก้กรพจน์ อัศวินวิจิตร เคยทำงานเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท พรูเด็นเชียล ทีเอสไลฟ์ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 จึงได้เข้ามารับตำแหน่งกรรมการรองผู้จัดการ ธนาคารสหธนาคาร (เวลาต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไทยธนาคาร และปัจจุบันใช้ชื่อว่า ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย)
งานการเมือง
แก้กรพจน์ อัศวินวิจิตร เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ในระหว่างปี พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2542 (2 สมัย)[2] จากนั้นจึงได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในโควตาของพรรคชาติพัฒนา[3] และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคชาติพัฒนา[4][5] ในปี พ.ศ. 2544 และในปี พ.ศ. 2545 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้แทนการค้าไทย ในช่วงที่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน โดยได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่หัวหน้าทีมเศรษฐกิจของพรรค[6] และเป็นผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อในลำดับที่ 4[7] และต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ วิวาห์หวานชื่นมื่น บุตรสาว กก.ตรวจเงินแผ่นดิน สุดารัตน์ อัศวินวิจิตร & ถิรภัทร ฉัตรทวีศักดิ์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ กรพจน์ อัศวินวิจิตร รัฐมนตรีคนนอกคนล่าสุด[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ "ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินชื่นมื่น!! เปิดตัว"กรพจน์"หน.ทีมเศรษฐกิจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-05-01.
- ↑ เปิดรายชื่อปาร์ตี้ลิสต์ 2 พรรคดัง “ชาติไทยพัฒนา-ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน”[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ข้อมูลผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ เก็บถาวร 2009-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน