พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)

พรรคชาติพัฒนา (อังกฤษ: National Development Party) เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2525 โดยใช้ชื่อว่า พรรคปวงชนชาวไทย และได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น พรรคชาติพัฒนา ใน พ.ศ. 2535 โดยมี ส.ส. และมีฐานเสียงส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นจังหวัดที่ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ลงเลือกตั้งตลอดชีวิตทางการเมือง จนกระทั่งยุบรวมกับพรรคไทยรักไทยในปี พ.ศ. 2548 หลังจากการยุบพรรคไทยรักไทยในปี พ.ศ. 2550 กลุ่มรวมใจไทยและกลุ่มชาติพัฒนาได้ควบรวมกันและก่อตั้งพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา

พรรคชาติพัฒนา
ผู้ก่อตั้งร้อยเอก สมหวัง สารสาส
หัวหน้าสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
เลขาธิการปวีณา หงสกุล
บุคคลสำคัญในพรรคพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
คำขวัญชาติพัฒนา เพื่อพัฒนาชาติ
ก่อตั้ง20 เมษายน พ.ศ. 2525
พรรคปวงชนชาวไทย
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
พรรคชาติพัฒนา
ถูกยุบ21 กันยายน พ.ศ. 2547
แยกจาก(ในยุคพรรคชาติพัฒนา)
พรรคชาติไทย
พรรคสามัคคีธรรม
ยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย
ถัดไปพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ประวัติ

แก้

พรรคปวงชนชาวไทย

แก้
 
สัญลักษณ์พรรคปวงชนชาวไทย

พรรคปวงชนชาวไทย (อังกฤษ: THAI PEOPLE'S PARTY) จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2525 เป็นลำดับที่ 2/2525 โดยมีร้อยเอก สมหวัง สารสาส เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก[1]

วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 ได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่โดยได้ พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก อดีต ผู้บัญชาการทหารบก และอดีต ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรค[2]

วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2535 พลเอกอาทิตย์ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคปวงชนชาวไทย[3] และย้ายไปสมัครเป็นสมาชิก พรรคสามัคคีธรรม พร้อมกับรับตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรคสามัคคีธรรมทำให้พรรคปวงชนชาวไทยกลับมาเป็นพรรคขนาดเล็กอีกครั้ง

โดยในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ทางพรรคได้ทำการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่และได้พันเอก (พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ อดีตหัวหน้า พรรคสยามประชาธิปไตย เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่[4]

พรรคชาติพัฒนา

แก้

หลังจากนั้นในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535[5] อันเป็นวันเดียวกับที่ พลเอก สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งภายหลังจากเหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม ทางพรรคปวงชนชาวไทยได้ทำการเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรคชาติพัฒนา พร้อมกับตราสัญลักษณ์ของพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่โดยได้ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคคนแรกต่อมาพลเอกอาทิตย์ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรคและสมาชิกพรรคสามัคคีธรรมกลับมารับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา

มีนักการเมืองที่มีชื่อเสียงหลายคนเข้าร่วม โดยสมาชิกส่วนใหญ่มาจากพรรคชาติไทย ซึ่งเป็นพรรคเดิมที่พลเอกชาติชายสังกัด และ พรรคสามัคคีธรรม ซึ่งเป็นพรรคที่เกี่ยวข้องกับ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ซึ่งเคยรัฐประหารรัฐบาลชาติชายมาก่อนอีกด้วย[6]

สส. ที่มาจากพรรคชาติไทย

สส. ที่มาจากพรรคสามัคคีธรรม (บางคนเคยอยู่ในพรรคปวงชนชาวไทยมาก่อน)

ภายหลัง การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 ก็ได้มีการจัดตั้ง กลุ่ม 16 ร่วมกับพรรคชาติไทย เพื่อตรวจสอบรัฐบาลในขณะนั้นด้วย

ภายหลังการถึงอสัญกรรมของพลเอกชาติชายในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 กร ทัพพะรังสี จึงดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคคนต่อมา

บทบาททางการเมือง

แก้

พรรคปวงชนชาวไทย

แก้

เมื่อเกษียณอายุราชการ พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ได้ตัดสินใจลงสนามเลือกตั้ง โดยร่วมมือกับ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ทายาทประยูรวิศว์ก่อสร้าง ผู้รับเหมาก่อสร้างทางที่คุ้นเคยกับอาทิตย์ สมัยเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 โดยมีการชูคำขวัญในการหาเสียงว่า "นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง" ที่สอดรับกับอารมณ์ของผู้คนในขณะนั้น ซึ่งอยู่ในภาวะเบื่อหน่ายการปกครองของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ มากขึ้นเรื่อยๆ และนอกจากนี้ ภาพลักษณ์ของพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เป็นไปในทางที่ดี ในฐานะนายทหารมืออาชีพ ซึ่งถอดเครื่องแบบลงสนามเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตย[7]

ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 พรรคปวงชนชาวไทยชนะไปได้ 17 ที่นั่ง โดยทั้งพลเอกอาทิตย์และสุวัจน์ก็ได้เป็น สส. สมัยแรก โดยในช่วงแรกทำหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านในรัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ จนกระทั่งมีการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งใหญ่ พรรคปวงชนชาวไทยจึงถูกเชิญให้มาร่วมรัฐบาลในเวลาต่อมา โดยพลเอกอาทิตย์ได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี

ภายหลังการปฏิวัติรัฐประหารโดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ สมาชิกส่วนมากก็ได้ลาออกไปสังกัด พรรคสามัคคีธรรม นำโดยพลเอกอาทิตย์ หัวหน้าพรรค หลังจากเหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม พลเอกชาติชายที่ลี้ภัยไปต่างประเทศได้เดินทางกลับมายังประเทศไทยและได้เข้ามาเทคโอเวอร์พรรคปวงชนชาวไทยพร้อมกับเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคชาติพัฒนา

พรรคชาติพัฒนา

แก้

ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 พรรคชาติพัฒนาได้เข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคความหวังใหม่ และหลังจากที่ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว พรรคชาติพัฒนาได้ร่วมมือกับทางพรรคร่วมรัฐบาลเดิมเพื่อสนับสนุน พลเอกชาติชาย เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่ว่า รวบรวมเสียงสนับสนุนได้น้อยกว่าฝ่ายของทางพรรคประชาธิปัตย์ สืบเนื่องจาก กลุ่มงูเห่า จึงเปลี่ยนบทบาทเป็นฝ่ายค้าน แต่ก็ได้ร่วมรัฐบาลในปี พ.ศ. 2541

ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 หลังจากการเลือกตั้ง 1 ปี พรรคชาติพัฒนาได้เข้าร่วมเป็นพรรคร่วมรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ไม่นานหลังจากนี้ กร ทัพพะรังสี ก็ได้ลาออกจากพรรคและไปเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลเสียงข้างมาก นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ จึงเป็นหัวหน้าพรรคต่อ ซึ่งนายสุวัจน์ได้ประกาศว่า จะไม่ขอเป็นหัวหน้าพรรคคนสุดท้าย

แต่ก่อนที่จะถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ไม่นาน สุวัจน์ได้ยุบพรรคชาติพัฒนาเข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทย[8]

"พรรคจอมเสียบ" และ "เสียบเพื่อชาติ"

แก้

ฉายาของพรรคชาติพัฒนาจากสื่อมวลชนคือ พรรคจอมเสียบ สืบเนื่องจากความพยายามที่จะเข้าร่วมรัฐบาลของพรรค ซึ่งมีทั้งหมด 4 ครั้งด้วยกัน

ครั้งแรกนั้นเกิดขึ้นใน คณะรัฐมนตรีชวน 1 ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2537 พรรคความหวังใหม่เกิดความขัดแย้งกับพรรคประชาธิปัตย์ เรื่องการกระจายอำนาจ จึงตัดสินใจถอนตัวออกจากรัฐบาล โดยก่อนหน้านั้นพรรคฝ่ายค้าน ได้ทำสัตยาบันประกาศไม่ร่วมรัฐบาล แต่พรรคชาติพัฒนาตัดสินใจฉีกสัตยาบัน และเข้าร่วมรัฐบาลแทนที่ในส่วนของพรรคความหวังใหม่แทน จนกลายเป็นที่มาของคำว่า "เสียบเพื่อชาติ"

ครั้งที่สองเกิดขึ้นหลัง การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 โดยก่อนหน้านั้น พรรคชาติพัฒนาขอตกลงเรื่องการจับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติไทย จัดตั้งรัฐบาลแข่งกับพรรคความหวังใหม่ ซึ่งชนะเลือกตั้งในครั้งนั้น แต่พรรคประชาธิปัตย์ปฎิเสธ จึงตัดสินใจไปร่วมรัฐบาลกับพรรคความหวังใหม่ ตัดหน้าพรรคชาติไทยที่ตัดสินใจจะขอเข้าร่วมรัฐบาลเช่นเดียวกัน จนได้ร่วมคณะรัฐมนตรีชวลิตในที่สุด

ครั้งที่สามเกิดขึ้นใน คณะรัฐมนตรีชวน 2 ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2541 ภายหลังจากที่เสถียรภาพคณะรัฐมนตรีเริ่มเปลี่ยนแปลง สืบเนื่องจากการต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรีของพรรคร่วมรัฐบาล ประกอบกับกลุ่มงูเห่าทั้ง 12 คน อยู่ระหว่างการตัดสินจาก คณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยในขณะนั้นมีแนวโน้มสูงว่าทั้ง 12 คนจะพ้นจากการเป็น สส. ทำให้ สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ทาบทามให้พรรคชาติพัฒนาเข้าร่วมรัฐบาลในเวลาต่อมา

ครั้งที่สี่เกิดขึ้นใน คณะรัฐมนตรีทักษิณ 1 ซึ่งเดิมที พรรคไทยรักไทยที่ชนะเลือกตั้งนั้น จับมือร่วมรัฐบาลเพียงแค่ พรรคความหวังใหม่, พรรคชาติไทย และ พรรคเสรีธรรม รวม 4 พรรคเท่านั้น ต่อมาได้มีท่าทีเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง ทักษิณ ชินวัตร และพรรคชาติพัฒนามากขึ้น จนเป็นที่จับตามองของสื่อมวลชน จนในที่สุด พรรคชาติพัฒนาก็ได้ร่วมรัฐบาลเป็นพรรคที่ 5 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545 ในที่สุด[9]

บุคลากรพรรค

แก้

หัวหน้าพรรค

แก้
ลำดับ รูปภาพ ชื่อ เริ่มดำรงตำแหน่ง สิ้นสุดวาระ
พรรคปวงชนชาวไทย
1   ร้อยเอก สมหวัง สารสาส 20 เมษายน พ.ศ. 2525 22 ธันวาคม พ.ศ. 2528
2   พลตรี ระวี วันเพ็ญ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2528 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2531
3   พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 21 มกราคม พ.ศ. 2535
(-)   พันเอก ลาภ์พร ศิริปาลกะ
(รักษาการ)
21 มกราคม พ.ศ. 2535 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
4   พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
พรรคชาติพัฒนา
1   พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
(ถึงแก่อสัญกรรม)
(-)   พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก
(รักษาการ)
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 29 ธันวาคม พ.ศ. 2541
2   กร ทัพพะรังสี 30 ธันวาคม พ.ศ. 2541 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
3   สุวัจน์ ลิปตพัลลภ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 31 สิงหาคม พ.ศ. 2547


การเลือกตั้ง

แก้

ผลการเลือกตั้งทั่วไป

แก้
การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน สถานภาพพรรค ผู้นำเลือกตั้ง
พรรคปวงชนชาวไทย
2526
1 / 324
  1 ร่วมรัฐบาล ร้อยเอก สมหวัง สารสาส
2529
1 / 347
  0 ฝ่ายค้าน
2531
17 / 357
3,143,851 8.0%   16 ฝ่ายค้าน (2531-2533) พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก
ร่วมรัฐบาล (2533-2534)
มี.ค. 2535
1 / 360
  16 ฝ่ายค้าน พันเอก (พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์
พรรคชาติพัฒนา
ก.ย. 2535
60 / 360
7,332,388 15.88%   59 ฝ่ายค้าน (2535-2537) พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
ร่วมรัฐบาล (2537-2538)
2538
53 / 391
6,612,512 11.95%   7 ฝ่ายค้าน
2539
52 / 393
7,044,304 12.4%   1 ร่วมรัฐบาล (2539-2540)
ฝ่ายค้าน (2540-2541)
ร่วมรัฐบาล (2541-2544)
2544
29 / 500
1,752,981 6.05%   23 ฝ่ายค้าน (2544-2545) กร ทัพพะรังสี
ร่วมรัฐบาล (2545-2547[])
  1. ยุบรวมกับพรรคไทยรักไทยในปี พ.ศ. 2547

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

แก้
การเลือกตั้ง ผู้สมัคร คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง
2543 ปวีณา หงสกุล 116,750 5.27%   พ่ายแพ้
2547 วรัญชัย โชคชนะ 1,087   พ่ายแพ้

การจัดตั้งพรรคชาติพัฒนาขึ้นใหม่

แก้

ในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการยื่นขอจดทะเบียนพรรคชาติพัฒนาขึ้นมาอีกครั้ง[10] แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการต่อเนื่องได้อีก[11] ในส่วนของสมาชิกเดิมของพรรคชาติพัฒนาได้เข้าร่วมกับทางกลุ่มรวมใจไทยของกลุ่มนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์และพรรคมหาชน และกลุ่มสมานฉันท์ของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ จัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ คือ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอน 66 ก พิเศษ หน้า 1 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2525
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคปวงชนชาวไทยเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอน 89 ก พิเศษ หน้า 26 1 มิถุนายน พ.ศ. 2531
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคปวงชนชาวไทยเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอน 7 ก หน้า 9 31 มกราคม พ.ศ. 2535
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคปวงชนชาวไทยเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคและที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรค ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอน 12 ก หน้า 10 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคปวงชนชาวไทยเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค ชื่อพรรค และภาพเครื่องหมายพรรค ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอน 79 ก หน้า 13 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
  6. Ltd.Thailand, VOICE TV (2019-04-18). "นิทัศน์การเมืองไทย ฉบับ พรรคการเมือง EP.1 - ชาติพัฒนา เพื่อพัฒนาชาติ(ชาย)". VoiceTV.
  7. "ผิดตรงไหน? "ทหาร" ตั้งพรรค ดู "บิ๊กซัน" เป็นตัวอย่าง". เนชั่นทีวี. 2018-01-05.
  8. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การยุบพรรคชาติพัฒนาเพื่อรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย
  9. ชื่อ ฉายา และสมญานามทางการเมืองไทย พ.ศ. 2475-2545 เล่มที่ 3, หน้า 333 - 337. โดย วีระ เลิศสมพร ISBN 978-974-916-171-8
  10. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคชาติพัฒนา
  11. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การยุบพรรคชาติพัฒนา

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้