พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550)
พรรคชาติพัฒนา (อังกฤษ: Chart Pattana Party) หรือในชื่อเดิมว่า รวมใจไทยชาติพัฒนา[2] รวมชาติพัฒนา ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และ ชาติพัฒนากล้า เป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2550 โดยสมาชิกส่วนใหญ่เป็นสมาชิกจากพรรคการเมืองที่เคยมีอยู่แล้ว อาทิ กลุ่มของสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นต้น จัดตั้งเป็นพรรคการเมืองโดยรวมกลุ่มรวมใจไทยเข้ากับพรรคชาติพัฒนา และในปี พ.ศ. 2565 นายกรณ์ จาติกวณิช ได้นำสมาชิกส่วนหนึ่งจากพรรคกล้า เข้ามาสมัครสมาชิกพรรคชาติพัฒนา และกรณ์ก็ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า และการประชุมใหญ่ในปี พ.ศ. 2567 พรรคชาติพัฒนากล้าได้กลับมาใช้ชื่อเดิมคือ พรรคชาติพัฒนา
พรรคชาติพัฒนา | |
---|---|
ประธาน | สุวัจน์ ลิปตพัลลภ |
หัวหน้า | เทวัญ ลิปตพัลลภ |
รองหัวหน้า |
|
เลขาธิการ | ประสาท ตันประเสริฐ |
รองเลขาธิการ |
|
เหรัญญิก | อัญชลี บุสสุวัณโณ |
นายทะเบียนสมาชิก | อัครวรรณ เจริญผล |
โฆษก | เยาวภา บุรพลชัย |
รองโฆษก |
|
คำขวัญ | งานดี มีเงิน ของไม่แพง |
ก่อตั้ง | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550 |
รวมตัวกับ | พรรครวมใจไทย เปลี่ยนชื่อเป็นพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน เปลี่ยนชื่อเป็นพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคกล้า เปลี่ยนชื่อเป็นพรรคชาติพัฒนากล้า |
แยกจาก | พรรคไทยรักไทย |
ที่ทำการ |
|
สมาชิกภาพ (ปี 2566) | 15,210 คน [1] |
สี | แดง น้ำเงิน เหลือง |
สภาผู้แทนราษฎร | 3 / 500 |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ประวัติ
แก้รวมใจไทยชาติพัฒนา เป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2550 โดยสมาชิกส่วนใหญ่ อาทิ กลุ่มของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นต้น จัดตั้งเป็นพรรคการเมืองโดยรวมกลุ่มรวมใจไทยเข้ากับพรรคชาติพัฒนา มีบุคคลสำคัญทางการเมืองหลายคนเข้าร่วม เช่น ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์, ดร.พิจิตต รัตตกุล, ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์, อุทัย พิมพ์ใจชน, สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นต้น
ในการประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2550 วันที่ 15 ตุลาคม 2550 เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ที่ประชุมได้มีมติให้ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค มี นายเกษมสันต์ วีระกุล เป็นรองหัวหน้าพรรค และมีนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็นเลขาธิการพรรค[3]
ต่อมาในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ได้ยื่นใบลาออกจากการเป็นกรรมการบริหารพรรค หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สัดส่วน และสมาชิกพรรค หลังจากที่ได้เลือก พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งขัดกับมติของพรรคที่ให้เลือกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยเจ้าตัวยอมรับว่ารู้สึกไม่สบายใจ ที่มีความเห็นต่างจากพรรค แต่เห็นว่าบ้านเมืองขณะนี้แบ่งเป็น 2 ฝ่าย จึงอยากให้คนกลางเข้ามาบริหารประเทศ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นหลัก และเชื่อว่ารัฐบาลคงจะบริหารงานลำบาก แต่ก็ขอให้ ส.ส. ทำหน้าที่โดยยึดหลักของกฎหมาย[4][5] จากนั้นในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ในการประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 3/2551 ที่ประชุมมีมติเลือก นายแพทย์ วรรณรัตน์ ชาญนุกูล ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนใหม่ [6]
ในการประชุมใหญ่สามัญของพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ประจำปี 2553 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553 พรรครวมใจไทยชาติพัฒนาได้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "รวมชาติพัฒนา" พร้อมกับเปลี่ยนสัญลักษณ์พรรคใหม่ด้วยเป็นรูปรูปหัวช้างจรดปลายงวงช้าง ที่เป็นสัญลักษณ์คู่บ้านเมือง ประกอบขึ้นด้วยแถบสีธงไตรรงค์ ปลายงวงบรรจบด้วยรูปวงกลมสีทอง หมายถึงสุวรรณภูมิอันเป็นศูนย์รวมของชาติไทย[7]
ในการประชุมใหญ่ของพรรคชาติพัฒนากล้า ในปี พ.ศ. 2567 เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567 พรรคชาติพัฒนากล้าได้เปลี่ยนชื่อเป็น ชาติพัฒนา แบบเดิม และกลับมาใช้โลโก้แบบเดิม
-
สัญลักษณ์ของพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
-
สัญลักษณ์ของพรรครวมชาติพัฒนา
-
สัญลักษณ์ของพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ที่แจ้งจดทะเบียนไว้กับ กกต. ปี 2554
-
สัญลักษณ์ของพรรคชาติพัฒนาก่อนปี พ.ศ. 2561
-
สัญลักษณ์พรรคชาติพัฒนาก่อนเข้าร่วมกลุ่มของกรณ์ จาติกวณิช และหลังประชุมใหญ่พรรคชาติพัฒนากล้าปี พ.ศ. 2567 [8]
-
สัญลักษณ์พรรคชาติพัฒนากล้า[9]
การสมัครรับเลือกตั้ง
แก้การเลือกตั้ง พ.ศ. 2550
แก้ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา (ในขณะนั้น) ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 9 คน และได้ร่วมกับพรรคพลังประชาชนในการจัดตั้งรัฐบาลถึง 2 ครั้ง คือ รัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยมี วรรณรัตน์ ชาญนุกูล หัวหน้าพรรค ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรค ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ต่อมาในในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 พรรครวมชาติพัฒนา ได้ร่วมสนับสนุนให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยพรรคฯ ยังได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีในตำแหน่งเดิมอีกด้วย
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2554
แก้ในการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรครวมชาติพัฒนา ครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554 พรรครวมชาติพัฒนา และพรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ประกาศรวมตัวกันโดยใช้ชื่อพรรคใหม่ว่า "พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน"[10]โดยหลังจากมีการยุบสภาแล้ว สมาชิกของพรรคเพื่อแผ่นดิน ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรครวมชาติพัฒนา และดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อพรรคต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง โดยหลังจากนั้นอีก 3 วันคือในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554 นายประดิษฐ์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคทำให้พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค ต่อมาอีก 1 อาทิตย์คือในวันที่ 19 เมษายนนาย เกษมสันต์ วีระกุล ได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคทำให้พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[11]หลังจากนั้นได้มีการลาออกของกรรมการบริหารพรรคจำนวนมากทำให้เหลือกรรมการบริหารพรรคเพียง 2 คนจึงต้องพ้นจากตำแหน่ง[12]
ต่อมาในการประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 2/2554 เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554 ได้มีการเปลี่ยนชื่อพรรคอีกครั้งเป็น พรรคชาติพัฒนา พร้อมกับการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นายแพทย์วรรณรัตน์ ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคที่ประชุมมีมติเลือก ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคนใหม่และย้ายที่ทำการพรรคมายังที่ทำการพรรคแห่งใหม่ที่ 357 ถนนสุโขทัย แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต [13]
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2557
แก้พรรคชาติพัฒนา ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 โดยมีพลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 เป็นผู้สมัครบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ได้หมายเลขประจำพรรคคือ หมายเลข 1 แต่การเลือกตั้งในครั้งนี้ได้ถูกประกาศให้เป็นโมฆะ
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2562
แก้ในการประชุมใหญ่สามัญพรรคชาติพัฒนาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนแปลงข้อบังพรรคฉบับใหม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พรรค[14] จากนั้นในการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรค ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่แทนชุดเก่าจำนวน 27 คนซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนาย เทวัญ ลิปตพัลลภ และนาย ดล เหตระกูล ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่[15]
ใน การเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 พรรคชาติพัฒนาได้ที่นั่งในสภาทั้งสิ้น 3 ที่นั่งแบ่งเป็นบัญชีรายชื่อ 2 คนคือ นายเทวัญซึ่งได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ นายดล และแบบแบ่งเขต 1 คนคือนาย วัชรพล โตมรศักดิ์ ต่อมาทางพรรคได้ ส.ส. เพิ่มอีก 1 คนคือ นาย สมัคร ป้องวงศ์ ส.ส. สมุทรสาคร ซึ่งย้ายมาจาก พรรคอนาคตใหม่
ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 นายเทวัญได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคในเวลาต่อมา จากนั้นทางพรรคได้จัดการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่แทนชุดเก่าที่พ้นจากตำแหน่งจำนวน 29 คนเมื่อวันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายเทวัญให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อไปส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคได้มีการเลือกนาย วัชรพล โตมรศักดิ์ ให้ดำรงตำแหน่งแทนนายดลที่ขยับขึ้นไปดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคพร้อมกับแก้ไขข้อบังคับพรรคโดยได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ทำการพรรคจากที่เดิมไปอยู่ที่ 2222/2 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา[16][17]
ในการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปีครั้งที่ 1/2565 ของพรรคชาติพัฒนาเมื่อวันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2565 ที่ประชุมมีฉันทามติให้ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรคให้ดำรงตำแหน่งประธานพรรค ขณะเดียวกัน พลเอกฐิติวัจน์ กำลังเอก ก็ได้ขอลาออกจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคและสมาชิกพรรคเนื่องจากปัญหาสุขภาพ[18][19]
ต่อมาในการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปีครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565 ที่จังหวัดนครราชสีมา ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และชื่อพรรคเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า[20] พร้อมกันนี้ยังได้มีมติเลือกนาย กรณ์ จาติกวณิช อดีตหัวหน้าพรรคกล้าให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค[21] กระทั่งเมื่อวันที่ 16 ตุลาคมของปีเดียวกัน ได้มีมติเลือก กรณ์ จาติกวณิช เป็นหัวหน้าพรรค และเทวัญ ลิปตพัลลภ เป็นเลขาธิการพรรค[22] ปัจจุบันทางพรรคได้ใช้อาคารเลขที่ 86/12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร ซึ่งเป็นที่ทำการพรรคกล้ามาใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อ
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2566
แก้พรรคชาติพัฒนากล้าได้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสองรายได้แก่ ประสาท ตันประเสริฐและ นายแพทย์ วรรณรัตน์ ชาญนุกูล
ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 กรณ์ จาติกวณิช ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้าทางเฟสบุ๊คของเขา[23][24] โดยทางพรรคชาติพัฒนากล้ามีกำหนดจัดประชุมใหญ่ในวันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม 2566 เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่[25] จากนั้นในวันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม 2566 พรรคชาติพัฒนากล้าได้จัดการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 2/2566 ที่โรงแรมเซ็นทาราโคราช เพื่อรายงานผลการเลือกตั้งทั่วไป รวมถึงเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายเทวัญ ลิปตพัลลภ รักษาการเลขาธิการพรรค, อดีตหัวหน้าพรรคและอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคเป็นของนายประสาท ตันประเสริฐ ส.ส. นครสวรรค์ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นประธานพรรค ส่วนนายกรณ์อดีตหัวหน้าพรรคยังคงเป็นสมาชิกพรรค[26] จากนั้นในวันที่ 11 ตุลาคม 2566 นายอรรถวิชช์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคโดยให้เหตุผลว่าเพื่อแก้ไขปัญหาเครดิตบูโรและผลักดันร่างกฎหมายเครดิตบูโรฉบับประชาชน[27] แต่ยังคงเป็นสมาชิกพรรค
ต่อมาเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 วุฒิพงศ์ ทองเหลา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งถูกขับออกจากพรรคก้าวไกลกรณีคุกคามทางเพศ ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติพัฒนากล้า[28] และในวันเดียวกัน นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตหัวหน้าพรรค ได้ลาออกจากสมาชิกพรรคชาติพัฒนากล้า[29]
ในวันที่ 25 เมษายน 2567 พรรคชาติพัฒนากล้าได้จัดประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2567 เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคในตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคที่ว่างลง 2 ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นายวุฒิพงศ์ ทองเหลา ส.ส. ปราจีนบุรี และนายอรัญ พันธุมจินดา อดีตรองเลขาธิการพรรค เป็นรองหัวหน้าพรรค พร้อมกับการแก้ไขข้อบังคับพรรคเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคกลับมาเป็น พรรคชาติพัฒนา รวมถึงเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พรรค[30]
ผู้บริหาร
แก้หัวหน้าพรรค
แก้ลำดับ | รูปภาพ | ชื่อ | เริ่มดำรงตำแหน่ง | สิ้นสุดวาระ |
1 | อานุภาพ นันทพันธุ์ | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550 | 14 ตุลาคม พ.ศ. 2550 | |
2 | เชษฐา ฐานะจาโร | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550 | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | |
3 | วรรณรัตน์ ชาญนุกูล | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 | |
4 (ครั้งที่ 1) |
เทวัญ ลิปตพัลลภ | 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | |
5 | กรณ์ จาติกวณิช | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2566 | |
- | วัชรพล โตมรศักดิ์ (รักษาการ) | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2566 | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566 | |
4 (ครั้งที่ 2) |
เทวัญ ลิปตพัลลภ | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566 | ปัจจุบัน |
เลขาธิการพรรค
แก้ลำดับ | รูป | ชื่อ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | วรรณรัตน์ ชาญนุกูล | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550 | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550 | |
2 | ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550 | 12 เมษายน พ.ศ. 2554 | |
3 | ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ | 18 กันยายน พ.ศ. 2554 | 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | |
4 | ประเสริฐ บุญชัยสุข | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 | 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 | |
5 | ดล เหตระกูล | 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2563 | |
6 | วัชรพล โตมรศักดิ์ | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2563 | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | |
7 | เทวัญ ลิปตพัลลภ | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566 | |
8 | ประสาท ตันประเสริฐ | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566 | ปัจจุบัน |
การเลือกตั้ง
แก้ผลการเลือกตั้งทั่วไป
แก้การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | ผลการเลือกตั้ง | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2550 | 9 / 500
|
4,135,658 | 1.88% | 9 | ร่วมรัฐบาล | พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร |
2554 | 7 / 500
|
495,762 | 1.52% | 2 | ร่วมรัฐบาล | วรรณรัตน์ ชาญนุกูล |
2557 | การเลือกตั้งเป็นโมฆะ | สุวัจน์ ลิปตพัลลภ | ||||
2562 | 3 / 500
|
244,770 | 0.69% | 4 | ร่วมรัฐบาล | |
2566 | 2 / 500
|
212,676 | 0.54% | 1 | ร่วมรัฐบาล | กรณ์ จาติกวณิช |
อ้างอิง
แก้- ↑ ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 8 มีนาคม 2566
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
- ↑ เชษฐาไขก๊อกหน.รช.รับผิดแหกมติโหวตประชา[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค และข้อบังคับพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงชื่อ ชื่อย่อ ภาพเครื่องหมาย นโยบาย และข้อบังคับพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคชาติพัฒนา
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคชาติพัฒนากล้า
- ↑ "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงชื่อ ชื่อย่อ นโยบาย และข้อบังคับพรรครวมชาติพัฒนา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-14. สืบค้นเมื่อ 2020-08-17.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
- ↑ "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงชื่อ ภาพเครื่องหมาย ที่ตั้ง นโยบาย ข้อบังคับ และคณะกรรมการบริหารพรรคของพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-11-12. สืบค้นเมื่อ 2012-02-07.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคชาติพัฒนา
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชาติพัฒนา
- ↑ “สุวัจน์” ชู “เทวัญ” นั่งหัวหน้า “ชพน.” อีกรอบ “ส.ส.โต” เป็นเลขาฯ ย้ายที่ทำการพรรคมาโคราช
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การแก้ไขข้อบังคับพรรค และเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชาติพัฒนา
- ↑ ชาติไทยพัฒนา ประชุมใหญ่ชง "สุวัจน์" ประธานพรรค เตรียมคัดแคนดิเดต "นายกฯ"
- ↑ "สุวัจน์" เผย "ฐิติวัจน์" ลาออกจากพรรคชาติพัฒนา เหตุปัญหาสุขภาพ
- ↑ ชัด! "กรณ์-สุวัจน์" ผนึกกำลัง ผุด “ชาติพัฒนากล้า” สู้ศึกเลือกตั้งใหญ่
- ↑ 'สุวัจน์' มั่นใจรีแบรนด์ 'ชาติพัฒนากล้า' เพิ่มความเข้มแข็ง ยังไม่เปลี่ยนหัวหน้าพรรค
- ↑ “กรณ์” ผงาดนั่งหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า “เทวัญ” นั่งเลขาธิการพรรค
- ↑ https://www.facebook.com/100044357112719/posts/pfbid02bWZJ1rx2weLbYqfRnnqAjo9xg4LuLirxeGY2o6HesVmVHK3MtWLPi4MuDeaoTGWDl/?mibextid=cr9u03
- ↑ “กรณ์ จาติกวณิช” ลาออกจากหัวหน้าพรรค "ชาติพัฒนากล้า" เผยยื่นจดหมายลาออก กับ “สุวัจน์” แล้ว ขอบคุณทุกคนที่สนับสนุนแนวคิด ขอเป็นกำลังใจเพื่อนนักการเมืองทุกพรรค แก้ปัญหาบ้านเมือง
- ↑ 'ชาติพัฒนากล้า' จัดประชุมใหญ่เลือกหัวหน้า-เปลี่ยนชื่อพรรค 'สุวัจน์' แบะท่าหวนคืน
- ↑ เทวัญ คัมแบ๊ก หัวหน้าพรรค ‘ชาติพัฒนากล้า’ อรรถวิชช์ นั่งรองหน. กำนันอู๊ด รั้งเลขาฯ
- ↑ “อรรถวิชช์” ลาออกรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ผลักดันกม.เครดิตบูโรฉบับปชช.
- ↑ "ทันเดดไลน์ สส.แจ้ วุฒิพงศ์ สมัครเข้า ชาติพัฒนากล้า แล้ว รอเปิดตัวหลังกลับตปท". ข่าวสด. 29 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "กรณ์ จาติกวณิช ไขก๊อกสมาชิก พรรคชาติพัฒนากล้า". มติชน. 29 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สุวัจน์'คืนชีพใช้ชื่อเดิม'ชาติพัฒนา' ตัดคำว่า'กล้า'ออกแล้ว ฮือฮาตั้ง'สส.แจ้'นั่งรองหน.พรรค". แนวหน้า. 25 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2024.