ปวีณา หงสกุล (เกิด 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2492) ชื่อเล่น ปิ๊ก อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[1] นักการเมืองสตรีชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครหลายสมัย เป็นที่รู้จักในบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์และผู้ดำเนินงานในนามมูลนิธิปวีณา

ปวีณา หงสกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
(0 ปี 326 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าสันติ พร้อมพัฒน์
ถัดไปอดุลย์ แสงสิงแก้ว
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – 6 มิถุนายน พ.ศ. 2543
(0 ปี 332 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์
ถัดไปอดิศัย โพธารามิก
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน
และสวัสดิการสังคม
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
(0 ปี 277 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าประกอบ สังข์โต
ถัดไปวุฒิ สุโกศล
เลขาธิการพรรคชาติพัฒนา
ดำรงตำแหน่ง
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2547
(1 ปี 205 วัน)
ก่อนหน้าสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
ถัดไปประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 (75 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชากรไทย (2531–2539)
ชาติพัฒนา (2539–2547)
ไทยรักไทย (2547–2549)
ชาติไทย (2549–2551)
เพื่อไทย (2555–ปัจจุบัน)

การศึกษา

แก้

ประวัติการทำงาน

แก้

เริ่มต้นการทำงานที่สถานทูตสหรัฐอเมริกา ต่อมาเข้าทำงานที่ ลุค อีสต์ แม็กกาซีน และเข้าทำงานที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นเวลา10 ปี จนได้เป็นผู้จัดการธนาคาร สาขาลาดพร้าว แล้วลาออกมาเป็น ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการโรงแรมโซฟิเทล หัวหิน ก่อนจะเข้าสู่วงการเมืองในสังกัดพรรคประชากรไทย ของนายสมัคร สุนทรเวช และต่อมาย้ายไปอยู่พรรคชาติพัฒนา

  • อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร 6 สมัย
  • ประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์การสาธารณประโยชน์)
  • ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
  • เลขาธิการพรรคชาติพัฒนา
  • รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (กำกับดูแลการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)
  • ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
  • รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2542 สภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานคณะกรรมการเร่งรัดและประสานการปฏิบัติงานเยาวชน สตรี ภาครัฐและเอกชนสำนักนายกรัฐมนตรี
  • รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
  • ประธานชมรมรัฐสภาสตรีไทยคนแรก (ประธานชมรม ส.ส.หญิง-วุฒิสภาหญิง)
  • ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดใหญ่ โรงแรม โซฟิเทล หัวหิน
  • ผู้จัดการธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาลาดพร้าว

การดำรงตำแหน่งทางการเมือง

แก้
  • ส.ส. กรุงเทพฯ เขต 13 พรรคประชากรไทย เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2531
  • ลงสมัคร ส.ส. กทม. เขต 12 พรรคประชากรไทย เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 แต่ไม่ได้รับเลือก
  • ส.ส. กรุงเทพฯ เขต12 พรรคประชากรไทย เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535
  • ส.ส. กรุงเทพฯ เขต 12 พรรคประชากรไทย เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2538
  • รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (นายสมัคร สุนทรเวช) 1 สิงหาคม 2538
  • โฆษกพรรคประชากรไทย และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง 9 กรกฎาคม 2539
  • ส.ส. กรุงเทพฯ เขต 12 พรรคชาติพัฒนา เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 (ลาออกเมื่อ 6 มิ.ย.2543)
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม 5 ตุลาคม 2541 (พ้นตำแหน่ง 9 ก.ค.2542)
  • รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 9 กรกฎาคม2542 (ลาออกเมื่อ 6 มิ.ย. 2543)
  • รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา 5 เมษายน 2543
  • ลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2543 แต่ไม่ได้รับเลือก
  • เลขาธิการพรรคชาติพัฒนา 15 มีนาคม 2546
  • ส.ส.บัญชีปาร์ตี้ลิสต์ พรรคชาติพัฒนา 6 มกราคม 2544[2]
  • ลาออกจากพรรคชาติพัฒนาเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2547
  • ลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2547 ในนามผู้สมัครอิสระ แต่ไม่ได้รับเลือก
  • ส.ส.กรุงเทพฯ เขต 15 พรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548
  • ส.ส.กรุงเทพฯ เขต 15 พรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 (โมฆะ)
  • กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 24 เมษายน 2548
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นของมนุษย์ 30 มิถุนายน 2556

หมายเหตุ : ในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง นางปวีณา หงสกุล ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ทั้งสิ้น 6 สมัย

ชีวิตส่วนตัวและเส้นทางทางการเมือง

แก้

นางปวีณาเกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน บิดา คือ น.อ. (พิเศษ) เพิ่ม หงสกุล และมารดา คือ นางเกยูร หงสกุล

นางปวีณามีชื่อเล่นว่า "ปิ๊ก" เป็นน้องสาวของ อาภัสรา หงสกุล ผู้เป็น นางงามจักรวาลชาวไทยคนแรก มีบุตรชายคือ นายษุภมน หุตะสิงห์ ลงเล่นการเมืองระดับท้องถิ่นได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตสายไหม เขต 1 เมื่อปี พ.ศ. 2548 นอกจากนี้มีน้องชายคือ นายฉมาดล หงสกุล ที่เป็น ส.ก. เขตสายไหม เขต 2 และ นายเอกภาพ หงสกุล เป็นประธานสภาเขตสายไหม อีกด้วย

นางปวีณา หงสกุล ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ทั้งสิ้น 6 สมัย (2531-2549) และดำรงตำแหน่งที่สำคัญทางการเมือง อาทิ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (กำกับดูแลการท่องเที่ยว) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการพรรคหญิงคนแรกของพรรคชาติพัฒนา นางปวีณาเคยลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 ครั้ง โดยครั้งแรกในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ในสังกัดพรรคชาติพัฒนา ได้เบอร์ 5 และครั้งที่ 2 คือ ในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 โดยไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ได้เบอร์ 7 อันเป็นเบอร์เก่าของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าฯ คนก่อน ในการหาเสียงคราวนี้นางปวีณาใช้สีชมพูเป็นสีประจำตัว ซึ่งมีความหมายถึงความอ่อนหวานของผู้หญิง แต่ นางปวีณาต้องพบกับคู่แข่งคนสำคัญจากพรรคประชาธิปัตย์คือ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ก่อนการลงคะแนน ความนิยมของทั้งคู่คี่สูสีกันมาก จนกระทั่งผลการเลือกตั้งออกมา ปรากฏว่า นางปวีณาได้คะแนนเสียงเป็นอันดับที่ 2 มีคะแนนเสียงมากถึง 6 แสนกว่าคะแนน

หลังจากนี้ นางปวีณาได้เข้าสังกัดกับทางพรรคไทยรักไทย อันเนื่องจากพรรคชาติพัฒนาได้ยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 นางปวีณาได้ลงเลือกตั้งในเขตสายไหมและได้รับการเลือกตั้งไปด้วยคะแนนที่ทิ้งห่างคู่แข่งขันอย่างมาก เนื่องจากมีฐานเสียงอยู่บริเวณนี้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[3] ภายหลังจึงได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคชาติไทย

ในกลางปี พ.ศ. 2552 ได้ออกมาเปิดเผยกับสังคมว่าป่วยเป็นมะเร็งทรวงอกมานานกว่า 5 ปี โดยที่ไม่มีใครทราบนอกจากคนในครอบครัว โดยได้ต่อสู้กับโรคนี้มาโดยตลอด จนเกือบหายเป็นปกติในปัจจุบัน

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

การทำงานสาธารณประโยชน์

แก้

นางปวีณามีภาพลักษณ์ที่ทุกคนรู้จักดี คือ เป็นผู้ที่ทำงานด้านสังคมสงเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาผู้หญิงและเยาวชน โดยมีมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์การสาธารณประโยชน์) เป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือ ซึ่งมักจะมีผลงานปรากฏตามสื่อมวลชนเป็นระยะ ๆ ซึ่งบทบาทในด้านนี้ของนางปวีณาโดดเด่นมาก จนได้รับการขนานนามว่า "แม่พระ"

มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์การสาธารณประโยชน์) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 27 เมษายน พ.ศ. 2542 มีนางปวีณา ดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์การสาธารณประโยชน์) โดยมูลนิธิฯ มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ความช่วยเหลือกับเด็กและสตรีที่ถูกละเมิดสิทธิ ถูกทารุณกรรม ถูกเอารักเอาเปรียบ ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้รับความเป็นธรรมและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้เป็นปกติสุขอย่างถาวรสืบไป เป็นการช่วยเหลือรัฐบาลในฐานะพลเมืองดีอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้มูลนิธิฯ ยังได้เปิดสายด่วน "1134" และ "ตู้ ปณ.222 ธัญบุรี" เพื่อรับเรื่องร้องทุกข์อีกด้วย

นางปวีณา ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการก่อตั้งมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์การสาธารณประโยชน์) ว่า "จุดมุ่งหมายของมุลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ที่ตั้งขึ้นมานั้น เราจะทำในกรณีที่ได้รับการร้องขอ ร้องเรียนให้เข้าไปช่วย โดยถ้าเป็นในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปช่วยเหลือแล้วนั้นเราจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยเราจะทำอย่างเดียวคือต้องเข้ามาร้องขอให้เราเข้าไปช่วย ไม่ว่าจะเป็นกรณีเด็กถูกข่มขืน โดยทารุณกรรม ถูกละเมิดสิทธิ ใช้แรงงานเด็กผิดกฎหมาย กรณีต่าง ๆ เหล่านี้ เมื่อเราได้รับการร้องทุกข์แล้วขั้นตอนต่อไปก็คือการเชิญเจ้าทุกข์เข้ามาที่มูลนิธิเพื่อให้ข้อมูล ถ้าเห็นว่ามีน้ำหนัก จากนั้นก็จะมีชุดเฉพาะกิจของเราเข้าไปสืบก่อนล่วงหน้าว่าเป็นจริงที่ตามได้รับหารร้องเรียนมาหรือไม่ ถ้าข้อร้องเรียนมีมูลเราก็จะประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งเจ้าทุกข์ได้ไปแจ้งความไว้แล้วเพื่อดำเนินการต่อไปเป็นการช่วยเหลือทางราชการอีกทางหนึ่ง และเมื่อเราได้ช่วยเหลือเด็กแล้ว ก็จะต้องดูต่อไปว่า เด็กสามารถที่จะอยู่กับครอบครัวได้หรือไม่ ถ้ากรณีเด็กต้องการฟื้นฟูสภาพจิต หรือฝึกอาชีพ เราก็จะประสานงานกับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมต่อไป แต่สำหรับกระบวนการยุติธรรมต่าง ๆ มูลนิธิฯ จะดูแลต่อไปจนสิ้นคดีนั้น"

การดำรงตำแหน่งอื่น ๆ

แก้
  • อนุกรรมการแก้ไขปัญหาโสเภณีเด็กของกรรมาธิการเยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ สภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานคณะอนุกรรมการเยาวชน สภาผู้แทนราษฎร
  • โฆษกกรรมาธิการเยาวชน สตรีและผู้สูงอายุ สภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานกรรมาธิการ การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ)
  • ประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์การสาธารณประโยชน์)
  • อาจารย์พิเศษ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

รางวัลและเกียรติยศที่ได้รับ

แก้
  • "นักการเมืองหญิงที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด" จาก สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นในหัวข้อ "ที่สุดแห่งปี" ประจำปี 2553 โดยได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพ นางปวีณา หงสกุลได้รับการโหวดให้เป็น นักการเมืองหญิงที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด อันดับ 1 ด้วยผลคะแนน 70.13%
  • "นักการเมืองหญิงที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด" จาก สวนดุสิตโพล ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นใหัวข้อ "ที่สุดแห่งปี" ประจำปี 2550 โดยได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพ นางปวีณา หงสกุลได้รับการโหวดให้เป็น นักการเมืองหญิงที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด อันดับ 1 ด้วยผลคะแนน 66.25%
  • รางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา เนื่องในโอกาสวันสตรีสากลแห่งสหประชาชาติ ปี 2550
  • "นักการเมืองหญิงที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด" จาก สวนดุสิตโพล ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นในหัวข้อ "ที่สุดแห่งปี" ประจำปี 2549 โดยได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพ นางปวีณา หงสกุลได้รับการโหวดให้เป็น นักการเมืองหญิงที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด อันดับ 1
  • "สุดยอดคนดี 2549" จากศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง รามคำแหงโพล ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นในหัวข้อ "นักการเมืองหญิงที่เป็นคนดีมีคุณธรรม" และได้ระบุให้ นางปวีณา หงสกุล ได้คะแนนมากที่สุด
  • "นักการเมืองที่เด็กชื่นชอบมากที่สุด" จากศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1390 คน
  • ได้รับเข็มพระนามาภิไธยย่อ “ส.ธ.” พ.ศ. 2547 จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • คณะกรรมการจัดงาน สตรีดีเด่นแห่งปี ได้มอบรางวัล “สตรีดีเด่นตัวอย่างแห่งปี ประจำปี 2545” สาขาเพื่อสิทธิเด็กและสตรีให้ “นางปวีณา หงสกุล”
  • 1 พฤษภาคม 2544 ดุสิตโพล ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงาน นักการเมืองหญิงที่ผู้ใช้แรงงานเห็นว่าเป็นที่พึ่งได้ อันดับ 1 คือ ส.ส. ปวีณา หงสกุล
  • ผลการสำรวจความคิดเห็น ระหว่างวันที่ 1-30 ธันวาคม พ.ศ. 2544 จากสวนดุสิตโพล สถาบันราชภัฎสวนดุสิต ประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 24,891 คน นักการเมืองหญิง ที่ประชาชนชอบมากที่สุด อันดับ 1 คือ ส.ส. ปวีณา หงสกุล
  • ได้รับเครื่องหมายเกียรติยศ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2543
  • ได้รับประกาศเกียรติคุณให้มีสิทธิประดับเข็มเครื่องหมายพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. จากกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน พ.ศ. 2543
  • ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกนักโดดร่มกองทัพบก พ.ศ. 2543
  • ผลการสำรวจความเห็นสาธารณะจากธรรมศาสตร์โพล เมื่อ ธันวาคม 2542 ได้รับเลือกเป็น “นักการเมืองเลือดใหม่ยอดนิยมอันดับ 1”
  • ได้รับรางวัล “ยอดหญิง” ปี 2542 จากสมาคมส่งเสริมสถานสภาพสตรี ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ
  • ได้รับเกียรติเป็นนักบินกิตติมศักดิ์ของกองทัพอากาศ พ.ศ. 2542
  • ผลการสำรวจความเห็นประชาชนทั่วประเทศจากกสวนดุสิตโพล วันที่ 30 ธันวาคม 2541 เรื่อง “ที่สุดแห่งปี 2541” ข้อ 9 นักการเมืองยอดนิยมอันดับ 1 ฝ่ายหญิง ได้แก่ นางปวีณา หงสกุล
  • ผลการสำรวจความเห็นประชาชนจากสวนดุสิตโพล ตุลาคม 2541 หัวข้อ “นักการเมืองที่ซื่อสัตย์ 5 อันดับแรก” ผู้ที่ติด 1 ใน 5 อันดับแรก คือ นางปวีณา หงสกุล
  • ได้รับเกียรติจากสื่อมวลชนรัฐสภา เลือกให้เป็น “ดาวเด่นในสภาปี 2541”
  • ได้รับการยกย่องเป็นสตรีดีเด่นประจำปี 2541 จากสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในฐานะที่เป็นผู้ช่วยเหลือพิทักษ์สิทธิเด็กและสตรีตลอดมา
  • ได้รับรางวัลนักเหินเวหากิตติมศักดิ์ของกองทัพอากาศ พ.ศ. 2536
  • ได้รับโล่และเข็มเชิดชูเกียรติ เพื่อแสดงว่าเป็นผู้สนับสนุนกิจการของกองทัพอากาศมาด้วยดี
  • ได้รับประกาศนียบัตรแสดงความสามารถในการบินกิตติมศักดิ์ของกรมตำรวจ พ.ศ. 2532

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
  2. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  3. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๕, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า ปวีณา หงสกุล ถัดไป
สันติ พร้อมพัฒน์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์
(ครม. 60)

(30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
  พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงห์แก้ว
พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์    
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม. 53)
(9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – 6 มิถุนายน พ.ศ. 2543)
  อดิศัย โพธารามิก