สถาบันพระปกเกล้า

สถาบันการศึกษาในประเทศไทย

สถาบันพระปกเกล้า (อังกฤษ: King Prajadhipok's Institute) เป็นนิติบุคคลอยู่ในกำกับดูแลของประธานรัฐสภา โดยมีสภาสถาบันพระปกเกล้าเป็นองค์กรบริหารสูงสุด ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับงานด้านวิชาการ ซึ่งจะครอบคลุมถึงเรื่องของการวิจัย การจัดการศึกษา อบรม และเผยแพร่ให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการพัฒนาประชาธิปไตย และการเมืองการปกครอง รวมทั้งให้บริการคำแนะนำปรึกษาด้านการบริหารปกครองบ้านเมืองที่ดี ทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังรับผิดชอบงานเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน

สถาบันพระปกเกล้า
ภาพรวมหน่วยงาน
สำนักงานใหญ่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ฝั่งทิศใต้

เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
งบประมาณต่อปี405.6307 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
เอกสารหลัก
  • พระราชบัญญัติสถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. 2541[2]
  • พระราชบัญญัติสถาบันพระปกเกล้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543[3]
เว็บไซต์สถาบันพระปกเกล้า

ประวัติ

แก้

ในวโรกาสครบรอบ 100 ปี วันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญ แก่ปวงชนชาวไทยได้เวียนมาบรรจบเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ศาสตรจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภาในขณะนั้น จึงได้มีคำสั่งรัฐสภาที่ 12/2536 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2536 แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสถาบันพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมี นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น เป็นประธานกรรมการพิจารณากำหนดรูปแบบและพิจารณาความเป็นไปได้ในการให้สถาบันนี้สามารถดำเนินกิจการได้ในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2537 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อจัดทำโครงร่างงบประมาณแผนงานการจัดตั้ง และกำหนดชื่อสถาบัน และได้เดินทางไปดูกิจการศึกษาเผยแพร่ประชาธิปไตยที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พร้อมทั้งได้จัดทำรายงานผลการศึกษาโครงการจัดตั้งสถาบันพระปกเกล้าเสนอ ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 และในวันเดียวกันได้มีคำสั่งรัฐสภาที่ 5/2537 ตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดตั้งสถาบันพัฒนาประชาธิปไตยขึ้นในรัฐสภา และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้เชิญพระนามของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มาเป็นชื่อของสถาบัน และให้ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "King Prajadhipok's Institute" ต่อมา ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ได้มีประกาศรัฐสภาเรื่องแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 5) เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2538 ให้จัดตั้งสถาบันพระปกเกล้าขึ้นเป็นส่วนราชการระดับกอง สังกัดสำนัก งานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดฝึกอบรม สัมมนา การจัดประชุมวิชาการเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และการปฏิบัติงานของฝ่ายนิติบัญญัติ การจัดทำเอกสารและสื่อการสอน ตลอดจนเทคโนโลยีด้านการฝึกอบรม งานเตรียมการปรับปรุงสถาบันพระปกเกล้า เป็นหน่วยงานระดับกรมและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย การดำเนินการของสถาบันให้อาศัยระเบียบการบริหารการศึกษาของสถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. 2538 เป็นหลัก โดยมีคณะกรรมการ 2 คณะ คือ คณะกรรมการสถาบันพระปกเกล้า และคณะกรรมการวิชาการสถาบันพระปกเกล้า เป็นผู้ดูแล

ในการดำเนินงานเพื่อยกฐานะสถาบันพระปกเกล้าจากหน่วยงานระดับกอง สังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้มีคำสั่งที่ 1/2538 เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อยกฐานะสถาบันพระปกเกล้าเป็นกรม ลงวันที่ 23 มีนาคม 2538 โดยมี นายชุมพล ศิลปอาชา เป็นประธานคณะอนุกรรมการ

และในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 20 ปีที่ ครั้งที่ 6/2541 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เมื่อวันพุธที่ 15 กรกฎาคม 2541 ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. ... ตามที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมาย ซึ่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 155 ตอนที่ 57 ลงวันที่ 4 กันยายน 2541 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2541 เป็นต้นไป โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาเป็นประธานสภาสถาบันพระปกเกล้า คนแรกและมี ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าคนแรก (2 มกราคม 2542 - 4 มกราคม 2546) รองศาสตราจารย์ นรนิติ เศรษฐบุตร เข้ารับตำแหน่ง เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าคนที่สอง ( 5 กุมภาพันธ์ 2546 - 15 พฤศจิกายน 2549 ) และศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าอีก 2 วาระ (22 ธันวาคม 2549 - 21 ธันวาคม 2553 และ 22 ธันวาคม 2553 - 21 ธันวาคม 2557) เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าคนที่สามได้แก่ ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย [4]22 ธันวาคม 2557 - 21 ธันวาคม 2561 และ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2561 - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2565)

ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2565 สภาสถาบันพระปกเกล้ามีมติให้นาย วิทวัส ชัยภาคภูมิ เป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าคนที่สี่

วัตถุประสงค์

แก้
  • ศึกษาและวิเคราะห์ทางวิชาการต่างๆ เพื่อเป็นแนวทาง ในการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างเป็นระบบ
  • ประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ด้านนโยบายเพื่อการพัฒนา ประชาธิปไตย
  • วิจัยและสนับสนุนการวิจัยเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย
  • เผยแพร่และสนับสนุนการเผยแพร่ประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
  • จัดและสนับสนุนการศึกษาอบรมบุคลากรจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง และการเศรษฐกิจและสังคมในระบอบประชาธิปไตย
  • บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความรู้และผลงานวิจัย และวิชาการทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
  • ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์การในประเทศและต่างประเทศ ในกิจการเกี่ยวกับการพัฒนาประชาธิปไตย
  • ส่งเสริมงานวิชาการของรัฐสภา
  • บริหารกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
  • กระทำการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของสถาบัน หรือตามที่สภาสถาบันกำหนด

รายชื่อประธานสภาสถาบันพระปกเกล้า

แก้
ลำดับ
(สมัย)
รูป รายชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ สังกัด หมายเหตุ
1
(1)
  วันมูหะมัดนอร์ มะทา 24 พฤศจิกายน 2539 27 มิถุนายน 2543 พรรคความหวังใหม่
2   พิชัย รัตตกุล 30 มิถุนายน 2543 [5] 9 พฤศจิกายน 2543 พรรคประชาธิปัตย์
3   อุทัย พิมพ์ใจชน 6 กุมภาพันธ์ 2544[6] 5 มกราคม 2548 พรรคไทยรักไทย
4   โภคิน พลกุล 8 มีนาคม 2548[7] 24 กุมภาพันธ์ 2549[8] พรรคไทยรักไทย
5   มีชัย ฤชุพันธุ์ 25 ตุลาคม 2549 24 มกราคม 2551 อิสระ
6   ยงยุทธ ติยะไพรัช 24 มกราคม 2551[9] 30 เมษายน 2551 พรรคพลังประชาชน [a]
7   ชัย ชิดชอบ 15 พฤษภาคม 2551[10] 10 พฤษภาคม 2554[11] พรรคภูมิใจไทย [b]
8   สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ 2 สิงหาคม 2554[12] 9 ธันวาคม 2556 พรรคเพื่อไทย
9
 
พรเพชร วิชิตชลชัย 17 สิงหาคม 2557 21 พฤษภาคม 2562 อิสระ
10
  ชวน หลีกภัย 28 พฤษภาคม 2562[13] 20 มีนาคม 2566 พรรคประชาธิปัตย์
1
(2)
  วันมูหะมัดนอร์ มะทา 5 กรกฎาคม 2566[14] ปัจจุบัน พรรคประชาชาติ
  1. ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2551 หลังจากหยุดการปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 เมื่อศาลฎีการับคำฟ้องจาก กกต. กรณีทุจริตเลือกตั้ง 23 ธ.ค. 50
  2. ก่อนหน้านั้นสังกัดพรรคพลังประชาชน ในระหว่างการเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรช่วงระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม - 2 ธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลหลังจากการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550 แต่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคจึงต้องย้ายพรรคสังกัด โดยนายชัย ชิดชอบ ในนามกลุ่มเพื่อนเนวินจึงย้ายเข้าสังกัดพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

รายชื่อเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า

แก้
ลำดับ
(สมัย)
รูป รายชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1
(1)
  บวรศักดิ์ อุวรรณโณ 5 มกราคม 2542 4 มกราคม 2546
2   นรนิติ เศรษฐบุตร 5 กุมภาพันธ์ 2546 15 พฤศจิกายน 2549
1
(2)
  บวรศักดิ์ อุวรรณโณ 22 ธันวาคม 2549 21 ธันวาคม 2553
1
(3)
22 ธันวาคม 2553 21 ธันวาคม 2557
3   วุฒิสาร ตันไชย 22 ธันวาคม 2557 21 ธันวาคม 2565
4   วิทวัส ชัยภาคภูมิ 22 ธันวาคม 2565 ปัจจุบัน


อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติสถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. 2541 เล่ม 115 ตอนที่ 47ก วันที่ 4 กันยายน 2541
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติสถาบันพระปกเกล้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 เก็บถาวร 2021-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 117 ตอนที่ 111ก วันที่ 29 พฤศจิกายน 2543
  4. สถาบันพระปกเกล้า, ประวัติสถาบันพระปกเกล้า เก็บถาวร 2015-09-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เล่ม ๑๑๘, ตอนพิเศษ ๙ ง, ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๑๒๒, ตอนพิเศษ ๑๙ ง, ๘ มีนาคม ๒๕๔๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๙ เล่ม ๑๒๓, ตอนที่ ๒๐ ก, ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เล่ม ๑๒๕, ตอนพิเศษ ๒๒ ง, ๓๑ มกราคม ๒๕๕๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ แต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎร เล่ม ๑๒๕, ตอนพิเศษ ๘๒ ง, ๑๖​ พฤษภาคม ๒๕๕๑
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๔ เล่ม ๑๒๘, ตอนที่ ๓๓ ก, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เล่ม ๑๒๘, ตอนพิเศษ ๘๕ ง , ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑
  13. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
  14. "ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (พิเศษ 161 ง): 1. 2023-07-07. สืบค้นเมื่อ 2023-07-07.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้