พรรคประชากรไทย

พรรคการเมืองไทย

พรรคประชากรไทย (อังกฤษ: Thai Citizen Party - TCP, ย่อว่า: ปชท.) เป็นพรรคการเมืองไทย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2522 แต่หมดความสำคัญทางการเมืองในปี พ.ศ. 2543 เมื่อหัวหน้าพรรค สมัคร สุนทรเวช ลาออกจากพรรค พรรคประชากรไทยมีอุดมการณ์แบบกษัตริย์นิยม มีความใกล้ชิดกับทหารและอยู่ฝ่ายขวาจัดของการเมืองไทย[2]

พรรคประชากรไทย
ผู้ก่อตั้งสมัคร สุนทรเวช
ประธานสุมิตร สุนทรเวช
หัวหน้าคณิศร สมมะลวน
รองหัวหน้า
  • กฤติพงศ์ จูเปาะ
  • พันตำรวจโทจรูญ ป้อมกฤษณ์
  • อาภิพัฒน์ พิทยานรเศรษฐ์
  • มณีทิพย์ ธรรมสิริภัสสร
  • นิกอิสฮาก เปาะซา
  • สวรรค์ ขันทอง
  • พันตำรวจโทอนุวัฒน์ ขวัญเมือง
เลขาธิการสุจรรย์จิรา วุฒิมนัสธำรง
รองเลขาธิการ
  • กีรติ ยังประกอบกิจ
  • พลพลา นัยนานนท์
เหรัญญิกชุติกาญจน์ ชโยทัย
นายทะเบียนสมาชิกอภิญาณ์รดา ธนภูมิหมื่นเจริญ
โฆษกมงคล กลิ่นกระจาย
รองโฆษกอัชฌา ลิเกษม
กรรมการบริหาร
  • ปิยะนุช อุทรักษ์
  • นราวดี บุญใหญ่
คติพจน์เป็นมิตร ใกล้ชิดประชาชน
ก่อตั้ง9 มีนาคม พ.ศ. 2522
แยกจากพรรคประชาธิปัตย์
ที่ทำการ1213/323-4 ถนนศรีวรา แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310
สมาชิกภาพ  (ปี 2565)14,788 คน[1]
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ประวัติ

แก้

พรรคประชากรไทยก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2522 ในนามกลุ่มประชากรไทย โดยนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งเคยเป็น ส.ส.ฝ่ายขวาของพรรคประชาธิปัตย์ หลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 บังคับใช้ โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ห้ามจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองแต่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งในนามกลุ่มการเมืองได้ สมัครได้ชื่อว่าเป็นนักปราศรัยฝ่ายขวาจัดและผู้สนับสนุนราชวงศ์ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายใต้รัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ภายหลังเหตุการณ์ สังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 จนถึงวันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ในนามพรรคประชากรไทย สมัครแข่งขันกับพรรคประชาธิปัตย์เพื่อชิงฐานที่มั่นในกรุงเทพฯ[3]

ในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนเมษายน พ.ศ. 2522 พรรคประชากรไทยได้ที่นั่ง 32 ที่นั่งจากทั้งหมด 301 ที่นั่ง โดยเกือบทั้งหมดเป็นเขตเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร แต่มีเพียง 3 เขตนอกกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนมีนาคม พ.ศ. 2526 จำนวนที่นั่งเพิ่มขึ้นเป็น 36 ที่นั่งจากทั้งหมด 324 ที่นั่ง (24 ที่นั่งจากทั้งหมด 36 ที่นั่งมาจากการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ) และกลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลผสมของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2529 พรรคประชากรไทยเสียที่นั่งไป 12 ที่นั่ง (ส่วนใหญ่ตกเป็นของพรรคประชาธิปัตย์) และกลายเป็นพรรคฝ่ายค้าน ในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2531 พรรคได้ 31 ที่นั่งจาก 357 ที่นั่ง และเข้าร่วมในรัฐบาลผสมของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2534[3]

ในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคประชากรไทยสูญเสียที่นั่งส่วนใหญ่ เหลือเพียง 7 ที่นั่งจากทั้งหมด 360 ที่นั่ง และต้องเผชิญกับการแข่งขันจากพรรคพลังธรรมที่นำโดยพลตรีจำลอง ศรีเมือง อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งดึงดูดผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่เป็นชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ แต่ได้รับตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งต้องเผชิญกับการประท้วงของมวลชนในช่วง พฤษภาทมิฬ หลังจากของรัฐบาลพลเอกสุจินดาลาออก จึงมีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 ทำให้พรรคพ่ายแพ้อย่างยับเยิน เนื่องจากมีความเกี่ยวพันกับความพยายามของรัฐบาลเก่าในการปราบปรามประชาชนที่ลุกฮืออย่างรุนแรง โดยลดลงเหลือเพียง 3 ที่นั่งเท่านั้น ซึ่งพรรคสามารถฟื้นตัวได้เล็กน้อยโดยชนะ 18 ที่นั่งจาก 55 ที่นั่งในสภากรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2537 หนึ่งปีต่อมา พรรคก็กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้งในระดับชาติ โดยได้ที่นั่ง 18 ที่นั่งจากทั้งหมด 391 ที่นั่ง ส่วนใหญ่เป็นเพราะพรรคคู่แข่งคือพรรคพลังธรรมสูญเสียความนิยมในกรุงเทพฯ พรรคประชากรไทยจึงได้เข้าร่วมรัฐบาลผสมของนายบรรหาร ศิลปอาชา[3]

ในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 จำนวนที่นั่งยังคงเท่าเดิม และยังคงเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ เมื่อพลเอกชวลิตลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ทำให้พรรคแตก: ส.ส. 12 คนจาก 18 คนของพรรคซึ่งถูกเรียกว่า "กลุ่มงูเห่า" สนับสนุนให้นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่โดยฝ่าฝืนมติของคณะกรรมการบริหารพรรคจึงถูกขับออกจากพรรค ศาลรัฐธรรมนูญได้ยกคำร้องและตัดสินให้ ส.ส. ทั้ง 12 คนยังคงรักษาสมาชิกภาพและไปร่วมงานกับพรรคอื่นได้หลังจากถูกขับออกจากพรรคเดิม[4]

ในปี พ.ศ. 2544 นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคหลังจากที่เขาได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยไม่สังกัดพรรค ทำให้นายสุมิตร สุนทรเวช ผู้เป็นน้องชายได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคสืบต่อมา หลังจากนั้นพรรคประชากรไทยก็ไม่ได้มีที่นั่งในสภาอีก

จากการที่นายสุมิตร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทยได้ลาออกเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2562 [5] ทำให้พรรคได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562 และได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่โดยที่ประชุมได้เลือกให้ดร. คณิศร สมมะลวน อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่[6] โดยมีนายสุมิตรเป็นประธานพรรค[7] มีที่ทำการพรรคตั้งอยู่ที่ โครงการทาวน์อินทาวน์ ซอย 21 ถนนศรีวรา แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร

กระทั่งวันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2565 พรรคประชากรไทยได้แถลงข่าวเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. กรุงเทพมหานครโดยชูนโยบาย สมัคร โมเดล[7] ต่อมาในวันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2565 พรรคประชากรไทยได้แถลงข่าวเปิดตัว 8 ผู้อำนวยการภาคพร้อมกับชูนโยบาย 3 พัฒนา[8] จากนั้นในวันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ทางพรรคได้แถลงข่าวเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. จังหวัดนครราชสีมา ทั้ง 16 เขตพร้อมกับเปิดตัวนโยบาย สวัสดิการไทย รวมถึงเปิดตัวนายเกิดผล แก้วเกิด ทนายความชื่อดังเป็นทีมงานฝ่ายกฎหมายของพรรค[9]

ในวันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ทางพรรคประชากรไทยได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีที่ ห้องประชุมวัดกลางเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 17 คนซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายคณิศรเป็นหัวหน้าพรรคต่อไป พร้อมกับเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับพรรคเช่น ตราสัญลักษณ์พรรค และนโยบายพรรค[10] ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2566 นายปรีชา ใคร่ครวญ หรือ ครูปรีชา ได้เปิดตัวเป็นสมาชิกพรรคประชากรไทยและว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. จังหวัดกาญจนบุรี เขต 1

วันที่ 29 มีนาคม 2566 นายคณิศรได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคกลางที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรค ส่งผลให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลือต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ที่ประชุมจึงได้ทำการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 15 คนพร้อมกับแก้ไขข้อบังคับพรรค ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเลือกนายคณิศรให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่ออีกสมัย ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคเป็นของนางสาวภคมน วงศ์ใหญ่[11]

ผลการเลือกตั้ง

แก้

ผลการเลือกตั้งทั่วไป

แก้
การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง สถานภาพ ผู้นำเลือกตั้ง​
2522
32 / 301
528,210 2.7%  32 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน สมัคร สุนทรเวช
2526
33 / 324
2,395,795 15.6%  1 ที่นั่ง ร่วมรัฐบาล
2529
24 / 347
4,560,615 12.1%  9 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน
2531
31 / 357
2,413,520 6.1%  7 ที่นั่ง ฝ่ายค้านอิสระ (2531​- 2533)
ร่วม​รัฐบาล (2533 - ​2534)
มี.ค. 2535
7 / 360
2,280,887 5.1%  24 ที่นั่ง ร่วมรัฐบาล
ก.ย. 2535
3 / 360
1,413,032 3.06%   4 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน
2538
18 / 391
2,476,218 4.48%  14 ที่นั่ง ร่วมรัฐบาล
2539
18 / 393
2,330,135 4.09%  0 ที่นั่ง ร่วมรัฐบาล

(2539​- 2540)

ฝ่ายค้าน

(2540-2544)

2544
0 / 500
  18 ที่นั่ง ไม่ได้รับเลือกตั้ง สุมิตร สุนทรเวช
2548
0 / 500
38,324[12]
2549
2 / 500
292,895 การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
2550
0 / 480
28,163[13] ไม่ได้รับเลือกตั้ง
2554
0 / 500
34,279[14]
2557 การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
2562
0 / 500
ไม่ได้รับเลือกตั้ง
2566
0 / 500
57,099

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

แก้
การเลือกตั้ง ผู้สมัคร คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง
2528 พลตำรวจตรี หม่อมราชวงศ์เจตจันทร์ ประวิตร 140,190 14.75%   พ่ายแพ้
2533 เดโช สวนานนท์ 283,777 25.61%   พ่ายแพ้
2535 พลอากาศเอก สมมต สุนทรเวช 70,058 9.25%   พ่ายแพ้
2539 ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา 244,002 15.70%   พ่ายแพ้
2543 สมัคร สุนทรเวช 1,016,019 45.85%   สำเร็จ ได้รับเลือกตั้ง
2547 วีระศักดิ์ อุปถัมภ์ 239   พ่ายแพ้
2565 กฤตชัย พยอมแย้ม 494 0.01   พ่ายแพ้

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.)

แก้
การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน ผลการเลือกตั้ง
2528
6 / 54
 6 เสียงข้างน้อย
2533
5 / 57
 1
2537
19 / 55
 14
2541
3 / 60
 12 เสียงข้างน้อย
2545
2 / 61
 1

อ้างอิง

แก้
  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566
  2. J. Denis Derbyshire; Ian Derbyshire (1989). Political Systems Of The World. Chambers. p. 122.
  3. 3.0 3.1 3.2 Michael Leifer (2001). "Prachakorn Thai". Dictionary of the Modern Politics of Southeast Asia (3rd ed.). Routledge. p. 225.
  4. Amara Raksasataya; James R. Klein (2003). The Constitutional Court of Thailand: The Provisions and the Working of the Court. Constitution for the People Society. p. 51.
  5. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคประชากรไทย
  6. “ประชากรไทย” เลือกมหาสารคาม จัดประชุมใหญ่ โหวต “ดร.คณิศร”นั่งหัวหน้าพรรค ชูธงแก้ปัญหาปากท้องชาวบ้าน
  7. 7.0 7.1 “พรรคประชากรไทย” กลับมาแล้ว “สุมิตร สุนทรเวช” ชู “สมัคร โมเดล” ทวงคะแนนนิยม
  8. “ประชากรไทย” ยัน 3 พัฒฯ สู้ 3ป.ได้แน่ ส่งครบ 400 เขต คาดได้ส.ส.กทม.30%
  9. พรรคประชากรไทยเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร 16 เขตโคราช ชูนโยบาย "สวัสดิการไทย"
  10. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคประชากรไทย
  11. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคประชากรไทย
  12. "ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ปี พ.ศ. 2548 - Open Government Data of Thailand". data.go.th.[ลิงก์เสีย]
  13. "ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ปี พ.ศ. 2550 - Open Government Data of Thailand". data.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-25. สืบค้นเมื่อ 2023-10-23.
  14. "ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ปี พ.ศ. 2554 - Open Government Data of Thailand". data.go.th.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูล

แก้