การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2539
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2539 นับเป็น การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นครั้งที่ 5 สืบเนื่องจาก ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ได้ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครบวาระ (2535-2539) จึงจัดให้มีการเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 2 มิถุนายน 2539
| |||||||||||||||||||||
ผู้ใช้สิทธิ | 43.53% ( 20.51 จุด) | ||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||||||||||||||||
|
สถานการณ์ก่อนการเลือกตั้ง
แก้สืบเนื่องจาก การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปี 2535 และ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา จาก พรรคพลังธรรม ได้รับการเลือกตั้ง
บัดนี้ ครบวาระการดำรงตำแหน่ง จึงเห็นสมควรให้มีการเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เสียใหม่ โดยกำหนดจัดการเลือกตั้ง ในวันที่ 2 มิถุนายน 2539
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
แก้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีผู้สมัครลงรับเลือกตั้งทั้งหมด 29 คน ซึ่งนับว่ามากที่สุดนับตั้งแต่จัดการเลือกตั้ง มีผู้สมัคร ทั้งที่สังกัดพรรคการเมืองและไม่สังกัดพรรคการเมือง โดยมีผู้สมัครที่น่าสนใจ อาทิ:[1]
- อากร ฮุนตระกูล (ผู้สมัครอิสระ) – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (กันยายน 2535-2538) (หมายเลข 2)
- วรัญชัย โชคชนะ (พรรคเอกภาพ) – นักกิจกรรมทางการเมือง (หมายเลข 3)
- พลตรี จำลอง ศรีเมือง (พรรคพลังธรรม) – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (มีนาคม 2535-2538), ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (2528-2535) (หมายเลข 4)
- พิจิตต รัตตกุล (ผู้สมัครอิสระ) – อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ พลังงาน และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (2526-2531) โดยในการเลือกตั้งครั้งนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจาก พรรคประชาธิปัตย์ อีกด้วย โดยทางพรรค ไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งเลย (หมายเลข 5)
- ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา (พรรคประชากรไทย) – ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (2535-2539) เนื่องจากในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคพลังธรรมมีประสงค์จะส่ง พลตรี จำลอง ลงสมัครในนามพรรค ทำให้ ร้อยเอก กฤษฎา ลาออกจากพรรค และ ได้รับการเทียบเชิญจากทางพรรคประชากรไทย ให้ลงสมัครในนามของพรรค (หมายเลข 6)
- สมิตร สมิทธินันท์ (ผู้สมัครอิสระ) – นักกิจกรรมทางการเมือง (หมายเลข 11)
ผลการเลือกตั้ง
แก้ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2539
หมายเลข | ผู้สมัคร | สังกัด | คะแนนเสียง |
---|---|---|---|
5 | พิจิตต รัตตกุล | ผู้สมัครอิสระ[a] | 764,994 |
4 | พลตรี จำลอง ศรีเมือง | พรรคพลังธรรม | 514,401 |
6 | ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา | พรรคประชากรไทย | 244,002 |
2 | อากร ฮุนตระกูล | ผู้สมัครอิสระ | 29,084 |
3 | วรัญชัย โชคชนะ | ผู้สมัครอิสระ | 1,011 |
11 | สมิตร สมิทธินันท์ | ผู้สมัครอิสระ | 616 |
1 | ดำริห์ รินวงษ์ | ผู้สมัครอิสระ | 581 |
9 | พันตำรวจโท สุธี สุทธิศิริวัฒนะ | ผู้สมัครอิสระ | 522 |
7 | บุญญสิฐ สอนชัด | ผู้สมัครอิสระ | 504 |
13 | พันตำรวจเอก กำพล ยุทธสารประสิทธิ์ | ผู้สมัครอิสระ | 390 |
11 | รัก พจนะไพบูลย์ | ผู้สมัครอิสระ | 295 |
29 | มานิตย์ มาทวิมล | ผู้สมัครอิสระ | 280 |
24 | สิบเอก สุวัจน์ ดาราฤกษ์ | ผู้สมัครอิสระ | 224 |
25 | สัญชัย เตียงพาณิชย์ | ผู้สมัครอิสระ | 207 |
15 | ศุภชัย สิทธิเลิศประสิทธิ์ | ผู้สมัครอิสระ | 176 |
16 | พันตำรวจตรี สุขุม พันธุ์เพ็ง | ผู้สมัครอิสระ | 148 |
8 | วารินทร์ สินสูงสุด | ผู้สมัครอิสระ | 144 |
14 | สถิต พุทธจักรวาล | ผู้สมัครอิสระ | 134 |
12 | ธีเกียรติ ไม้ไทย | ผู้สมัครอิสระ | 133 |
10 | เทอดชน ถนอมวงศ์ | ผู้สมัครอิสระ | 101 |
20 | บุญช่วย วัฒนาวงศ์ | ผู้สมัครอิสระ | 96 |
28 | หม่อมราชวงศ์ นิตยจักร จักรพันธุ์ | ผู้สมัครอิสระ | 87 |
21 | ณัฐวิคม สิริอุไรกุล | ผู้สมัครอิสระ | 66 |
26 | ศิลป วรรณปักษ์ | ผู้สมัครอิสระ | 65 |
18 | สุชาติ เกิดผล | ผู้สมัครอิสระ | 64 |
19 | ชูศักดิ์ วรัคคกุล | ผู้สมัครอิสระ | 59 |
27 | ไอศูรย์ หมั่นรักเรียน | ผู้สมัครอิสระ | 57 |
23 | สอ เชื้อโพธิ์หัก | ผู้สมัครอิสระ | 51 |
22 | พินิจ สกุลพราหมณ์ | ผู้สมัครอิสระ | 40 |
รวมคะแนนเสียงที่ให้ผู้สมัครทั้งหมด | 1,558,532 | ||
บัตรเสีย | N/A | ||
รวม | 1,558,532 | ||
ข้อมูล: [2] |
ปฏิกิริยาหลังจากการเลือกตั้ง
แก้โดยการเลือกตั้งมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน ปีเดียวกัน ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า ดร.พิจิตต ที่หาเสียงโดยชูนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และต้านมลพิษทางอากาศ ได้รับเลือกด้วยคะแนน 768,994 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 43.53[3] ขณะที่ พล.ต.จำลอง ที่เคยชนะมาแล้วอย่างถล่มทลายเมื่อปี พ.ศ. 2528 และ พ.ศ. 2533 ได้คะแนน 514,401 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 33.09
อนึ่ง การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ออกมาใช้สิทธิคิดเป็นร้อยละ 51 มากกว่าครั้งที่ผ่าน ๆ มา โดยมีปรากฏการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้น ได้แก่ แม้ว่าฝนจะตกหนัก และบางครอบครัวที่ได้เดินทางออกไปเที่ยวยังต่างจังหวัด ก็รีบกลับมาให้ทันการลงคะแนน อีกทั้งยังมีการสำรวจคะแนนความนิยมจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ บ่งชี้ว่า ดร.พิจิตต จะได้รับเลือกไปด้วยคะแนนเสียงขาดลอย ซึ่งผลก็ออกมาจริงตามนั้น ถึงขนาดที่คอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์บางรายได้เขียนแสดงความยินดีต่อ ดร.พิจิตต ล่วงหน้า[4]
เชิงอรรถ
แก้- ↑ ในนามกลุ่มมดงาน
อ้างอิง
แก้- ↑ "ผู้สมัครรับเลือกตั้ง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-23. สืบค้นเมื่อ 2019-06-23.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เล่ม 113, ตอนที่ 48 ง, วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2539, หน้า 23
- ↑ สถิติการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จาก เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนผู้จัดการออนไลน์
- ↑ "พิจิตต" โค่น "จำลอง" เข้าป้ายผู้ว่าฯ กทม., หน้า 251. ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์ มติชน (สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2550) ISBN 974-323-889-1