ยิ่งพันธ์ มนะสิการ
ยิ่งพันธ์ มนะสิการ (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2546) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก และอดีตนายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร
ยิ่งพันธ์ มนะสิการ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม | |
ดำรงตำแหน่ง 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2541 | |
ก่อนหน้า | สุวัจน์ ลิปตพัลลภ |
ถัดไป | สุวิทย์ คุณกิตติ |
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ |
ถัดไป | เกษม สุวรรณกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 22 ธันวาคม พ.ศ. 2546 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพมหานคร |
พรรคการเมือง | ประชากรไทย (2522–2542) ชาติพัฒนา (2542–2543) ไทยรักไทย (2543–2546) |
คู่สมรส | มยุรา มนะสิการ |
ประวัติ
แก้นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 ที่ตำบลหินลาด อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก เป็นบุตรของบุญชง กับแสง มนะสิการ[1] สำเร็จการศึกษาจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางมยุรา มนะสิการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 21 และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 22 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก มีบุตร-ธิดา 3 คน
การทำงาน
แก้นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิษณุโลก พรรคประชากรไทย และเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ในรัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี พ.ศ. 2534[2] และเป็นเลขาธิการพรรคประชากรไทย ซึ่งนายยิ่งพันธ์ มนะสิการ เป็น 1 ใน 12 ส.ส. กลุ่มงูเห่า ที่ให้การสนับสนุนนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี จนได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม[3] ในรัฐบาล 3 คณะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2541 ซึ่งในการดำรงตำแหน่งดังกล่าว เขาถูกกล่าวหาว่ามีความเกี่ยวโยงกับการทุจริตที่ดินคลองด่าน[4] เป็นเหตุให้นายวัฒนา อัศวเหม ถูกศาลตัดสินจำคุก และเขาถูกกรมควบคุมมลพิษ ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการที่เขาเป็นผู้เสนอโครงการต่อคณะรัฐมนตรี เอื้อประโยชน์ให้มีการดำเนินการให้ราชการได้รับความเสียหาย รวมมูลค่าความเสียหายที่ต้องชดใช้ 4,770 ล้านบาท[5]
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้ย้ายมาลงสมัครในนามพรรคไทยรักไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง แพ้ให้กับนายพิทักษ์ สันติวงศ์เดชา จากพรรคประชาธิปัตย์[6] ต่อมาได้ลงเลือกตั้งซ่อมเขต 6 แต่ก็แพ้ให้กับนายจุติ ไกรฤกษ์ ทำให้ในการจัดตั้งรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงได้รับตำแหน่งเป็นเพียง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย [7]
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้ยิ่งพันธ์ มนะสิการ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2546 สิริอายุ 66 ปี[8] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2547 ณ วัดธรรมจักร อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-17.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ "เปิดกลุ่มนักการเมือง-ข้าราชการ 'เอื้อทุจริตบำบัดน้ำเสียคลองด่าน'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2010-08-17.
- ↑ ฟ้องกราวรูดหมื่น ล.จาก ไทยรัฐ
- ↑ "ผลการเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดพิษณุโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-08. สืบค้นเมื่อ 2010-08-17.
- ↑ "การแต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย (นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-28.
- ↑ "อดีตนักการเมืองดัง "ยิ่งพันธ์" เสียชีวิต". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-01-08. สืบค้นเมื่อ 2004-01-08.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
ก่อนหน้า | ยิ่งพันธ์ มนะสิการ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (ครม.51, ครม.52, ครม.53) (18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2541) |
สุวิทย์ คุณกิตติ |