วัฒนา อัศวเหม
วัฒนา อัศวเหม (เกิด 30 กันยายน พ.ศ. 2479) เป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตหัวหน้าพรรคราษฎร และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ 10 สมัย[1] จนได้รับฉายา "เจ้าพ่อปากน้ำ"
วัฒนา อัศวเหม | |
---|---|
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุจินดา คราประยูร |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 8 มกราคม – 12 มกราคม พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 กันยายน พ.ศ. 2479 จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศสยาม |
พรรคการเมือง | สังคมชาตินิยม (2518–2522) ชาติประชาชน (2522–2526) ชาติไทย (2526–2529, 2535–2539) ราษฎร (2529–2535) ประชากรไทย (2539–2541) มหาชน (2541–2550) เพื่อแผ่นดิน (2550–2551) มาตุภูมิ (สนับสนุน) (2551–2552) |
คู่สมรส | จันทร์แรม อัศวเหม (เสียชีวิต) |
วัฒนา ได้ถูก ป.ป.ช. ตัดสินว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตโครงการบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ซึ่งถือเป็นโครงการก่อสร้างโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย ที่มีศักยภาพในการบำบัดน้ำเสียมากที่สุดในเอเซียในขณะนั้น[2] โดยนายวัฒนา ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น ได้ทำการกว้านซื้อดินจากชาวบ้านในราคาถูก และได้ออกเอกสารสิทธิที่ดินโดยมิชอบรุกล้ำที่ดินสาธารณะประโยชน์ แล้วนำไปขายต่อให้รัฐโดยปั่นราคาขึ้นจาก 1 แสนบาท/ไร่ เป็น 1.1 ล้านบาท/ไร่ รวมกว่า 1,903 ไร่ ในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นที่ศาลนัดฟังคำพิพากษา แต่นายวัฒนากลับไม่ได้เดินทางมา จนต่อมามีข่าวว่านายวัฒนาได้เดินทางหนีออกจากประเทศผ่านประเทศกัมพูชา[3] ปัจจุบันคดีหมดอายุความ
ประวัติ
แก้วัฒนา อัศวเหม เกิดเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2479 ที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ อดีตประธานพรรคเพื่อแผ่นดิน เจ้าของฉายา "เจ้าพ่อปากน้ำ" เดิมชื่อ นายกิมเอี่ยม แซ่เบ๊ เป็นบุตรของ นายสุขชัย กับนางสำอางค์ อัศวเหม มีพี่น้องรวม 12 คน นายวัฒนา สมรสกับนางจันทร์แรม อัศวเหม(ถึงแก่กรรม) มีบุตรสามคน ได้แก่ นายพิบูลย์ อัศวเหม นายพูลผล อัศวเหม อดีต ส.ส.สมุทรปราการ (ถึงแก่กรรม) และนายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม อดีตประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ (ถึงแก่กรรม)
จบการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาตรีสาขาการจัดการธุรกิจ จาก Southeastern USA (London Campus) ประเทศอังกฤษ
บทบาททางการเมือง
แก้วัฒนา อัศวเหม เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.สมุทรปราการ 10 สมัย (พ.ศ. 2518, 2519, 2522, 2526, 2529, 2531, 2535/1, 2535/2, 2538, 2539)มีคนสนิทไว้ใจที่สุดคือ นายมั่น พัธโนทัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2519) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2531[4], 2533[5], 2540) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2535)[6]
นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในพรรคการเมืองหลายพรรค เช่น รองหัวหน้าพรรคชาติไทย หัวหน้าพรรคราษฎร ที่ปรึกษาพรรคมหาชน ประธานพรรคเพื่อแผ่นดิน
นายวัฒนา อัศวเหม ยังมีธุรกิจส่วนตัวอีกหลายด้าน เช่น บริษัท ม้าทองชิปบิลเดอร์ จำกัด ร้านอาหารบ้านแก้วเรือนขวัญ บริษัท เจริญมั่นคง จำกัด ฯลฯ
คดีทุจริตที่ดินคลองด่าน
แก้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ในคดีที่นายวัฒนา อัศวเหม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และประธานพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นจำเลย ในกรณีสืบเนื่องจากนายวัฒนาใช้อำนาจข่มขู่ หรือชักจูงใจให้ผู้อื่นร่วมออกโฉนดที่ดิน 1,900 ไร่ ทับที่คลองสาธารณประโยชน์ และที่เทขยะมูลฝอยซึ่งเป็นที่สงวนหวงห้าม เพื่อนำไปขายให้กรมควบคุมมลพิษเพื่อก่อสร้างโครงการบ่อบำบัดน้ำเสีย ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 10 ปี และให้ริบพระผงสุพรรณเลี่ยมทองของกลาง พร้อมกับออกหมายจับเพื่อติดตามตัวจำเลย มารับโทษ และปรับเงินนายประกัน 2ล้าน2แสนบาทถ้วน[7][8] ต่อมานายวัฒนา ได้ยื่นขออุทธรณ์คดีดังกล่าว แต่ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณา[9]
วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ศาลแขวงดุสิตนัดอ่านคำพิพากษาฎีกาโดยมีคำสั่งให้ออกหมายจับ วัฒนา อัศวเหม[10]
รางวัลและเกียรติยศ
แก้- พ.ศ. 2532 ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก วัฒนา อัศวเหม[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ กว่า 4 ปี"วัฒนา อัศวเหม" หายไปไหน ? หาคำตอบ"รู้จักวัฒนา รู้จริงคลองด่าน", มติชน .วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
- ↑ ย้อนรอย “ค่าโง่คลองด่าน” บทเรียน 3 หมื่นล้าน ราคาที่คนไทยต้องจ่าย, thaipublica.org .สืบค้นเมื่อ 17/06/2559
- ↑ ข่าวดังข้ามเวลา : คลองด่านโครงการซ่อนโกง, นาทีที่ 24-25, ข่าวดังข้ามเวลา สำนักข่าวไทย .วันที่ 4 เม.ย. 2016
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ ศาลจำคุกวัฒนา 10 ปี ปิดหมายจับตามล่าตัว
- ↑ คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ (คดีหมายเลขดำที่ อม. ๒/๒๕๕๐ คดีหมายเลขแดงที่ อม. ๒/๒๕๕๑ ระหว่างอัยการสูงสุด โจทก์ และ นายวัฒนา อัศวเหม จำเลย)
- ↑ คำพิพากษาของศาลฎีกา เรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ (ชั้นพิจารณาอุทธรณ์) (คดีหมายเลขดำที่ อม. ๒/๒๕๕๐ คดีหมายเลขแดงที่ อม. ๒/๒๕๕๑ ระหว่าง อัยการสูงสุด โจทก์ และ นายวัฒนา อัศวเหม จำเลย)
- ↑ ศาลเลื่อนอ่านฎีกาคดีฉ้อโกงคลองด่านอีกหน!จำเลยป่วย-หนี ออกหมายจับ 4 คน-นัด13ก.ค.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2532/D/028/2.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2021-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔