อำเภอเมืองพิษณุโลก

อำเภอในจังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย

เมืองพิษณุโลก เป็นอำเภอของจังหวัดพิษณุโลก เป็นศูนย์กลางการบริหาร คมนาคม เศรษฐกิจ ศาสนาและวัฒนธรรมของจังหวัด นับเป็นหนึ่งในอำเภอเมืองที่มีความเจริญมากที่สุดในภาคเหนือตอนล่าง

อำเภอเมืองพิษณุโลก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mueang Phitsanulok
ที่ว่าการอำเภอเมืองพิษณุโลก
ที่ว่าการอำเภอเมืองพิษณุโลก
คำขวัญ: 
พระพุทธชินราชงามเหลือ แข่งเรือน่านนที พระดีนางพญา หาญกล้าพระนเรศวร ค่าควรจุฬามณี ดนตรีดังมังคละ
แผนที่จังหวัดพิษณุโลก เน้นอำเภอเมืองพิษณุโลก
แผนที่จังหวัดพิษณุโลก เน้นอำเภอเมืองพิษณุโลก
พิกัด: 16°49′29″N 100°15′34″E / 16.82472°N 100.25944°E / 16.82472; 100.25944
ประเทศ ไทย
จังหวัดพิษณุโลก
พื้นที่
 • ทั้งหมด750.8 ตร.กม. (289.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด282,707 คน
 • ความหนาแน่น376.54 คน/ตร.กม. (975.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 65000,
65230 (เฉพาะตำบลวัดพริก วังน้ำคู้ และงิ้วงาม)
รหัสภูมิศาสตร์6501
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองพิษณุโลก ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า "วัดใหญ่" เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย
วัดจันทร์ตะวันตก ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมปางมารวิชัย ทรงเครื่องมหาจักรพรรดิ
วัดยาง ปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระสัมฤทธิ์โกสีย์ นิยมเรียกกันว่า "หลวงพ่อเขียว" เป็นพระปางประทานอภัย สูง 190 เซนติเมตร เป็นศิลปะอยู่ในยุคอมราวดีเป็นสกุลช่างอินเดียผสมผสานกับสกุลช่างกรีก

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอเมืองพิษณุโลก มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

 
วัดจุฬามณี เป็นโบราณสถานก่อนสมัยสุโขทัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างพระวิหารและเสด็จออกผนวชที่วัดนี้ เมื่อ พ.ศ. 2007

ประวัติ

แก้

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ช่วงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนถึงก่อนปฏิรูปการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังคงจัดระเบียบการปกครองออกเป็นจตุสดมภ์ แต่ในส่วนภูมิภาค มีการ แบ่งเขตการปกครองเป็นหัวเมืองชั้นใน ชั้นนอก และเป็นประเทศราช เมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองเอกขนาดใหญ่ที่สุด ในหัวเมืองฝ่ายเหนือของประเทศไทย มีประชากรทั้งสิ้น ประมาณ 15,000 คน ซึ่งมีชาวจีนประมาณ 1,112 คน มีเมืองอยู่ในอำนาจการปกครองดูแลหลายหัวเมืองด้วย เช่น เมืองนครไทย เมืองไชยบุรี เมืองศรีภิรมย์ เมืองพรหมพิราม เมืองชุมศรสำแดง เมืองชุมแสงสงคราม เมืองนครชุม เมืองนครป่าหมาก เมืองชาตกาล ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพสำคัญ คือ ทำนา ทำไร่ หาของป่า ทำไม้ และการเกณฑ์แรงงานไพร่ พ.ศ. 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระอุสาหะเสด็จประพาสเมืองเหนืออีกครั้งหนึ่ง โดยเสด็จทางเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช พระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวขณะนั้นกำลังทรงผนวชเป็นสามเณร ก็ได้ตามเสด็จมา เมื่อเสด็จถึงเมืองพิษณุโลก ได้ทรงประทับและทรงสมโภชพระพุธชินราชอยู่ 2 วัน จึงเสด็จกลับ

จังหวัดพิษณุโลกได้ประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัดในปี พ.ศ. 2435 (สมัยรัชกาลที่ 5) โดยขึ้นอยู่กับมณฑลพิษณุโลก (พ.ศ. 2443) ในปี พ.ศ. 2458 ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีประกาศยกเลิกมณฑลทั่วราชอาณาจักร เมืองพิษณุโลกจึงมีฐานะเป็น "จังหวัดพิษณุโลก" ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2476 โดยมี อำเภอเมืองพิษณุโลก เป็นศูนย์กลางการปกครองของจังหวัด

  • วันที่ 2 ตุลาคม 2458 จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองพิษณุโลก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ที่มณฑลพิษณุโลก ในท้องที่บางส่วนของตำบลในเมือง และบางส่วนของตำบลบ้านคลอง[1]
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นอำเภอเมืองพิษณุโลก[2]
  • วันที่ 17 กรกฎาคม 2470 แยกพื้นที่ตำบลเนินกุ่ม ตำบลไผ่ล้อม ตำบลนครป่าหมาก จากอำเภอนครป่าหมาก และตำบลบ้านไร่ ตำบลโคกสลุด ตำบลสนามคลี จากอำเภอเมืองพิษณุโลก รวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอบางกระทุ่ม[3] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองพิษณุโลก
  • วันที่ 28 เมษายน 2472 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเมืองพิษณุโลก โดยขยายให้ครอบคลุมพื้นที่หมู่บ้านถนนมหากรุง ถนนสระแก้ว ถนนเกษตร ถนนงามเมือง ถนนจุฬามณี ถนนกัลยาณมิตร ของตำบลในเมือง[4]
  • วันที่ 7 มิถุนายน 2472 แยกพื้นที่หมู่ 8–10 (ในขณะนั้น) ของตำบลนครป่าหมากกับหมู่ 1–2 (ในขณะนั้น) ของตำบลสนามคลี รวมตั้งเป็นตำบลบางกระทุ่ม[5]
  • วันที่ 8 มีนาคม 2473 เปลี่ยนชื่อตำบลนครป่าหมาก กิ่งอำเภอบางกระทุ่ม เป็นตำบลสามเรือน[6]
  • วันที่ 7 มิถุนายน 2474 แยกพื้นที่หมู่ 7, 9–11 (ในขณะนั้น) ของตำบลดอนทองกับหมู่ 3, 12 (ในขณะนั้น) ของตำบลในเมือง และรับโอนพื้นที่หมู่ 1 ตำบลตลาดชุม อำเภอนครป่าหมาก รวมตั้งเป็นตำบลสมอแข[7]
  • วันที่ 10 ธันวาคม 2478 ยกฐานะสุขาภิบาลเมืองพิษณุโลก เป็น เทศบาลเมืองพิษณุโลก[8]
  • วันที่ 2 มกราคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ 5 เฉพาะในเขตเทศบาลเมืองพิษณุโลก (ในขณะนั้น) ตำบลวัดจันทร์ ไปขึ้นกับตำบลในเมือง และโอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านคลอง ไปขึ้นกับตำบลในเมือง และโอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลในเมือง ไปขึ้นกับตำบลวัดจันทร์ และแยกพื้นที่หมู่ 2–3, 7–8, 11 เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองพิษณุโลก (ในขณะนั้น) ของตำบลในเมือง ตั้งเป็น ตำบลอรัญญิก[9]
  • วันที่ 22 มกราคม 2482 ขยายเขตเทศบาลเมืองพิษณุโลก[10] โดยปรับตามประกาศปี พ.ศ. 2481[9]
  • วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนชื่อตำบลสามเรือน กิ่งอำเภอบางกระทุ่ม เป็นตำบลนครป่าหมาก และเปลี่ยนชื่อตำบลบางผี กิ่งอำเภอบางกระทุ่ม เป็นตำบลท่าตาล[11]
  • วันที่ 22 ตุลาคม 2483 โอนพื้นที่หมู่ 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลไผ่ล้อมกับหมู่ 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านไร่ ไปขึ้นกับตำบลบางกระทุ่ม และโอนพื้นที่หมู่ 1–2 (ในขณะนั้น) ของตำบลโคกสลุด ไปขึ้นกับตำบลสนามคลี และเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอพรหมพิรามกับอำเภอเมืองพิษณุโลก โดยโอนพื้นที่หมู่ 1,9 (ในขณะนั้น) ของตำบลมะตูม อำเภอพรหมพิราม มาขึ้นกับตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก[12]
  • วันที่ 31 ธันวาคม 2483 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอพรหมพิรามกับอำเภอเมืองพิษณุโลก โดยโอนพื้นที่หมู่ 10 (ในขณะนั้น) ของตำบลมะตูม อำเภอพรหมพิราม มาขึ้นกับตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก[13]
  • วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2490 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมืองพิษณุโลกกับอำเภอพรหมพิราม โดยโอนพื้นที่หมู่ 13 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก ไปขึ้นกับตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม[14]
  • วันที่ 3 กันยายน 2489 ยกฐานะกิ่งอำเภอบางกระทุ่ม ของอำเภอเมืองพิษณุโลก เป็นอำเภอบางกระทุ่ม[15]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลจอมทอง แยกออกจากตำบลปากโทก ตั้งตำบลพลายชุมพล แยกออกจากตำบลหัวรอ ตั้งตำบลสมอแข แยกออกจากตำบลดอนทอง ตั้งตำบลท่าทอง แยกออกจากตำบลวัดจันทร์ ตำบลท่าโพธิ์ และตำบลบ้านกร่าง[16]
  • วันที่ 12 สิงหาคม 2490 โอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ตำบลหัวรอ ไปตั้งเป็นหมู่ 1 ตำบลพลายชุมพล[17]
  • วันที่ 17 ธันวาคม 2500 ตั้งตำบลบ้านคลอง แยกออกจากตำบลพลายชุมพล และตำบลวัดจันทร์[18]
  • วันที่ 31 กรกฎาคม 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านใหม่ ในท้องที่หมู่ 1 ตำบลวัดพริกกับหมู่ 6 ตำบลวังน้ำคู้[19]
  • วันที่ 26 กันยายน 2510 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอพรหมพิรามกับอำเภอเมืองพิษณุโลก โดยโอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลมะตูม อำเภอพรหมพิราม มาขึ้นกับตำบลจอมทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก[20]
  • วันที่ 10 ธันวาคม 2512 ขยายเขตเทศบาลเมืองพิษณุโลก[21] โดยขยายให้ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่บ้านวัดจันทร์ บ้านโพธิ์แดง ตำบลวัดจันทร์ กับบางส่วนของหมู่บ้านสนามบินเก่า บ้านโคกมะตูม บ้านคลองมหาดไทย ตำบลอรัญญิก และพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านคลอง
  • วันที่ 16 ตุลาคม 2522 ตั้งตำบลบึงพระ แยกออกจากตำบลวัดจันทร์ ตำบลวัดพริก และตำบลอรัญญิก[22]
  • วันที่ 15 กันยายน 2532 ตั้งตำบลไผ่ขอดอน แยกออกจากตำบลบ้านกร่าง[23]
  • วันที่ 17 กันยายน 2536 ตั้งตำบลงิ้วงาม แยกออกจากตำบลวังน้ำคู้[24]
  • วันที่ 8 มีนาคม 2542 ยกฐานะเทศบาลเมืองพิษณุโลก เป็นเทศบาลนครพิษณุโลก[25]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลบ้านใหม่ เป็นเทศบาลตำบลบ้านใหม่[26] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 5 กันยายน 2546 แยกพื้นที่หมู่ 6 บ้านเด่นโบสถ์ ตำบลบ้านกร่าง ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 12 บ้านเหนือรุ่งอรุณ[27]
  • วันที่ 20 กันยายน 2547 แยกพื้นที่หมู่ 3 บ้านโคกมะตูม ตำบลอรัญญิก ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 8 บ้านโคกมะตูม และแยกพื้นที่หมู่ 3 บ้านโคกมะตูม ตำบลอรัญญิก ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 9 บ้านโคกมะตูม และแยกพื้นที่หมู่ 3 บ้านโคกมะตูม ตำบลอรัญญิก ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 10 บ้านชาวแพ[28]
  • วันที่ 4 เมษายน 2549 แยกพื้นที่หมู่ 6 บ้านท่าพร้าว ตำบลมะขามสูง ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 10 บ้านแควน้อย[29]
  • วันที่ 13 ธันวาคม 2549 แยกพื้นที่หมู่ 5 บ้านยาง ตำบลท่าโพธิ์ ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 10 บ้านในไร่[30]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลพลายชุมพล เป็นเทศบาลตำบลพลายชุมพล[31] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลอรัญญิก เป็น เทศบาลเมืองอรัญญิก[32]
  • วันที่ 24 สิงหาคม 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลท่าทอง เป็นเทศบาลตำบลท่าทอง[33] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคลอง เป็น เทศบาลตำบลบ้านคลอง[34]
  • วันที่ 27 มกราคม 2557 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหัวรอ เป็นเทศบาลตำบลหัวรอ[35]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอเมืองพิษณุโลกแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 20 ตำบล 173 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ในเมือง (Nai Mueang) - 11. หัวรอ (Hua Ro) 12 หมู่บ้าน
2. วังน้ำคู้ (Wang Nam Khu) 8 หมู่บ้าน 12. จอมทอง (Chom Thong) 9 หมู่บ้าน
3. วัดจันทร์ (Wat Chan) 6 หมู่บ้าน 13. บ้านกร่าง (Ban Krang) 12 หมู่บ้าน
4. วัดพริก (Wat Phrik) 12 หมู่บ้าน 14. บ้านคลอง (Ban Khlong) 5 หมู่บ้าน
5. ท่าทอง (Tha Thong) 11 หมู่บ้าน 15. พลายชุมพล (Phlai Chumphon) 5 หมู่บ้าน
6. ท่าโพธิ์ (Tha Pho) 11 หมู่บ้าน 16. มะขามสูง (Makham Sung) 10 หมู่บ้าน
7. สมอแข (Samo Khae) 8 หมู่บ้าน 17. อรัญญิก (Aranyik) 10 หมู่บ้าน
8. ดอนทอง (Don Thong) 14 หมู่บ้าน 18. บึงพระ (Bueng Phra) 10 หมู่บ้าน
9. บ้านป่า (Ban Pa) 10 หมู่บ้าน 19. ไผ่ขอดอน (Phai Kho Don) 6 หมู่บ้าน
10. ปากโทก (Pak Thok) 7 หมู่บ้าน 20. งิ้วงาม (Ngio Ngam) 7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอเมืองพิษณุโลกประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 21 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลนครพิษณุโลก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งตำบล
  • เทศบาลเมืองอรัญญิก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอรัญญิกทั้งตำบล (เขตองค์การบริหารส่วนตำบลอรัญญิกเดิม)
  • เทศบาลตำบลบ้านใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังน้ำคู้ (เฉพาะพื้นที่บางส่วนของหมู่ 6) และตำบลวัดพริก (เฉพาะพื้นที่บางส่วนของหมู่ 1)
  • เทศบาลตำบลพลายชุมพล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพลายชุมพลทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลท่าทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าทองทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ้านคลอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านคลองทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหัวรอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวรอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำคู้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังน้ำคู้ (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดจันทร์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดพริก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดพริก (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าโพธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสมอแขทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านป่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปากโทก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากโทกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจอมทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจอมทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกร่างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะขามสูงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบึงพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงพระทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ขอดอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่ขอดอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลงิ้วงามทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลเมืองพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ก): 281–282. วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2458
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
  3. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0 ง): 1231. วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2470
  4. "ประกาศขยายเขตสุขาภิบาลเมืองพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 11–13. วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2472
  5. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลบางกระทุ่ม ตำบลวังอีทก และตำบลทุ่งพันเสา ซึ่งแยกตั้งขึ้นใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 378–379. วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2472
  6. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลสามเรือน ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากตำบลนครป่าหมาก ในท้องที่กิ่งบางกระทุ่ม อำเภอเมืองพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ง): 426. วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2473
  7. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ สำหรับตำบลสมอแข อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ง): 120. วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2474
  8. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก พุทธศักราช ๒๔๗๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ก): 1703–1707. วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478
  9. 9.0 9.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3287–3288. วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2481
  10. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 2210–2214. วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2482
  11. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 354–363. วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ง): 2528–2529. วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2483
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ง): 3237. วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2483
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก ศรีสะเกษ ตราด สิงห์บุรี อ่างทอง เพชรบุรี และระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (9 ง): 254–257. วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490
  15. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอบางกระทุ่ม อำเภอเมืองพิษณุโลก ขึ้นเป็นอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (58 ง): 1235–1236. วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2489
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (36 ง): 2089. วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2490
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์, อำเภอเมืองขอนแก่น และกิ่งอำเภอกระนวน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น, อำเภอเมืองชัยภูมิ และอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ, อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย, อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี, อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม, อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์, อำเภอลำปลายมาศ และกิ่งอำเภอกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์, อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก, อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์,อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอพนมไพร และอำเภอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอสังขะ และอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี, อำเภอพิบูลมังสาหาร และอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (107 ง): 2901–2928. วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2500
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านใหม่ จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (69 ง): 1659–1660. วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2505
  20. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอพรหมพิราม และอำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. ๒๕๑๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (90 ก): 747–749. วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2510
  21. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (117 ก): 1074–1081. วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2512
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (177 ง): 3638–3646. วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2522
  23. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอบางระกำ และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (154 ง): (ฉบับพิเศษ) 36–46. วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2532
  24. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (139 ง): (ฉบับพิเศษ) 45–47. วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2536
  25. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (14 ก): 5–9. วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2542
  26. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  27. "ประกาศจังหวัดพิษณุโลก เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 120 (ตอนพิเศษ 102 36 ง): 83–113. วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2546
  28. "ประกาศจังหวัดพิษณุโลก เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 103 ง): 42–102. วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2547
  29. "ประกาศจังหวัดพิษณุโลก เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 123 (ตอนพิเศษ 47 ง): 81–88. วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2549
  30. "ประกาศจังหวัดพิษณุโลก เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 123 (ตอนพิเศษ 128 ง): 15–37. วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549
  31. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลพลายชุมพล อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เป็น เทศบาลตำบลพลายชุมพล". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 125: 1. วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
  32. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะองค์การบริหารส่วนตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เป็น เทศบาลเมืองอรัญญิก". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 125: 1. วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
  33. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลท่าทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เป็น เทศบาลตำบลท่าทอง". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 129: 1. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555
  34. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เป็น เทศบาลตำบลบ้านคลอง". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 129: 1. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554
  35. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหัวรอ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เป็นเทศบาลตำบลหัวรอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 131 (ตอนพิเศษ 18 ง): 12. วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557