ปางประทานอภัย
ปางประทานอภัย เป็นพระพุทธรูปลักษณะยกพระหัตถ์เบื้องขวาตั้งหันฝ่าพระหัตถ์ไปข้างหน้า มีทั้งท่ายืน ท่าเดิน และท่าขัดสมาธิ หรือเรียกปางลักษณะนี้ว่าเป็น "ปางห้ามญาติ" หรือ "ปางโปรดสัตว์"
สำหรับประทับยืนของปางประทานอภัยแตกต่างกับปางประทานพรที่พระหัตถ์ข้างที่ทรงผายออก โดยปางประทานพรพระหัตถ์ข้างที่ทรงยกขึ้นจะงอปลายนิ้วลงมาเล็กน้อยหรือทรงทำมุทรา (สัญลักษณ์มือ) แต่ปางประทานอภัยจะทรงตั้งนิ้วขึ้นเสมอกันและมิทรงงอปลายนิ้วลงเลย[1]
ประวัติ
แก้พระเจ้าอชาตศัตรู พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร แห่งกรุงราชคฤห์ ถูกพระเทวทัตยุยงให้ปลงพระชนม์พระราชบิดา แล้วขึ้นครองราชแทน พระเจ้าอชาตศัตรูยังทรงช่วยสนับสนุนพระเทวทัตส่งนายขมังธนูไปปลงพระชนม์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ไม่สำเร็จ ภายหลังจากที่พระมเหสีคลอดพระราชโอรสจึงมีความดีใจเป็นล้นพ้นและสำนึกตัวว่าได้ทำบาปมหันต์ที่ปลงพระชนม์ชีพพระราชบิดา จึงเสด็จมาสารภาพความผิดและขอพระราชทานอภัยโทษกับพระพุทธองค์ ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งและทรงบำรุงพระพุทธศาสนา และอุปถัมภ์ในการทำสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 1
ความเชื่อและคตินิยม
แก้- เป็นพระประจำเดือน 12
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-20. สืบค้นเมื่อ 2019-01-12.
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี : โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
- เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
- สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
- ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล
[[หมวดหมู่:ปางพระพุทธรูป]