พระพุทธรูปปางมารวิชัย [มา-ระ-วิ-ไช] หรือ ชนะมาร หรือ มารสะดุ้ง เป็นพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ หลายที่เรียกผิดว่า ปางสะดุ้งมาร ซึ่งความจริงแล้ว มารต่างหากที่สะดุ้งพระพุทธองค์ ดังนี้ถ้าเรียกให้ถูกต้อง คือ ”ชนะมาร , ปางมารสะดุ้ง“

ลักษณะพระพุทธรูปปางมารวิชัย

ประวัติ

แก้

พระบรมโพธิสัตว์ (พระพุทธเจ้าก่อนบรรลุธรรม) ได้เสด็จไปประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ในเวลาเย็น และนั่งสมาธิกำหนดจิตเจริญสมาธิภาวนา ท้าววสวัตตีซึ่งคอยติดตามพระองค์อยู่ จึงเข้าขัดขวาง โดยขี่ช้างคิรีเมขละ นำเหล่าเสนามารจำนวนมากเข้ามารบกวน หวังให้พระองค์เกรงกลัวจะได้ลุกขึ้นเสด็จหนีไป แต่พระองค์ก็ยังประทับนิ่งเป็นปกติโดยมิได้ทรงหวั่นไหว มารจึงโกรธมาก สั่งให้เสนามารกลุ้มรุมกันประหารพระองค์ พระองค์จึงทรงนึกถึงบารมี 10 ทัศ ที่ทรงบำเพ็ญสั่งสมมาทุกชาติ โดยทรงเหยียดพระหัตถ์ออกจากภายในกลีบจีวร แล้วทรงชี้แผ่นดินด้วยพระดรรชนี (นิ้วมือ) จนทำให้เกิดแผ่นดินไหว ในที่สุดพญามารยอมแพ้หนีไป

ลักษณะพระพุทธรูป

แก้

ความเชื่อและคตินิยม

แก้
  • พระปางนี้นิยมสร้างเป็นพระประธานในพระอุโบสถ
  • เป็นพระประจำเดือนหก
  • เป็นพระประจำวันพระเกตุเสวยอายุแทนปางขัดสมาธิเพชรได้
  • เป็นพระประจำวันสำหรับผู้ที่ไม่ทราบวันเกิดตัวเอง[1]
  • (บทมารวิชัยสำหรับคนเกิดวันพฤหัสบดีจากวัดสวนดอก)

อ้างอิง

แก้
  1. หน้า 14 ประชาชื่น-ไอที, พระประจำผู้ที่ไม่รู้วันเกิด โดย บางกอกเฮี้ยน. "โลกสองวัย". มติชนปีที่ 40 ฉบับที่ 14248: วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี : โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513
  • เรื่องพระพุทธรูปปางต่าง ๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500
  • สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
  • ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล
  • จากวัดสวนดอก

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้