ปางขัดสมาธิเพชร
ปางขัดสมาธิเพชร เป็นชื่อเรียกพระพุทธรูปในอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิไขว้พระชงฆ์ (แข้ง) หงายฝ่าพระบาททั้งสองข้าง พระหัตถ์วางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้าย
ประวัติ
แก้เป็นท่านั่งสมาธิที่พระบรมโพธิสัตว์ ประทับนั่งหลังจากที่ รับหญ้าคา 8 กำ จากนายโสตถิยพราหมณ์แล้ว ทรงนำไปปูใต้ต้นศรีมหาโพธิ์แล้วทรงประทับนั่ง ในท่าขัดสมาธิเพชรนี้แล้วทรงอธิษฐานว่า "เนื้อและเลือดในสรีระนี้ แม้จะเหือดแห้งไปหมดสิ้น จะเหลือแต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที ถ้าเรายังไม่บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณก็จักไม่ทำลายบัลลังก์นี้" ด้วยพระหฤทัยที่แน่วแน่มั่นคง และทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา หรืออีกนัยหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จออกไปโปรดสัตว์ในเวลาเช้า เสวยแล้วทรงพักกลางวัน ทรงพระอิริยาบถนั่ง คือนั่งสมาธิ
ลักษณะพระพุทธรูป
แก้-
พระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร ศิลปทวารวดี
-
พระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร ศิลปเชียงแสน
ความเชื่อและคตินิยม
แก้- นิยมสร้างเป็นพระประธาน
- เป็นพระประจำวันพระเกตุเสวยอายุ บูชาตามพิธีทักษาสำหรับบุคคล เมื่อพระเกตุเสวยอายุ
- เป็นพระประจำวันสำหรับผู้ที่ไม่ทราบวันเกิดตัวเอง[1]
- พระคาถาสวดมนต์บูชา สวด 9 จบ
- ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก
- สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุกขะโณ สุมุตหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ ปะทักขิณัง
- กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ
อ้างอิง
แก้- ↑ หน้า 14 ประชาชื่น-ไอที, พระประจำผู้ที่ไม่รู้วันเกิด โดย บางกอกเฮี้ยน. "โลกสองวัย". มติชนปีที่ 40 ฉบับที่ 14248: วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี : โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
- เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
- สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
- ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล