อำเภอบางกระทุ่ม
บางกระทุ่ม เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก เดิมเป็นพื้นที่ของอำเภอวังทองและอำเภอเมืองพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2470 ได้แยกพื้นที่ 3 ตำบลของอำเภอวังทอง ได้แก่ ตำบลเนินกุ่ม ตำบลไผ่ล้อม ตำบลนครป่าหมาก และแยกพื้นที่ 3 ตำบลของอำเภอเมืองพิษณุโลก ได้แก่ ตำบลบ้านไร่ ตำบลโคกสลุด ตำบลสนามคลี รวมตั้งขึ้นเป็น "กิ่งอำเภอบางกระทุ่ม"[1][2] และยกฐานะเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2489[3]
อำเภอบางกระทุ่ม | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Bang Krathum |
หลวงพ่อเพชร พระประธานในอุโบสถวัดไพรสุวรรณ | |
คำขวัญ: กล้วยตากฉ่ำหวาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์สมุนไพร เลื่อมใสหลวงพ่อหรั่ง โอทอปดังห้าดาว สืบสานตำนานหลวงพ่อยม ชมประเพณีแข่งเรือบก โบสถ์นาคปรกบนดอกบัว | |
แผนที่จังหวัดพิษณุโลก เน้นอำเภอบางกระทุ่ม | |
พิกัด: 16°34′44″N 100°17′50″E / 16.57889°N 100.29722°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พิษณุโลก |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 447.0 ตร.กม. (172.6 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 45,918 คน |
• ความหนาแน่น | 102.73 คน/ตร.กม. (266.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 65110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6505 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบางกระทุ่ม เลขที่ 300 หมู่ที่ 3 ตำบลบางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก 65110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอบางกระทุ่มมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองพิษณุโลกและอำเภอวังทอง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอวังทอง
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสากเหล็กและอำเภอเมืองพิจิตร (จังหวัดพิจิตร)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสามง่าม (จังหวัดพิจิตร)
ประวัติ
แก้หมู่บ้านบางกระทุ่ม มาจากบรรพบุรุษอพยพโยกย้ายมาจากจังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อตั้งหลักแหล่งบริเวณอำเภอบางกระทุ่มปัจจุบัน เห็นว่าเป็นภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์มีน้ำทำนา มีป่าทึบ แสดงถึงความบริบูรณ์ จึงตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ บริเวณ ซึ่งมีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นต้นไม้ใหญ่ พุ่มใบหนา ยากต่อการถากถาง แต่ไม่มีผู้ใดรู้จักนามไม้ชนิดนี้ ชนกลุ่มนี้จึงเรียก “ต้นกระพุ่ม” และนามหมู่บ้านก็เรียก “บางกระพุ่ม” ต่อมากลายไปเป็น “บางกระทุ่ม” อีกนามหนึ่งของอำเภอนี้ในอดีตชื่ออำเภอนครป่าหมาก เนื่องจากมีต้นหมากขึ้นมากมาย
- วันที่ 17 กรกฎาคม 2470 แยกพื้นที่ตำบลเนินกุ่ม ตำบลไผ่ล้อม ตำบลนครป่าหมาก จากอำเภอป่าหมาก และตำบลบ้านไร่ ตำบลโคกสลุด ตำบลสนามคลี จากอำเภอเมืองพิษณุโลก มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอบางกระทุ่ม[4][5] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองพิษณุโลก
- วันที่ 23 มีนาคม 2472 ตั้งตำบลบางกระทุ่ม แยกออกจากตำบลนครป่าหมาก และตำบลสนามคลี[6]
- วันที่ 8 มีนาคม 2473 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลนครป่าหมาก กิ่งอำเภอบางกระทุ่ม อำเภอเมืองพิษณุโลก เป็น ตำบลสามเรือน[7]
- วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลบางผี กิ่งอำเภอบางกระทุ่ม อำเภอเมืองพิษณุโลก เป็น ตำบลท่าตาล และเปลี่ยนแปลงชื่อตำบลสามเรือน กิ่งอำเภอบางกระทุ่ม อำเภอเมืองพิษณุโลก เป็น ตำบลนครป่าหมาก[8]
- วันที่ 22 ตุลาคม 2483 โอนพื้นที่หมู่ 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลไผ่ล้อม และหมู่ 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านไร่ ไปขึ้นกับตำบลบางกระทุ่ม กับโอนพื้นที่หมู่ 1,2 (ในขณะนั้น) ของตำบลโคกสลุด ไปขึ้นกับตำบลสนามคลี[9]
- วันที่ 3 กันยายน 2489 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอบางกระทุ่ม อำเภอเมืองพิษณุโลก เป็น อำเภอบางกระทุ่ม[10]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลโคกสลุด แยกออกจากตำบลสนามคลี และตำบลบ้านไร่[11]
- วันที่ 26 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลบางกระทุ่ม ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางกระทุ่ม[12]
- วันที่ 10 สิงหาคม 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลเนินกุ่ม ในท้องที่หมู่ที่ 1-12 ของตำบลเนินกุ่ม[13] (ทั้งตำบล)
- วันที่ 21 กันยายน 2514 ตั้งตำบลวัดตายม แยกออกจากตำบลเนินกุ่ม[14]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางกระทุ่ม และสุขาภิบาลเนินกุ่ม เป็นเทศบาลตำบลบางกระทุ่ม และเทศบาลตำบลเนินกุ่ม ตามลำดับ[15] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 10 มิถุนายน 2556 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระทุ่ม เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ว และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ว ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลห้วยแก้ว[16]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอบางกระทุ่มแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 ตำบล 88 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บางกระทุ่ม | (Bang Krathum) | 9 หมู่บ้าน | ||||
2. | บ้านไร่ | (Ban Rai) | 10 หมู่บ้าน | ||||
3. | โคกสลุด | (Khok Salut) | 10 หมู่บ้าน | ||||
4. | สนามคลี | (Sanam Khli) | 6 หมู่บ้าน | ||||
5. | ท่าตาล | (Tha Tan) | 9 หมู่บ้าน | ||||
6. | ไผ่ล้อม | (Phai Lom) | 11 หมู่บ้าน | ||||
7. | นครป่าหมาก | (Nakhon Pa Mak) | 13 หมู่บ้าน | ||||
8. | เนินกุ่ม | (Noen Kum) | 11 หมู่บ้าน | ||||
9. | วัดตายม | (Wat Ta Yom) | 9 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอบางกระทุ่มประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบางกระทุ่ม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 3-5 ของตำบลบางกระทุ่ม
- เทศบาลตำบลเนินกุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเนินกุ่มและตำบลวัดตายมทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลห้วยแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1-2 และหมู่ที่ 6-9 รวมถึงบางส่วนของ หมู่ที่ 3-5 ของตำบลบางกระทุ่ม (นอกเขตเทศบาลตำบลบางกระทุ่ม)
- เทศบาลตำบลสนามคลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสนามคลีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านไร่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสลุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสลุดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าตาลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ล้อม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่ล้อมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนครป่าหมาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนครป่าหมากทั้งตำบล
สถานศึกษาของรัฐ (มัธยมศึกษา)
แก้- โรงเรียนบางกระทุ่มพิทยาคม
- โรงเรียนเนินกุ่มวิทยา
ของดีของอำเภอ
แก้- กล้วยตากบางกระทุ่ม
- ไวน์สมุนไพร
- เครื่องจักสาน
อ้างอิง
แก้- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0 ง): 1231. วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2470
- ↑ "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ สำหรับท้องที่กิ่งอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก และกิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง จังหวัดเชียงรายซึ่งตั้งขึ้นใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0 ก): 118–119. วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2470
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอบางกระทุ่ม อำเภอเมืองพิษณุโลก ขึ้นเป็นอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (58 ง): 1235–1236. วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2489
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0 ง): 1231. July 17, 1927. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-15.
- ↑ "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ สำหรับท้องที่กิ่งอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก และกิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง จังหวัดเชียงรายซึ่งตั้งขึ้นใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0 ก): 118–119. July 31, 1927.
- ↑ "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลบางกระทุ่ม ตำบลวังอีทก และตำบลทุ่งพันเสา ซึ่งแยกตั้งขึ้นใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 378–379. March 23, 1929.
- ↑ "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลสามเรือน ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากตำบลนครป่าหมาก ในท้องที่กิ่งบางกระทุ่ม อำเภอเมืองพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ก): 426. March 8, 1930.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. April 17, 1939. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2021-07-15.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ง): 2528–2529. October 22, 1940.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอบางกระทุ่ม อำเภอเมืองพิษณุโลก ขึ้นเป็นอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (58 ง): 1235–1236. September 3, 1946. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2021-07-15.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-15.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (10 ง): (ฉบับพิเศษ) 39-40. January 26, 1957.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเนินกุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (64 ง): 2068–2069. August 10, 1965.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอวังทอง และอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (101 ง): 2569–2576. September 21, 1971.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-15.
- ↑ "เปลี่ยนชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระทุ่ม ไปเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ว และจัดตั้งเทศบาลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ว เป็นเทศบาลตำบลห้วยแก้ว". June 10, 2013.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)