อำเภอวังทอง
วังทอง เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก เดิมมีพื้นที่ขนาดใหญ่มาก ต่อมามีการแบ่งพื้นที่การปกครองออกในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ครอบคลุมท้องที่ทั้งหมดของอำเภอวังทอง อำเภอเนินมะปราง[1] บางส่วนของอำเภอบางกระทุ่ม[2] ในจังหวัดพิษณุโลก พื้นที่ทั้งหมดของอำเภอสากเหล็ก บางส่วนของอำเภอเมืองพิจิตร บางส่วนของอำเภอวังทรายพูน[3] ในจังหวัดพิจิตร รวมไปถึงพื้นที่ของอำเภอวังโป่งทั้งหมด ในจังหวัดเพชรบูรณ์
อำเภอวังทอง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Wang Thong |
น้ำตกวังนกแอ่น (สวนรุกชาติสกุโณทยาน) | |
คำขวัญ: ล้ำค่าเขาสมอแคลง ล่องแก่งชมไพร ผัดไทยขึ้นชื่อ เลื่องลือส้มแผ่น ดินแดนน้ำตกงาม | |
แผนที่จังหวัดพิษณุโลก เน้นอำเภอวังทอง | |
พิกัด: 16°49′27″N 100°25′43″E / 16.82417°N 100.42861°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พิษณุโลก |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,687.05 ตร.กม. (651.37 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 118,501 คน |
• ความหนาแน่น | 70.24 คน/ตร.กม. (181.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 65130, 65220 (เฉพาะตำบลบ้านกลางและแก่งโสภา) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6508 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอวังทอง ถนนพิษณุโลก-หล่มสัก ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก 65130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอวังทองมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอวัดโบสถ์ อำเภอชาติตระการ และอำเภอนครไทย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอนครไทย อำเภอเขาค้อ (จังหวัดเพชรบูรณ์) และอำเภอเนินมะปราง
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเนินมะปราง อำเภอสากเหล็ก (จังหวัดพิจิตร) และอำเภอบางกระทุ่ม
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองพิษณุโลกและอำเภอวัดโบสถ์
ประวัติ
แก้ตามหลักฐาน อำเภอวังทองตั้งเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2438 ในเวลานั้นยังไม่มีเขตการปกครอง ตั้งอยู่ที่บ้านสามเรือน ซึ่งเรียกว่า อำเภอนครป่าหมาก[4] ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2441 ได้ย้ายจากบ้านสามเรือน ตำบลนครป่าหมาก มาตั้งที่บ้านวังทอง ตำบลตลาดชุม (ปัจจุบัน คือ ตำบลวังทอง ตรงกับตลาดเทศบาลวังทอง) แต่ยังคงใช้ชื่อเดิม[5]
ในปี พ.ศ. 2451 ท้องที่ตำบลสากเหล็ก ตำบลป่ามะคาบ และตำบลวังโป่ง เขตอำเภอนครป่าหมาก มีระยะทางห่างไกลจากตัวอำเภอจึงได้โอนพื้นที่ตำบลสากเหล็ก ตำบลป่ามะคาบ ไปขึ้นกับอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร และโอนพื้นที่ตำบลวังโป่งไปขึ้นกับกิ่งอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์[3]
ในปี พ.ศ. 2470 ได้ประกาศจัดตั้งเขตการปกครองกิ่งอำเภอบางกระทุ่ม โดยขึ้นต่ออำเภอเมืองพิษณุโลก มีการโอนพื้นที่ตำบลเนินกุ่ม ตำบลไผ่ล้อม และตำบลนครป่าหมาก ไปเป็นเขตปกครองของกิ่งอำเภอบางกระทุ่ม[2][6] และได้รับโอนพื้นที่ตำบลบ้านกลาง ตำบลแก่งโสภา ซึ่งขณะนั้นอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองนครไทย ให้มาขึ้นกับเขตการปกครองของทางอำเภอ[7] ต่อมาบริเวณที่ว่าการอำเภอนครป่าหมากได้ถูกน้ำเซาะตลิ่งพัง จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภออีกครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อตำบลที่ตั้งอำเภอจากชื่อตำบลตลาดชุม เป็น "ตำบลวังทอง" และเปลี่ยนชื่ออำเภอให้เป็น "อำเภอวังทอง"[8] มาจนถึงปัจจุบันนี้
ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2499 ได้จัดตั้งสุขาภิบาลวังทองในท้องที่บางส่วนของตำบลวังทอง
ในปี พ.ศ. 2510 ได้แยก 5 หมู่บ้านของตำบลวังทอง ตำบลท่าหมื่นราม และตำบลแม่ระกา แล้วตั้งเป็นตำบลหนองพระ
ในปี พ.ศ. 2514 ได้แยก 9 หมู่บ้านของตำบลบ้านมุง แล้วจัดตั้งเป็นตำบลไทรย้อย และได้แยก 8 หมู่บ้านของตำบลท่าหมื่นราม โดยตั้งเป็นตำบลพันชาลี
ในปี พ.ศ. 2519 ได้มีการแบ่งพื้นที่อีกครั้งโดยประกาศจัดตั้งเขตการปกครองกิ่งอำเภอเนินมะปราง โดยมีพื้นที่ตำบลชมพู ตำบลบ้านมุง ตำบลไทรย้อย[1]
ในปี พ.ศ. 2521 ได้แยก 9 หมู่บ้านของตำบลไทรย้อย และจัดตั้งเป็นตำบลวังโพรง ในเขตกิ่งอำเภอเนินมะปราง
ในปี พ.ศ. 2523 ได้แยก 9 หมู่บ้านของตำบลวังทอง แล้วจัดตั้งเป็นตำบลดินทอง รวมทั้งได้แยกอีก 7 หมู่บ้านของตำบลบ้านมุง และจัดตั้งเป็นตำบลบ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก ในกิ่งอำเภอเนินมะปราง
ในปี พ.ศ. 2526 ยกฐานะกิ่งอำเภอเนินมะปราง อำเภอวังทอง เป็นอำเภอเนินมะปราง
ในปี พ.ศ. 2542 ได้ยกฐานะสุขาภิบาลวังทอง เป็น เทศบาลตำบลวังทอง ด้วยผลของกฎหมาย
ในปี พ.ศ. 2546 ได้กำหนดเขตหมู่บ้านใหม่ โดยที่ตำบลบ้านกลางได้แยกบ้านหนองปรือ หมู่ที่ 1 และจัดตั้งเป็นหมู่ที่ 27 บ้านปลายนา และบ้านเจริญผล หมู่ที่ 5 ตำบลหนองพระ และจัดตั้งเป็นหมู่ที่ 12 บ้านพัฒนาทร
ในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการกำหนดเขตหมู่บ้านใหม่อีกครั้ง ดังนี้
- ตำบลวังทอง ได้แยกบ้านน้ำด้วน หมู่ที่ 3 และจัดตั้งเป็นหมู่ที่ 13 บ้านน้ำเย็น รวมทั้งบ้านตาลโปร่ง หมู่ที่ 2 ได้แยกจัดตั้งเป็นหมู่ที่ 14 บ้านหนองบอน และบ้านเสือลากหาง หมู่ที่ 9 แยกเป็นหมู่ที่ 15 บ้านศรีชนูทิศ
- ตำบลชัยนามได้แยกบ้านท่าโปร่ง หมู่ที่ 4 จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 9 บ้านคลองนาเมี่ยง
- ตำบลวังนกแอ่นได้แยกบ้านท่าข้าม หมู่ที่ 5 และตั้งเป็นหมู่ที่ 20 บ้านแสนสุขพัฒนา
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอวังทองแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 168 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | วังทอง | (Wang Thong) | 15 หมู่บ้าน | 7. | ท่าหมื่นราม | (Tha Muen Ram) | 14 หมู่บ้าน | ||||||||||||
2. | พันชาลี | (Phan Chali) | 17 หมู่บ้าน | 8. | วังนกแอ่น | (Wang Nok Aen) | 20 หมู่บ้าน | ||||||||||||
3. | แม่ระกา | (Mae Raka) | 15 หมู่บ้าน | 9. | หนองพระ | (Nong Phra) | 12 หมู่บ้าน | ||||||||||||
4. | บ้านกลาง | (Ban Klang) | 27 หมู่บ้าน | 10. | ชัยนาม | (Chai Nam) | 8 หมู่บ้าน | ||||||||||||
5. | วังพิกุล | (Wang Phikun) | 15 หมู่บ้าน | 11. | ดินทอง | (Din Thong) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||||||
6. | แก่งโสภา | (Kaeng Sopha) | 13 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอวังทองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลวังทอง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลวังทอง
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังทอง (นอกเขตเทศบาลตำบลวังทอง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลพันชาลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพันชาลีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ระกา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ระกาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกลางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังพิกุล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังพิกุลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งโสภา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแก่งโสภาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหมื่นราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหมื่นรามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังนกแอ่นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองพระทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลชัยนาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชัยนามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดินทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดินทองทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเนินมะปราง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (106 ง): (ฉบับพิเศษ) 17. วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2519
- ↑ 2.0 2.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0 ง): 1231. วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2470
- ↑ 3.0 3.1 "ประกาศ [ยกเลิกหนังสือสำคัญเดิมสำหรับที่ดิน ตำบลดอนทอง ตำบลวัดจันทร์ ตำบลบ้านไร่ อำเภอในเมือง ตำบลหินลาด ตำบลพันโช้ง ตำบลท่างาม ตำบลวัดโบถ ตำบลตลุกกระเทียม ตำบลกกแรด อำเภอพรมพิราม ตำบลชุมภู ตำบลชัยนาม ตำบลวังโป่ง ตำบลสากเหล็ก อำเภอนครป่าหมาก ตำบลบึงกอก ตำบลหนองคุลา ตำบลบางระกำ ตำบลปรักแรด ตำบลหาดตรวด อำเภอชุมแสง แขวงเมืองพิษณุโลก]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (0 ง): 372. วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2506
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [ให้หลวงศรีสุรเกษตรานุรักษ์ ผู้ตรวจการมณพลพิษณุโลก ไปเป็นนายอำเภอนครป่าหมาก]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (0 ง): 219. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2448
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
- ↑ "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ สำหรับท้องที่กิ่งอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก และกิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง จังหวัดเชียงรายซึ่งตั้งขึ้นใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0 ก): 118–119. วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2470
- ↑ "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลทับยายเชียง ซึ่งแยกมาจากตำบลมะต้องและตำบลวงฆ้อง อำเภอพรมพิาม กับตำบลป่าคาย ซึ่งแยกมาจากตำบลแก่งโสภา อำเภอเมืองนครไทย จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49 (0 ก): 659–660. วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482