อำเภอพรหมพิราม

อำเภอในจังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย

พรหมพิราม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 28 กิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของจังหวัด

อำเภอพรหมพิราม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Phrom Phiram
คำขวัญ: 
พรหมพิรามเมืองพระ วังมะสระพระเครื่อง ลือเลื่องทุ่งสาน ชลประทานเขื่อนนเรศวร หลากล้วนมังคละดนตรี ประเพณียกธง
แผนที่จังหวัดพิษณุโลก เน้นอำเภอพรหมพิราม
แผนที่จังหวัดพิษณุโลก เน้นอำเภอพรหมพิราม
พิกัด: 17°2′0″N 100°12′6″E / 17.03333°N 100.20167°E / 17.03333; 100.20167
ประเทศ ไทย
จังหวัดพิษณุโลก
พื้นที่
 • ทั้งหมด832.67 ตร.กม. (321.50 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2567)
 • ทั้งหมด83,748 คน
 • ความหนาแน่น100.57 คน/ตร.กม. (260.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 65150,
65180 (เฉพาะตำบลวงฆ้อง มะต้อง ดงประคำ ศรีภิรมย์ และตลุกเทียม)
รหัสภูมิศาสตร์6506
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอพรหมพิราม ถนนพรหมวิถี ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก 65150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

แก้

คำว่า "พรหมพิราม" หมายถึง เมืองที่งดงามเป็นที่อยู่แห่งพรหมหรือพระเจ้าผู้สร้างโลก เดิมเรียกว่า เมืองพรหมพิราม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน ตำบลมะตูม ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอชื่อว่า อำเภอพรหมพิราม เมื่อ พ.ศ. 2438 และได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ฝั่งขวาของลำน้ำน่านที่ บ้านย่านขาด เมื่อประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา[เมื่อไร?] ต่อมารัฐบาลสร้างทางรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพ-เชียงใหม่) ขึ้น จึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งใกล้ทางรถไฟอีกครั้งหนึ่งที่บ้านกรับพวง (ปัจจุบัน คือ บ้านพรหมพิราม) ตำบลพรหมพิราม ห่างจากสถานีรถไฟพรหมพิราม ประมาณ 500 เมตร สำหรับอาคารนั้นแต่เดิมเป็นไม้ชั้นเดียว ในปี พ.ศ. 2503 จึงได้ปรับปรุงขึ้นเป็น 2 ชั้น โดยเทพื้นคอนกรีตใต้ถุนอาคารเดิมและตีฝาโดยรอบ ซึ่งใช้เป็นที่ทำการของส่วนราชการต่าง ๆ ปัจจุบันได้สร้างที่ว่าการอำเภอใหม่ ณ สถานที่เดิมเป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น และเปิดทำการเมื่อ ปี พ.ศ. 2519[1]

  • วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2475 ตั้งตำบลทับยายเชียง แยกออกจากตำบลมะต้อง และตำบลวงฆ้อง[2]
  • วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดพิษณุโลก กับจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยโอนพื้นที่หมู่ 5, 7 (ในขณะนั้น) ของตำบลตลุกเทียม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ไปขึ้นกับหมู่ 9 ของตำบลพญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้ถือคลองต่อเขตฝั่งเหนือนับตั้งแต่ริมบ้านข่อม ไปจนตลอดปลายคลองซึ่งต่อกับคลองตรั่งเป็นเส้นแบ่งเขต[3]
  • วันที่ 31 ธันวาคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ 10 ตำบลมะตูม อำเภอพรหมพิราม ไปขึ้นตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก[4]
  • วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2490 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก กับอำเภอพรหมพิราม โดยโอนพื้นที่หมู่ 13 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก มาขึ้นกับตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม[5]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลคันโช้ง แยกออกจากตำบลหินลาด ตั้งตำบลท้อแท้ แยกออกจากตำบลวัดโบสถ์ ตั้งตำบลทับยายเชียง แยกออกจากตำบลวงฆ้อง และตำบลมะต้อง ตั้งตำบลบ้านยาง แยกออกจากตำบลหินลาด และตำบลท่างาม[6]
  • วันที่ 9 ธันวาคม 2490 แยกพื้นที่ตำบลวัดโบสถ์ ตำบลท้อแท้ ตำบลท่างาม ตำบลหินลาด และตำบลคันโช้ง ของอำเภอพรหมพิราม ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอวัดโบสถ์[7] และขึ้นการปกครองกับอำเภอพรหมพิราม
  • วันที่ 23 ธันวาคม 2490 โอนพื้นที่ตำบลบ้านยาง อำเภอพรหมพิราม ไปขึ้นกับ กิ่งอำเภอวัดโบสถ์[8]
  • วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลวงฆ้อง ในท้องที่บางส่วนของตำบลวงฆ้อง และบางส่วนของตำบลมะต้อง[9]
  • วันที่ 5 มิถุนายน 2499 ยกฐานะกิ่งอำเภอวัดโบสถ์ อำเภอพรหมพิราม เป็น อำเภอวัดโบสถ์[10]
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลพรหมพิราม ในท้องที่บางส่วนของตำบลพรหมพิราม[11]
  • วันที่ 26 กันยายน 2510 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอพรหมพิราม กับอำเภอเมืองพิษณุโลก โดยโอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลมะตูม อำเภอพรหมพิราม ไปขึ้นกับตำบลจอมทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก[12]
  • วันที่ 5 กันยายน 2521 ตั้งตำบลดงประคำ แยกออกจากตำบลทับยายเชียง[13]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลวงฆ้อง และสุขาภิบาลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม เป็นเทศบาลตำบลวงฆ้อง และเทศบาลตำบลพรหมพิราม ตามลำดับ[14]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2547 กำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอพรหมพิรามให้มีอาณาเขตตำบลที่ถูกต้อง โดยกำหนดให้ตำบลพรหมพิรามให้มีเขตการปกครองรวม 15 หมู่บ้าน ตำบลท่าช้าง ให้มีเขตการปกครองรวม 13 หมู่บ้าน ตำบลวงฆ้อง ให้มีเขตการปกครองรวม 11 หมู่บ้าน ตำบลมะตูม ให้มีเขตการปกครองรวม 6 หมู่บ้าน ตำบลหอกลอง ให้มีเขตการปกครองรวม 7 หมู่บ้าน ตำบลศรีภิรมย์ ให้มีเขตการปกครองรวม 12 หมู่บ้าน ตำบลตลุกเทียม ให้มีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน ตำบลวังวน ให้มีเขตการปกครองรวม 10 หมู่บ้าน ตำบลหนองแขม ให้มีเขตการปกครองรวม 10 หมู่บ้าน ตำบลมะต้อง ให้มีเขตการปกครองรวม 11 หมู่บ้าน ตำบลทับยายเชียง ให้มีเขตการปกครองรวม 6 หมู่บ้าน และตำบลดงประคำ ให้มีเขตการปกครองรวม 10 หมู่บ้าน[15]

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอพรหมพิรามห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 30 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอพรหมพิรามแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล 123 หมู่บ้าน ได้แก่

1. พรหมพิราม (Phrom Phiram) 15 หมู่บ้าน 7. ตลุกเทียม (Taluk Thiam) 8 หมู่บ้าน
2. ท่าช้าง (Tha Chang) 13 หมู่บ้าน 8. วังวน (Wang Won) 10 หมู่บ้าน
3. วงฆ้อง (Wong Khong) 11 หมู่บ้าน 9. หนองแขม (Nong Khaem) 10 หมู่บ้าน
4. มะตูม (Matum) 6 หมู่บ้าน 10. มะต้อง (Matong) 11 หมู่บ้าน
5. หอกลอง (Ho Klong) 7 หมู่บ้าน 11. ทับยายเชียง (Thap Yai Chiang) 6 หมู่บ้าน
6. ศรีภิรมย์ (Si Phirom) 13 หมู่บ้าน 12. ดงประคำ (Dong Prakham) 11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอพรหมพิรามประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลพรหมพิราม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลพรหมพิราม
  • เทศบาลตำบลวงฆ้อง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลวงฆ้องและตำบลมะต้อง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพรหมพิราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพรหมพิราม (นอกเขตเทศบาลตำบลพรหมพิราม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าช้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวงฆ้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวงฆ้อง (นอกเขตเทศบาลตำบลวงฆ้อง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมะตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะตูมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหอกลอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหอกลองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีภิรมย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีภิรมย์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตลุกเทียม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลุกเทียมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังวนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแขม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแขมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมะต้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะต้อง (นอกเขตเทศบาลตำบลวงฆ้อง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทับยายเชียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับยายเชียงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดงประคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงประคำทั้งตำบล

อาชญากรรม

แก้

อำเภอนี้เป็นที่รู้จักจากคดีข่มขืนแล้วฆ่าเมื่อ พ.ศ. 2520[16]

อ้างอิง

แก้
  1. [1] เก็บถาวร 2021-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประวัติอำเภอพรหมพิราม
  2. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลทับยายเชียง ซึ่งแยกมาจากตำบลมะต้องและตำบลวงฆ้อง อำเภอพรมพิม กับตำบลป่าคาย ซึ่งแยกมาจากตำบลแก่งโสภา อำเภอเมืองนครไทย จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49 (0 ก): 659–660. February 19, 1932.
  3. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. 1 เมษายน 2480. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2020-05-13.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ง): 3237. December 31, 1938.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก ศรีสะเกษ ตราด สิงห์บุรี อ่างทอง เพ็ชรบุรี และระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (9 ง): 254–257. 18 กุมภาพันธ์ 2490.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. 10 มิถุนายน 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-13.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (60 ง): 3188–3193. 9 ธันวาคม 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-13.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (62 ง): 3469–3470. 23 ธันวาคม 2490.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลวงฆ้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 88-89. 17 กันยายน 2498.
  10. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอคำชะอี อำเภอย่านตาขาว อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอหนองบัว อำเภอวัฒนานคร อำเภอแสวงหา อำเภอท่าชนะ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอโนนสัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอคีรีมาศ อำเภอชนแดน อำเภอแม่แจ่ม อำเภอไทรน้อย และอำเภอบ้านแพง พ.ศ. ๒๔๙๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (46 ก): 657–661. 5 มิถุนายน 2499. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2020-05-13.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 51-52. 28 พฤศจิกายน 2499.
  12. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอพรหมพิราม และอำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. ๒๕๑๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (90 ก): 747–749. 26 กันยายน 2510.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพรหมพิราม และกิ่งอำเภอเนินมะปราง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (92 ง): 2897–2901. 5 กันยายน 2521.
  14. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-13.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (85 ง): 13–57. 21 ตุลาคม 2547.
  16. "นอภ. พรหมพิรามวอนสังคมหยุดพูดโยนบาปคดีข่มขืนโหดให้คนพรหมพิราม". มติชนออนไลน์. กรุงเทพฯ: มติชน. 2560-09-07. สืบค้นเมื่อ 2565-02-28. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)