หมู่บ้าน (ประเทศไทย)

หมู่บ้าน เป็นรูปแบบการปกครองลักษณะปกครองท้องที่ นับเป็นเขตการปกครองขนาดเล็กที่สุดของประเทศไทย โดยแบ่งย่อยออกจากตำบลอีกทีหนึ่ง จากข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยมีหมู่บ้าน 75,086 หมู่บ้าน[1] และจากข้อมูลสำมะโนประชากรเมื่อปี พ.ศ. 2533 แต่ละหมู่บ้านมีประชากรโดยเฉลี่ย 144 ครัวเรือน หรือ 746 คน หมู่บ้านไม่จำเป็นจะต้องครอบคลุมถิ่นฐานหนึ่งทั้งหมดก็ได้ ชุมชนขนาดใหญ่สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายหมู่บ้าน ขณะที่ชุมชนขนาดเล็กสามารถรวมเข้าด้วยกันเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ๆ ได้ คำว่า "หมู่บ้าน" มักจะถูกย่อเหลือเป็น "บ้าน" ในชื่อหมู่บ้าน

การปกครองหมู่บ้าน แก้

ในการปกครองหมู่บ้าน จะเป็นไปตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 โดยกำหนดให้หมู่บ้าน มี ผู้ใหญ่บ้าน ทำหน้าที่ปกครองหมู่บ้าน และมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน โดยผู้ใหญ่บ้านจะถูกเลือกขึ้นมาจากประชากรในหมู่บ้านนั้น แล้วจึงได้รับแต่งตั้งจากนายอำเภอท้องที่ ผู้ใหญ่บ้านมีผู้ช่วยสองคน คนหนึ่งรับผิดชอบกิจการของรัฐและอีกคนหนึ่งรับผิดชอบกิจการความมั่นคง นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการหมู่บ้านที่ได้รับเลือกจากสมาชิกในหมู่บ้าน ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่ปรึกษาของหมู่บ้านนั้น ซึ่งตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านนั้นจะยกเลิกมิได้[2]

ในอดีตไม่มีการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของผู้ใหญ่บ้าน[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 ได้กำหนดให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ และอายุไม่เกิน 60 ปี[4] จากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของผู้ใหญ่บ้านอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2525 โดยกำหนดให้ผู้ใหญ่บ้านมีอายุ 25 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60 ปี[5] กระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน โดยกำหนดเพิ่มเติมในมาตรา 6 (1 ทวิ) ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีวาระการดำรตำแหน่งคราวละ 5 ปี[6] แต่ในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการปรับปรุงวาระการดำรงตำแหน่งอีกครั้ง โดยยกเลิกวาระ 5 ปี แต่ปรับเปลี่ยนมาเป็นการประเมินทุก 5 ปีแทน[7]

ในเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนครจะไม่มีหมู่บ้าน แต่จะเรียกว่า "ชุมชน" แทน

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศกรมการปกครอง เรื่อง แจ้งข้อมูลทางการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564". กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2552
  3. พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457
  4. พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2489
  5. พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2525
  6. พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2535
  7. พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551