เหรียญสนองเสรีชน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เหรียญสนองเสรีชน เป็นเหรียญที่พระราชทานเป็นที่ระลึก ผู้สร้างคือ จอมพล ถนอม กิตติขจร โดยในใช้อักษรย่อว่า ส.ส.ช.[1]
เหรียญสนองเสรีชน | |
---|---|
มอบโดย นายกรัฐมนตรีไทย | |
อักษรย่อ | ส.ส.ช. |
ประเภท | เหรียญที่มอบเป็นที่ระลึก |
วันสถาปนา | 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 |
ประเทศ | ![]() |
ภาษิต | สนองเสรีชน |
จำนวนสำรับ | ไม่จำกัดจำนวน |
แพรแถบ | ![]() |
ผู้สมควรได้รับ | เหรียญเชิดชูเกียรติเป็นการตอบแทนคุณงามความดีและเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลเพื่อมอบให้แก่ผู้สนับสนุนช่วยเหลือในการปฏิบัติการป้องกันหรือปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ |
สถานะ | พ้นสมัยการมอบ |
ผู้สถาปนา | ถนอม กิตติขจร |
ล้มเลิก | พ.ศ. 2516 |
ประวัติ
แก้เหรียญสนองเสรีชน สร้างขึ้นตามประกาศคณะปฏิวัติ (ฉบับที่ 305) โดยจอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นเหรียญที่มอบให้แก่ผู้ที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนการป้องกันหรือปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เช่น บริจาคเงิน สิ่งของ ตลอดจนให้การช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่ทางราชการในการป้องกันหรือปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
ลักษณะของเหรียญ
แก้เหรียญสนองเสรีชน เป็นเหรียญโลหะสีเงิน รูปกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลาง 35 มิลลิเมตร ด้านหน้าเหรียญตรงกลางมีรูปจักร มีสมอขัดในวงจักร ซ้ายขวาของจักรมีรูปปีกนกทับอยู่บนพระแสงดาบ เขน และโล่ ตอนบนเป็นรูปครุฑพ่าห์ ด้านหลังเหรียญตรงกลางมีอักษรจารึกว่า “สนองเสรีชน” มีลายไทยประกอบอยู่เบื้องหลัง และมีลายพุ่มข้าวบิณฑ์ทำด้วยโลหะสีเงินติดที่ห่วง สำหรับบุรุษใช้ห้อยกับแพรแถบกว้าง 35 มิลลิเมตร พื้นสีน้ำเงิน ตรงกลางมีริ้วสีขาว 4 ริ้ว กับริ้วสีแดง 3 ริ้ว สลับกันกว้าง 15 มิลลิเมตร สำหรับสตรีใช้ห้อยกับแพรแถบดังกล่าวผูกเป็นรูปแมลงปอ
การมอบเหรียญ
แก้คุณสมบัติของผู้ที่ได้รับ
แก้- เป็นผู้ที่ช่วยเหลือสนับสนุนการป้องกัน หรือปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เช่น การบริจาคเงิน สิ่งของ ตลอดจนให้การช่วยเหลือกิจการด้านต่าง ๆ แก่ทางราชการในการป้องกันหรือผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
- เป็นผู้มีความพฤติเรียบร้อย[2]
การเสนอขอ
แก้ให้ผู้บังคับบัญชาหน่วยขึ้นตรงต่อผู้อํานวยการป้องกันการ กระทําอันเป็นคอมมิวนิสต์ทั่วไปพิจารณาเสนอขอให้แก่บุคคลผู้มีคุณสมบัติตามข้อ 2 โดยจัดทํา ตามแบบบัญชีที่แนบทายระเบียบนี้เสนอไปยังผู้อํานวยการป้องกันการกระทําอันเป็นคอมมิวนิสต์ทั่วไป[2]
พิจารณา
แก้โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีให้ ผู้อํานวยการป้องกันการกระทําอันเป็นคอมมิวนิสต์ทั่วไป แต่งตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการพิจารณาการขอเหรียญสนองเสรีชน” มีหน้าที่ดําเนินการและพิจารณาบุคคลที่สมควรได้รับเหรียญสนองเสรีชนแล้ว ส่งผลการพิจารณานั้นให้กระทรวงมหาดไทยดําเนินการต่อไป และให้คณะกรรมการนี้มีอํานาจหน้าที่ ติดต่อประสานงานกับกระทรวง, ทบวง, กรม ต่าง ๆ ได้ด้วย[2]
การมอบ
แก้ให้กระทรวงมหาดไทย พิจารณาและประกาศ รายชื่อบุคคลที่สมควรได้รับเหรียญสนองเสรีชน และจัดสร้างเหรียญเพื่อมอบให้แก่ผู้ได้รับตามที่ได้ประกาศรายชื่อแล้ว[2]
ผู้ที่ได้รับมอบ
แก้- พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
- พลเอก วิมล วงศ์วานิช
- ปิยะณัฐ วัชราภรณ์
- เอนก ทับสุวรรณ
- คำรณ ณ ลำพูน
- ยิ่งพันธ์ มนะสิการ
- เฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย
- สันติ ชัยวิรัตนะ
- สมบูรณ์ จีระมะกร
- หม่อมเจ้าสนิทประยูรศักดิ์ รังสิต
- จารุลักษณ์กัลยาณี บูรณะนนท์
- ท่านผู้หญิง วิจิตรา ธนะรัชต์
- สุเทพ เทือกสุบรรณ
- เสนาะ เทียนทอง
- ชวน หลีกภัย
- วันมูหะมัดนอร์ มะทา
- เกรียง กัลป์ตินันท์
- จุติ ไกรฤกษ์
- พลตํารวจเอก ดร.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์
- กิตติรัตน์ ณ ระนอง
- อำนวย ยศสุข
- สุมิตร สุนทรเวช
- เทวัญ ลิปตพัลลภ
- รังสิมา รอดรัศมี
- สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
- อดิศร เพียงเกษ
- ประยุทธ์ ศิริพานิชย์
- ร.ต.ท.ดร.เชาวรินธร์ ลัทธศักดิ์ศิริ (แต่ถูกถอดยศและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557)
- บุญทรง เตริยาภิรมย์
- ชัย ชิดชอบ
- สมัคร สุนทรเวช
- มนตรี พงษ์พานิช
- เจริญ คันธวงศ์
- กร ทัพพะรังสี
- ว่าที่ร้อยตรี ไพโรจน์ สุวรรณฉวี
- สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
อ้างอิง
แก้- ↑ ระเบียบว่าด้วยการมอบ การประดับ และกรณีที่ให้ประดับเหรียญสนองเสรีชน พ.ศ. ๒๕๑๖
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "ระเบียบ ว่าด้วยการมอบ การประดับ และกรณีที่ให้ประดับ เหรียญสนองเสรีชน พ.ศ. 2516" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-06-17. สืบค้นเมื่อ 2023-06-17.