ปิยะณัฐ วัชราภรณ์
ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษติดต่อกัน 10 สมัยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2543 อดีตรัฐมนตรีหลายสมัย และอดีตรองหัวหน้าพรรคเอกภาพ[1] เจ้าของวลีทางการเมือง "เก็บอุดมการณ์ใส่ลิ้นชัก"[2] และเป็นนักการเมืองที่ได้รับการยอมรับในเรื่องการพูด จนได้รับฉายา "ดาวสภา" และเคยทำหน้าที่โฆษกพรรคกิจสังคม
ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ | |
---|---|
ปิยะณัฐ ใน พ.ศ. 2562 | |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ |
ดำรงตำแหน่ง 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน พ.ศ. 2535 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก สุจินดา คราประยูร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | ประจวบ ไชยสาส์น |
ถัดไป | ไพโรจน์ นิงสานนท์ |
เลขาธิการพรรครวมไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 5 มิถุนายน พ.ศ. 2529 – 11 เมษายน พ.ศ. 2532 | |
ก่อนหน้า | สันติ ชัยวิรัตนะ (พรรคประชาไทย) |
ถัดไป | สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ (พรรคเอกภาพ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 เมษายน พ.ศ. 2492 อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ธรรมสังคม (2518 - 2522) เสรีธรรม (2522 - 2526) ชาติไทย (2526 - 2529, 2538 - 2539) เอกภาพ (2529 - 2535) กิจสังคม (2535 - 2536) ความหวังใหม่ (2539 - 2543) ไทยรักไทย (2543 - 2550) พลังพลเมืองไทย (2561) พลังประชารัฐ (2561 - ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | นางวิจิตรา วัชราภรณ์ |
ประวัติ
แก้นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ เกิดวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2492[3] เป็นบุตรชายของนายสง่า วัชราภรณ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[4]กับนางมาลี (นาทวรทัต) วัชราภรณ์ สำเร็จการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขามีน้องชายเป็นนักการเมือง คือ ดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์ ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ
ชีวิตส่วนตัวสมรสกับ นางวิจิตรา วัชราภรณ์ มีบุตรธิดา 3 คน
การทำงาน
แก้ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ ประกอบอาชีพทนายความ และเข้าสู่งานการเมืองในปี พ.ศ. 2518 โดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคธรรมสังคม ซึ่งมีนายทวิช กลิ่นประทุม เป็นหัวหน้าพรรค จากนั้นเขาได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องอีกหนึ่งสมัยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคธรรมสังคมเช่นเดิม ต่อมาเขาย้ายไปสังกัดพรรคเสรีธรรมในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 จากนั้นเขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคประชาราษฎร์ ซึ่งนำโดยนายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์[5]
ต่อมาย้ายไปพรรคชาติไทยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2526 ย้ายไปพรรครวมไทยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 พรรคเอกภาพ พ.ศ. 2531 และพรรคกิจสังคมในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 ทั้งสองครั้ง จากนั้นได้ย้ายกลับไปสังกัดพรรคชาติไทยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2538 และสังกัดพรรคความหวังใหม่ พ.ศ. 2539
ปิยะณัฐ เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2518 และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2519 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฏร ในปี พ.ศ. 2526
ต่อมาในรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. 2534)[6] กระทั่งสิ้นสุดลงจากการยึดอำนาจของ รสช. จนเป็นที่มาของวลีทางการเมืองที่นายปิยะณัฐ กล่าวไว้ว่า
ผมหมดหวังทางการเมืองแล้ว ที่เล่นการเมืองต่อไปก็เพื่อประคับประคองไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายลงกว่านี้ ตอนนี้ไม่มีอะไรมากกว่าการรักษาอำนาจเอาไว้ เรื่องของอุดมคติ อุดมการณ์ เก็บไว้ในลิ้นชักก่อน
ต่อมาเขาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร[7] ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา และในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[8] จนกระทั่งเขาประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ และลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีในที่สุด
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย ลำดับที่ 33 และได้รับเลือกตั้ง[9] เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 11 แม้ว่าเขาจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาล แต่ก็ลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีฝ่ายเดียวกัน รวมทั้งยังร่วมกับฝ่ายค้านในการลงชื่อยื่นถอดถอน กรรมการ ปปช. อีกด้วย[10]
ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ร่วมกับนักการเมืองหลายคนในการจัดตั้งพรรคการเมืองในชื่อพรรคพลังพลเมืองไทย[11]
ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 นายปิยะณัฐได้ลาออกจากสมาชิกพรรคพลังพลเมืองไทยและได้ย้ายมาสมัครเป็นสมาชิก พรรคพลังประชารัฐ และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วทั้งหมด 11 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคธรรมสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคธรรมสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคเสรีธรรม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรครวมไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรครวมไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย
อุบัติเหตุ
แก้ปิยะณัฐ ประสบอุบัติเหตุรถยนต์เสียหลักชนกับรถบรรทุกบนถนนมิตรภาพ ระหว่างจังหวัดสระบุรีและนครราชสีมา เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2540[12] ในระหว่างที่เขากำลังจะเดินทางจากจังหวัดศรีสะเกษเพื่อไปเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีในวันรุ่งขึ้น จากอุบัติเหตุในครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเขา แต่เขายังคงเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่แม้สภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวย แต่ในที่สุดเขาก็ต้องลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน คงเหลือแต่หน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ภายหลังอุบัติเหตุครั้งนั้นเขายังคงเล่นการเมืองต่ออีก 1 สมัย แต่ในที่สุดก็ต้องวางมือทางการเมืองเนื่องจากปัญหาทางสุขภาพและสายตา[13] ปัจจุบันเขาใช้ชีวิตส่วนตัวอาศัยอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[14]
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[15]
- พ.ศ. 2509 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคเอกภาพเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค
- ↑ "ปฏิรูปช่อง 11 ทำได้จริงๆ เหรอ?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-31. สืบค้นเมื่อ 2011-10-06.
- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-06. สืบค้นเมื่อ 2010-08-07.
- ↑ เสียชีวิตแล้ว! “สง่า วัชราภรณ์” อดีต ส.ส.10 สมัยศรีสะเกษ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคประชากรไทย พรรคชาติประชาธิปไตย พรรคพลังใหม่ พรรคกิจสังคม พรรคประชาราษฎร์ พรรคแรงงานประชาธิปไตย พรรคเสรีนิยม และพรรคสังคมประชาธิปไตย พรรคเสรีนิยม และพรรคสังคมประชาธิปไตย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-12-21.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (จำนวน ๑๐๐ คน)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2012-10-31.
- ↑ "หลายคำถามหลังศาลฎีกาฯรับคดี ป.ป.ช." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-02-20.
- ↑ อดีตสส. 30 คน ตั้งพรรคพลังพลเมืองสู้เลือกตั้ง
- ↑ วิเคราะห์ข่าว เล่มที่ 7 ประจำเดือน กันยายน-ตุลาคม-พฤศจิกายน 2540
- ↑ อดีตดาวสภาอยู่ในโลกมืด! ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ “อุดมการณ์ไม่เคยเปลี่ยน”
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
ดูเพิ่ม
แก้- วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2530 (คดีพลเอก เสริม ณ นคร)
ก่อนหน้า | ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ประจวบ ไชยสาส์น | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (9 ธันวาคม - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533) |
ไพโรจน์ นิงสานนท์ |