การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 นับเป็น การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 13[1] ของประเทศไทย การเลือกตั้งครั้งนี้ เกิดจากรัฐบาล โดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้ตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2526 โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในวันที่ 18 เมษายน ปีเดียวกัน หรืออีก 1 เดือนต่อมา

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526

← พ.ศ. 2522 18 เมษายน พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2529 →

ทั้งหมด 324 ที่นั่งในรัฐสภาไทย
ต้องการ 163 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ลงทะเบียน24,224,470
ผู้ใช้สิทธิ50.76% เพิ่มขึ้น
  First party Second party Third party
 
ผู้นำ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประมาณ อดิเรกสาร พิชัย รัตตกุล
พรรค กิจสังคม ชาติไทย ประชาธิปัตย์
เขตของผู้นำ 4 พฤศจิกายน 2517

ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 9

19 พฤศจิกายน 2517

ส.ส.สระบุรี

3 เมษายน 2525

ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 4

เลือกตั้งล่าสุด 88 42 35
ที่นั่งที่ชนะ 92 73 56
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 4 เพิ่มขึ้น 31 เพิ่มขึ้น 21
คะแนนเสียง 7,103,177 6,315,568 4,144,414
% 26.8% 23.8% 15.6%

  Fourth party Fifth party Sixth party
 
ผู้นำ สมัคร สุนทรเวช พล เริงประเสริฐวิทย์ เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
พรรค ประชากรไทย สยามประชาธิปไตย ชาติประชาธิปไตย
เขตของผู้นำ 9 มีนาคม 2522

ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 1

22 เมษายน 2522

ส.ส.อุทัยธานี เขต 1

9 สิงหาคม 2525

ส.ส.ร้อยเอ็ด เขต 1

เลือกตั้งล่าสุด 32 29 ไม่ได้ลงเลือกตั้ง
ที่นั่งที่ชนะ 36 18 15
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 4 ลดลง 11 เพิ่มขึ้น 15
คะแนนเสียง 2,395,795 2,137,780
% 15.6% 9.0%

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

เปรม ติณสูลานนท์
อิสระ

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

เปรม ติณสูลานนท์
อิสระ

สืบเนื่องจากการที่ ส.ส. และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ฝ่ายที่ทางกองทัพสนับสนุนมีความขัดแย้งกันกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 เพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้งแบบรวมเขต รวมเบอร์


ผลการเลือกตั้ง

แก้

เนื่องจากบทเฉพาะกาลของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 นั้นยังไม่สิ้นสุด ทำให้การลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้ยังมีผู้สมัครอิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองอีกด้วย

 •   ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526
พรรค
คะแนนเสียง
%
ที่นั่ง
กิจสังคม 7,103,177 26.8
92 / 324
ชาติไทย 6,315,568 23.8
73 / 324
ประชาธิปัตย์ 4,144,414 15.6
56 / 324
ประชากรไทย 2,395,795
36 / 324
อิสระ
24 / 324
สยามประชาธิปไตย
18 / 324
ชาติประชาธิปไตย 2,137,780
15 / 324
ประชาไทย
4 / 324
ก้าวหน้า
3 / 324
สังคมประชาธิปไตย
2 / 324
ประชาเสรี
1 / 324
คะแนนสมบูรณ์ 100 324
คะแนนเสีย
ไม่ประสงค์ลงคะแนน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 12,295,339
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 24,224,470
ที่มา: รัฐสภาสาร ปีที่ 31 ฉบับที่ 4 (เม.ย.2526)

จนเมื่อบทเฉพาะกาลสิ้นสุดลงในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2526 ได้มี สส. เข้าสังกัดพรรคการเมืองทั้งสิ้น ดังนี้

พรรค
ที่นั่ง
ชาติไทย
108 / 324
กิจสังคม
101 / 324
ประชาธิปัตย์
57 / 324
ประชากรไทย
36 / 324
ชาติประชาธิปไตย
15 / 324
ก้าวหน้า
3 / 324
สังคมประชาธิปไตย
2 / 324
ประชาเสรี
1 / 324
ปวงชนชาวไทย
1 / 324
รวมทั้งสิ้น 324

ภายหลังการเลือกตั้ง

แก้

ก่อนบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญจะสิ้นสุด ผลการเลือกตั้งชัดเจนแล้วว่า พรรคกิจสังคม ที่มี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นหัวหน้าพรรค จะทำหน้าที่จัดตั้งรัฐบาล และได้มีการร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับ พรรคประชาธิปัตย์, พรรคประชากรไทย, และ พรรคชาติประชาธิปไตย ทว่าขณะเดียวกัน พรรคชาติไทย ที่มี พลตรีประมาณ อดิเรกสาร เป็นหัวหน้าพรรค ก็ได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลแข่งกับพรรคกิจสังคมเช่นเดียวกัน โดยจะร่วมกับพรรคเล็กทั้งหมด และในระหว่างนี้ สส.จาก พรรคประชาไทย และ พรรคสยามประชาธิปไตย ได้ตัดสินใจย้ายเข้ามาสังกัดพรรคชาติไทย ทำให้จำนวน สส. เพิ่มขึ้นมาอีก

เมื่อบทเฉพาะกาลสิ้นสุดลง มีการรวบรวมพรรคเล็กและ สส.ที่ไม่สังกัดพรรคเข้าพรรคต่างๆ ทำให้พรรคชาติไทยที่รวบรวม สส. ได้มากที่สุด จำนวน 108 คน ประกาศจัดตั้งรัฐบาลแข่งกับพรรคกิจสังคม ซึ่งขณะนั้นไม่มีพรรคใดได้เสียงเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร ที่มีทั้งหมด 324 เสียง ปรากฏว่า พรรคกิจสังคม, พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชากรไทย ตกลงกันที่จะสนับสนุน พล.อ.เปรม เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ขณะที่พรรคชาติไทยรวมกันกับพรรคการเมืองอื่น ๆ เป็นฝ่ายค้าน [2] ต่อมา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นับเป็นสมัยที่ 2 ในวันที่ 30 เมษายน ปีเดียวกัน การจัดตั้งคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยรัฐมนตรีต่าง ๆ 44 คน นับเป็นคณะรัฐมนตรีคณะที่ 43 และได้เข้าทำการปฏิญาณตนหน้าพระพักตร์เพื่อเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 9 พฤษภาคม ปีเดียวกัน[3]


อ้างอิง

แก้
  1. การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2539. ศูนย์บริการข้อมูลและกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 1996. pp. 5–7.
  2. "ประวัติพรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-15. สืบค้นเมื่อ 2012-06-28.
  3. ยุบสภา ประกาศเลือกตั้งเร็วที่สุด การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ 3 พรรคการเมืองร่วมมือตั้งรับฐาล พล.อ.เปรมถูกเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง หน้า 185, กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3