คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 43

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 43 ของไทย (30 เมษายน พ.ศ. 2526 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529)

คณะรัฐมนตรีเปรม 2
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 43 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2526 - 2529
Prem Tinsulanoda cropped.JPG
วันแต่งตั้ง 7 พฤษภาคม​ พ.ศ. 2526
วันสิ้นสุด 5 สิงหาคม​ พ.ศ. 2529
(3 ปี 90 วัน)
บุคคลและองค์กร
ประมุขแห่งรัฐ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
หัวหน้าคณะรัฐมนตรี เปรม ติณสูลานนท์
ประวัติ
ก่อนหน้า คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 42
ถัดไป คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 44

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2526 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ

ร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณ ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

รายชื่อคณะรัฐมนตรี คณะที่ 43 ของไทยแก้ไข

ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี
(จนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี)
  รัฐมนตรีว่าการ
  รัฐมนตรีช่วยว่าการ
  รัฐมนตรีลอย
ออกจากตำแหน่ง
เปลี่ยนแปลง/โยกย้าย
แต่งตั้งเพิ่ม
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 43 ของไทย[1]
ตำแหน่ง รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
นายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 30 เมษายน พ.ศ. 2526 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 มีพระบรมราชโองการ
ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกตั้งใหม่
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 รักษาการ(ทั้งคณะ)เพื่อรอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับตำแหน่ง
รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 15 มกราคม พ.ศ. 2529 ปรับออกจากตำแหน่ง
นายพิชัย รัตตกุล 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
พลเรือเอก สนธิ บุณยะชัย 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา 15 มกราคม พ.ศ. 2529 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
สำนักนายกรัฐมนตรี   เรืออากาศโท ศุลี มหาสันทนะ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  ร้อยตำรวจโท ชาญ มนูธรรม 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายมีชัย ฤชุพันธุ์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายกระมล ทองธรรมชาติ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายสวัสดิ์ คำประกอบ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายบัญญัติ บรรทัดฐาน 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
กระทรวงกลาโหม   พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
กระทรวงการคลัง   นายสมหมาย ฮุนตระกูล 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายสุธี สิงห์เสน่ห์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายอำนวย ยศสุข 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 15 มกราคม พ.ศ. 2529 ไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  นายสุบิน ปิ่นขยัน 15 มกราคม พ.ศ. 2529 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
กระทรวงการต่างประเทศ   พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธ์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายอรุณ ภาณุพงศ์ 15 มกราคม พ.ศ. 2529 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์
  นายณรงค์ วงศ์วรรณ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายบรม ตันเถียร 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายประยุทธ์ ศิริพาณิชย์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายผัน บุญชิต 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 15 มกราคม พ.ศ. 2529 ลาออก
  นายประสพ บุษราคัม 15 มกราคม พ.ศ. 2529 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
กระทรวงคมนาคม   นายสมัคร สุนทรเวช 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายบุญเทียม เขมาภิรัตน์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายประชุม รัตนเพียร 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
กระทรวงพาณิชย์   นายโกศล ไกรฤกษ์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 15 มกราคม พ.ศ. 2529 ลาออกจากตำแหน่ง
  ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ 15 มกราคม พ.ศ. 2529 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายไพโรจน์ ไชยพร 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายประยูร จินดาศิลป์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 15 มกราคม พ.ศ. 2529 ลาออกจากตำแหน่ง
  นายอำนวย ยศสุข 15 มกราคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
กระทรวงมหาดไทย   พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 ลาออก
  นายวีระ มุสิกพงศ์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายเฉลียว วัชรพุกก์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายโอภาส พลศิลป 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 15 มกราคม พ.ศ. 2529 ลาออก
  นายมนตรี พงษ์พานิช 15 มกราคม พ.ศ. 2529 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
กระทรวงยุติธรรม   นายพิภพ อะสีติรัตน์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน   นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 ถึงแก่อสัญกรรม
  นายเล็ก นานา 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
กระทรวงศึกษาธิการ   นายชวน หลีกภัย 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายสัมพันธ์ ทองสมัคร 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
กระทรวงสาธารณสุข   นายมารุต บุนนาค 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
กระทรวงอุตสาหกรรม   นายอบ วสุรัตน์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 15 มกราคม พ.ศ. 2529 ลาออก
  นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา 19 กันยายน พ.ศ. 2528 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 19 กันยายน พ.ศ. 2528
  นายวงศ์ พลนิกร 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายประโยชน์ เนื่องจำนงค์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 19 กันยายน พ.ศ. 2528 ลาออก
  นายมีชัย วีระไวทยะ 19 กันยายน พ.ศ. 2528 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  นายอนันต์ ฉายแสง 19 กันยายน พ.ศ. 2528 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
ทบวงมหาวิทยาลัย   นายปรีดา พัฒนถาบุตร 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 ปรับออกจากตำแหน่ง

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีแก้ไข

เปรม ติณสูลานนท์

พรรค คะแนน
พรรคประชากรไทย 36
พรรคชาติประชาธิปไตย 15
พรรคกิจสังคม 101
พรรคชาติไทย 108
พรรคประชาธิปัตย์ 57
รวม 317
งดออกเสียง 7

การปรับคณะรัฐมนตรีแก้ไข

มีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี ดังนี้

  • วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 นายโอภาส พลศิลป เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย แทนร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ที่ออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2527[2]
  • วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 นายเล็ก นานา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน แทนนายดำรง ลัทธพิพัฒน์ ซึ่งถึงแก่อนิจกรรม[3]
  • วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2528[4]
    • นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม แทน นายอบ วสุรัตน์ ที่ลาออกจากตำแหน่ง
    • นายอนันต์ ฉายแสง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม แทน นายประโยชน์ เนื่องจำนงค์ ที่ลาออกจากตำแหน่ง
    • นายมีชัย วีระไวทยะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  • วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2529 มีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรี ครั้งใหญ่โดย[5]
    • นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
    • พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา เป็นรองนายกรัฐมนตรี
    • ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แทนนายโกศล ไกรฤกษ์ ที่ลาออกจากตำแหน่ง
    • นายสุบิน ปิ่นขยัน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
    • นายประสพ บุษราคัม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แทน นายผัน บุญชิต ที่ลาออกจากตำแหน่ง
    • นายมนตรี พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย แทนนายโอภาส พลศิลป ที่ลาออกจากตำแหน่ง
    • นายอรุณ ภาณุพงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
    • นายอำนวย ยศสุข พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายปรีดา พัฒนถาบุตร รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย พ้นจากตำแหน่ง

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 43 ของไทยแก้ไข

คณะรัฐมนตรีชุดนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากมีการยุบสภา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 มีสาเหตุมาจากการที่รัฐบาลได้เสนอพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2529 เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร แต่สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่อนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าว[6]

อ้างอิงแก้ไข

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลาออก และแต่งตั้ง นายโอภาส พลศิลป ดำรงตำแหน่งสืบแทน)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (นายเล็ก นานา)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (นายอบ วสุรัตน์ นายประโยชน์ เนื่องจำนงค์ ลาออก นายจิรายุ อิศรางกูร ฯ พ้นจากตำแหน่งและตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งนายอนันต์ ฉายแสง นายมีชัย วีระไวทยะ)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (นายโกศล ไกรฤกษ์ นายประยูร จินดาศิลป์ นายผัน บุญชิต นายโอภาส พลศิลป ลาออก นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และตั้ง พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถ
  6. คณะกรรมการเตรียมการลงนามความเข้าใจระหว่างหอสมุดรัฐสภาสหรัฐอเมริกาและรัฐสภาไทย, สรรสาระรัฐธรรมนูญไทย, กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2548,หน้า 567.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข