เฉลียว วัชรพุกก์
เฉลียว วัชรพุกก์ (29 มกราคม พ.ศ. 2464 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก
เฉลียว วัชรพุกก์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 | |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 มกราคม พ.ศ. 2464 อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก |
เสียชีวิต | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (82 ปี)[1] |
คู่สมรส | สำรวย วัชรพุกก์ |
ประวัติ
แก้เฉลียว วัชรพุกก์ เกิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2464 เป็นบุตรของขุนวัชรพุกก์ศึกษากร (แปลก วัชรพุกก์) กับ นางบุญมี วัชรพุกก์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [2] สมรสกับสำรวย วัชรพุกก์ มีบุตร-ธิดา 6 คน
เฉลียว วัชรพุกก์ เสียชีวิตด้วยโรคไตวายเฉียบพลัน เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546 สิริอายุ 82 ปี
การทำงาน
แก้เฉลียวเริ่มทำงานครั้งแรก ด้วยการเป็นนายช่างตรี ที่กองวางแผนและหมวดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ จังหวัดนครสวรรค์ และเจริญในหน้าที่การงานเรื่อยมา จนก้าวสู่ตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวง ในพ.ศ. 2512 จนถึงพ.ศ. 2522 [3] จนเกษียณอายุราชการใน พ.ศ. 2524
งานการเมือง
แก้เฉลียว เข้าสู่วงการการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อพ.ศ. 2513 และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[4]
เฉลียว ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2526 ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับเลือกตั้ง และ พ.ศ. 2529 ที่จังหวัดตาก โดยได้รับเลือกเช่นเดียวกัน รวม 2 สมัย[5]
เฉลียว ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อ พ.ศ. 2526[6] และ พ.ศ. 2529 ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้เฉลียว วัชรพุกก์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[9]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[10]
- พ.ศ. 2510 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[12]
- พ.ศ. 2494 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2513 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
แก้- ↑ "อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายเฉลียว วัชรพุกก์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-11-06.
- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2529. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2529
- ↑ "ผู้บริหารในอดีต กรมทางหลวง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-07-30.
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๖๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๓๐ ตุลาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๕๐, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๒