การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 นับเป็น การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 14[1] ของประเทศไทย ผลปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ โดยได้ 100 ที่นั่งจากทั้งหมด 347 ที่นั่ง แต่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสภา ผู้มีสิทธิเลือกตั้งคิดเป็น 61.4%[2]

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529

← พ.ศ. 2526 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 พ.ศ. 2531 →

ทั้งหมด 347 ที่นั่งในรัฐสภาไทย
ต้องการ 174 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ผู้ใช้สิทธิ61.4% เพิ่มขึ้น
  First party Second party Third party
 
Bhichai Rattakul 2010-04-01.jpg
ประมาณ อดิเรกสาร.jpg
คีกฤทธิ์ ปราโมช.jpg
ผู้นำ พิชัย รัตตกุล ประมาณ อดิเรกสาร พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
พรรค ประชาธิปัตย์ ชาติไทย กิจสังคม
เขตของผู้นำ 3 เมษายน 2525

ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 4

19 พฤศจิกายน 2517

ส.ส.สระบุรี

4 พฤศจิกายน 2517

ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 9

เลือกตั้งล่าสุด 56 110 99
ที่นั่งที่ชนะ 100 63 51
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 44 ลดลง 46 ลดลง 48
คะแนนเสียง 8,477,701 6,496,370 4,560,615
% 22.5% 17.3% 12.1%

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
รหัสสี: ประชาธิปัตย์, ชาติไทย, กิจสังคม, สหประชาธิปไตย, ประชากรไทย, รวมไทย, กิจประชาคม, ก้าวหน้า, อื่น ๆ
แต่ละจังหวัดอาจประกอบด้วยที่นั่งเดียวหรือหลายที่นั่งก็ได้ โดยสีที่ปรากฏนี้บ่งบอกถึงพรรคที่ได้ที่นั่งมากที่สุดในจังหวัดนั้น

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

เปรม ติณสูลานนท์
อิสระ

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

เปรม ติณสูลานนท์
อิสระ

ผลการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ โดย นายพิชัย รัตตกุล หัวหน้าพรรค และนายชวน หลีกภัย แกนนำคนสำคัญของพรรค ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด ด้วยเสียงมากถึง 100 เสียง โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้มากถึง 16 เสียง จึงเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยพรรคที่ได้รับเลือกตั้งรองลงมา คือ พรรคชาติไทย 64 เสียง, พรรคกิจสังคม 51 เสียง และพรรคราษฎร 20 เสียง โดยเสียงทั้งหมดในสภาผู้แทนราษฎรมีทั้งหมด 347 เสียง[3]

โดยทั้ง 4 พรรคได้หารือกันถึงการจัดตั้งรัฐบาล ปรากฏว่า ทุกพรรคต่างเห็นชอบให้ พล.อ.เปรม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 5 สิงหาคม ปีเดียวกัน นับเป็นสมัยที่ 3 ของ พล.อ.เปรม โดยมี นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานรัฐสภาเป็นผู้นำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการ โดยมีสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ถ่ายทอดพิธีสนองรับพระบรมราชโองการและคำกล่าวของ พล.อ.เปรม ณ บ้านสี่เสาเทเวศร์ ซึ่งเป็นบ้านพัก ตลอดจนจบสิ้น[4]

ผลการเลือกตั้ง แก้

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคที่สังกัด ณ วันที่ได้รับเลือกตั้ง

สัญลักษณ์ ชื่อพรรค หัวหน้าพรรค จำนวน ส.ส.
  พรรคประชาธิปัตย์ นายพิชัย รัตตกุล 100
  พรรคชาติไทย พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร 63
  พรรคกิจสังคม พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช 51
  พรรคสหประชาธิปไตย นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ 38
  พรรคประชากรไทย นายสมัคร สุนทรเวช 24
  พรรครวมไทย นายณรงค์ วงศ์วรรณ 19
  พรรคราษฎร พลเอก เทียนชัย ศิริสัมพันธ์ 18
  พรรคกิจประชาคม นายบุญชู โรจนเสถียร 15
  พรรคก้าวหน้า นายอุทัย พิมพ์ใจชน 9
  พรรคชาติประชาธิปไตย พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 3
  พรรคมวลชน สมศักดิ์ ภาคีโพธิ์ 3
  พรรคเสรีนิยม นายปรีดา พัฒนถาบุตร 1
  พรรคปวงชนชาวไทย พลตรี ระวี วันเพ็ญ 1
  พรรคแรงงานประชาธิปไตย นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร 1
  พรรคพลังใหม่ นายประสาน ต่างใจ 1

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2539. ศูนย์บริการข้อมูลและกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 1996. pp. 5–7.
  2. Dieter Nohlen, Florian Grotz & Christof Hartmann (2001) Elections in Asia: A data handbook, Volume II, p286 ISBN 0-19-924959-8
  3. "ประวัติพรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-15. สืบค้นเมื่อ 2012-06-28.
  4. หน้า 199, ประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้ง พล.อ.เปรมเป็นนายกฯ อีกสมัย. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2555 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3