พรรคกิจประชาคม
พรรคกิจประชาคม หรือชื่อเดิม พรรคประชาราษฎร์ พรรคการเมืองที่จดทะเบียนลำดับที่ 10/2525 จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2525 มีนาย ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และมีนางศิระ ปัทมาคม เป็นเลขาธิการพรรค[1] ก่อนหน้านั้นเป็นการรวมตัวกันในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 เป็นกลุ่มการเมือง ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง ส่งผลให้มีการยกเว้นการบังคับเกี่ยวกับการจัดตั้งหรือการสังกัดพรรคการเมืองของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยใช้คำว่า "กลุ่มการเมือง" เป็นการเรียกอย่างไม่เป็นทางการ[2]
พรรคกิจประชาคม | |
---|---|
![]() | |
หัวหน้า | บุญชู โรจนเสถียร |
เลขาธิการ | อาทิตย์ อุไรรัตน์ |
ก่อตั้ง | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2525 |
ถูกยุบ | 14 เมษายน พ.ศ. 2532 (12 ปี) |
ยุบรวมกับ | พรรคเอกภาพ |
สี | สีเหลือง |
สภาผู้แทนราษฎร | 14 / 357 |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |


ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่โดยมีนางศิระ ปัทมาคม เป็นหัวหน้าพรรคในระยะสั้นๆ ก่อนที่นาย บุญชู โรจนเสถียร อดีตเลขาธิการ พรรคกิจสังคม จะเข้ามารับตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ [3]
พรรคกิจประชาคม มีมติยุบพรรคเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2532 พร้อมกับพรรคก้าวหน้า ของนาย อุทัย พิมพ์ใจชน และพรรคประชาชน ของนาย เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ไปรวมกับพรรครวมไทย ของนายณรงค์ วงศ์วรรณ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคเอกภาพ และศาลฎีกามีคำสั่งให้ยุบพรรค ลงวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2532[4]
รายนามคณะกรรมการบริหารพรรค
แก้รายนามหัวหน้าพรรคกิจประชาคม
แก้หัวหน้าพรรคกิจประชาคม | ||||
---|---|---|---|---|
ลำดับที่ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2525[5] | 14 เมษายน พ.ศ. 2526 | |
2 | ศิระ ปัทมาคม | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 | |
3 | บุญชู โรจนเสถียร | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2529[6] | 14 เมษายน พ.ศ. 2532 |
รายนามเลขาธิการพรรคกิจประชาคม
แก้หัวหน้าพรรคกิจประชาคม | ||||
---|---|---|---|---|
ลำดับที่ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | ศิระ ปัทมาคม | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2525 | 1 เมษายน พ.ศ. 2526 | |
4 | ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ | 1 เมษายน พ.ศ. 2526 | 14 เมษายน พ.ศ. 2526 | |
3 | ประสาสน์ ปาสรานันท์ | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 | |
4 | ประสาสน์ ปาสรานันท์ | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 | 12 เมษายน พ.ศ. 2531 | |
5 | อาทิตย์ อุไรรัตน์ | 12 เมษายน พ.ศ. 2531 | 14 เมษายน พ.ศ. 2532 |
การเลือกตั้ง
แก้ยุคกลุ่มการเมืองประชาราษฎร์
แก้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 ได้รับเลือกตั้ง จำนวน 7 ที่นั่ง จากภาคอีสานทั้งหมด[7]
ยุคพรรคกิจประชาคม
แก้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 พรรคกิจประชาคม ได้รับเลือกตั้งในสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 15 ที่นั่ง ต่อมานายแคล้ว นรปติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น พ้นจากตำแหน่ง[8] โดยในการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง เป็นผู้สมัครจากพรรคราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งในพื้นที่นี้ ส่งผลให้พรรคกิจประชาคม มีจำนวนที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 14 ที่นั่ง
ผลการเลือกตั้งทั่วไป
แก้การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ผลการเลือกตั้ง | สถานภาพพรรค | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
กลุ่มประชาราษฎร์ | ||||||
2522 | 7 / 301
|
7 ที่นั่ง | ร่วมรัฐบาล | ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ | ||
พรรคกิจประชาคม | ||||||
2529 | 15 / 347
|
8 ที่นั่ง | ฝ่ายค้าน | บุญชู โรจนเสถียร | ||
2531 | 9 / 357
|
6 ที่นั่ง |
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคประชากรไทย พรรคชาติประชาธิปไตย พรรคพลังใหม่ พรรคกิจสังคม พรรคประชาราษฎร์ พรรคแรงงานประชาธิปไตย พรรคเสรีนิยม และพรรคสังคมประชาธิปไตย พรรคเสรีนิยม และพรรคสังคมประชาธิปไตย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-12-21.
- ↑ ชาย ไชยชิต และ รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14 วันที่ 22 เมษายน 2522 ออนไลน์ : สถาบันพระปกเกล้า
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคประชาราษฎร์ ตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔ (เปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคโดยเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคกิจประชาคม และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคใหม่)
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบเลิกพรรคการเมือง ตามนัยมาตรา ๔๖ (๑) แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคประชากรไทย พรรคชาติประชาธิปไตย พรรคพลังใหม่ พรรคกิจสังคม พรรคประชาราษฎร์ พรรคแรงงานประชาธิปไตย พรรคเสรีนิยม และพรรคสังคมประชาธิปไตย พรรคเสรีนิยม และพรรคสังคมประชาธิปไตย)
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคกิจประชาคม ตามนัยมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔ (เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหาร ภาพเครื่องหมาย ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และนโยบายของพรรค)
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
- ↑ คำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ ๑/๒๕๒๙ วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๒๙ เรื่อง การสิ้นสุดแห่งสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (กรณี นายแคล้ว นรปติ)