การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 มีขึ้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ผลการเลือกตั้งเป็นชัยชนะของพรรคชาติไทย โดยได้ 87 ที่นั่งจากทั้งหมด 357 ที่นั่ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งคิดเป็น 63.6%[1]
![]() | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทั้งหมด 357 ที่นั่งในรัฐสภาไทย ต้องการ 179 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ผู้ใช้สิทธิ | 63.6% ![]() | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคชาติไทย โดย พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรค ได้รับเลือกมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยเสียง 87 ที่นั่ง รองลงไปคือ พรรคกิจสังคม มี 54 ที่นั่ง และพรรคประชาธิปัตย์ 48 ที่นั่ง ซึ่งไม่มีพรรคการเมืองใดได้รับเสียงเกินครึ่งของสภาผู้แทนราษฎร ที่มีทั้งหมด 357 เสียง[2]
แกนนำของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมาเป็นลำดับแรก 5 พรรคประกอบไปด้วย ชาติไทย , กิจสังคม , ประชาธิปัตย์ , รวมไทย และ ประชากรไทย ได้หารือกันถึงการจัดตั้งรัฐบาล ทั้งหมดมีความเห็นตรงกันว่า พล.อ.เปรม มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ จึงเข้าพบกับ พล.อ.เปรม ถึงบ้านสี่เสาเทเวศร์ ซึ่งเป็นบ้านพัก ในเวลาค่ำของวันที่ 27 กรกฎาคม แต่ พล.อ.เปรมได้ปฏิเสธที่จะดำรงตำแหน่งต่อ โดยให้เหตุผลว่า ระยะเวลารวมทั้งหมด 8 ปี 5 เดือน ที่ตนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นเพียงพอแล้ว อีกทั้งบ้านเมืองก็มีเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจในระดับที่น่าพึงพอใจ พล.อ.ชาติชาย ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยที่มีคะแนนเสียงมากที่สุด จึงขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของประเทศไทย โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ปีเดียวกัน และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ปีเดียวกัน
ในส่วนของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกฯไปแล้ว ก็ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี ในเวลาต่อมาไม่นาน
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีจุดที่น่าสนใจ คือ เป็นการลงเลือกตั้งครั้งแรกของ พรรคพลังธรรม โดยมี พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หัวหน้าพรรค ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอยู่ด้วย ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งต่อมา คือ ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคพลังธรรมได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อันเป็นเมืองหลวง และถือเป็นจุดเริ่มต้นชีวิตทางการเมืองครั้งแรกของนักการเมืองสังกัดพรรคพลังธรรม ที่ต่อมามีบทบาททางการเมืองและสังคมที่สำคัญหลายคน เช่น นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์, นายทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์, ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา เป็นต้น[3] [4]
ผลการเลือกตั้งแก้ไข
สัญลักษณ์ | ชื่อพรรค | หัวหน้าพรรค | จำนวน ส.ส. |
---|---|---|---|
พรรคชาติไทย | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ | 87 คน | |
พรรคกิจสังคม | พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา | 53 คน | |
พรรคประชาธิปัตย์ | นายพิชัย รัตตกุล | 48 คน | |
พรรครวมไทย | นายณรงค์ วงศ์วรรณ | 34 คน | |
พรรคประชากรไทย | นายสมัคร สุนทรเวช | 31 คน | |
พรรคราษฎร | พลเอกเทียนชัย ศิริสัมพันธ์ | 21 คน | |
พรรคประชาชน | นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ | 19 คน | |
พรรคปวงชนชาวไทย | พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก | 17 คน | |
พรรคพลังธรรม | พลตรีจำลอง ศรีเมือง | 15 คน | |
พรรคกิจประชาคม | นายบุญชู โรจนเสถียร | 9 คน | |
พรรคก้าวหน้า | นายอุทัย พิมพ์ใจชน | 8 คน | |
พรรคสหประชาธิปไตย | พันเอก (พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ | 6 คน | |
พรรคมวลชน | ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง | 5 คน | |
พรรคเสรีนิยม | พันเอกณรงค์ กิตติขจร | 3 คน | |
พรรคพลังสังคมประชาธิปไตย | นายชัชวาลย์ ชมภูแดง | 1 คน |
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Dieter Nohlen, Florian Grotz & Christof Hartmann (2001) Elections in Asia: A data handbook, Volume II, p286 ISBN 0-19-924959-8
- ↑ "ประวัติพรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-15. สืบค้นเมื่อ 2012-06-28.
- ↑ ชาติชายดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.เปรมได้รับการเสนอชื่อเป็นองคมนตรี หน้า 207, กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3
- ↑ สิริรัตน์ เรืองวงษ์วาร. ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2539. 632 หน้า. ISBN 974-599-876-4