พรรคก้าวหน้า (พ.ศ. 2526)
พรรคก้าวหน้า พรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2526 มีนายอุทัย พิมพ์ใจชน เป็นหัวหน้าพรรค และนายบุญเกิด หิรัญคำ เป็นเลขาธิการพรรค และมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ถนนลาดพร้าว เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร[1] โดยมีสัญลักษณ์เป็นรูปพานรัฐธรรมนูญสีน้ำเงินในวงล้อธรรมจักร กำรอบพานสีเหลือง ตัวอักษรรอบวงเป็นสีแดง[3]
พรรคก้าวหน้า | |
---|---|
![]() | |
หัวหน้า | อุทัย พิมพ์ใจชน |
เลขาธิการ | ไชยยศ สะสมทรัพย์ |
คำขวัญ | โดยประชาชน เพื่อคนรุ่นใหม่ |
ก่อตั้ง | 22 มีนาคม พ.ศ. 2526[1] |
ถูกยุบ | 14 เมษายน พ.ศ. 2532[2] |
แยกจาก | พรรคประชาธิปัตย์ |
ยุบรวมกับ | พรรคเอกภาพ |
ที่ทำการ | ๘/๑๒ ซอยลาดพร้าว ๒๓ ถนนลาดพร้าว เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร |
อุดมการณ์ | ก้าวหน้า ต่อต้านเผด็จการคณาธิปไตย[1] ประชาธิปไตย |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ประวัติ
แก้พรรคก้าวหน้า ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2526 และได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 เป็นครั้งแรก และได้รับเลือกตั้งจำนวน 3 คน คือ อุทัย พิมพ์ใจชน (จังหวัดชลบุรี) เกษม บุตรขุนทอง (จังหวัดเพชรบูรณ์) และอนันต์ ฉายแสง (จังหวัดฉะเชิงเทรา)
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 ได้รับเลือกตั้ง 7 ที่นั่ง และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 ได้ 8 ที่นั่ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2532 จึงได้ยุบพรรคเข้าร่วมกับพรรคเอกภาพ โดยศาลฎีกามีคำสั่งให้ยุบพรรค ลงวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2532[2]
บทบาทในสภาผู้แทนราษฎร
แก้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ครั้งหนึ่ง มีการลงชื่อขอเปิดอภิปรายโดย ส.ส.พรรคร่วมฝ่ายค้าน แต่ทว่าก่อนการเปิดอภิปรายไม่กี่วัน ส.ส.พรรคก้าวหน้า 2 คน คือ นายวิสันต์ เดชเสน (จังหวัดยโสธร) และนายเสกสรร แสนภูมิ (จังหวัดสุรินทร์) ซึ่งได้ร่วมลงชื่อไปแล้ว ได้ถอนชื่อออก ทำให้มีสมาชิกลงชื่อไม่เพียงพอต่อการเปิดอภิปราย การอภิปรายในครั้งนั้นจึงไม่เกิดขึ้น [4]
รายนามคณะกรรมการบริหารพรรค
แก้รายนามหัวหน้าพรรคก้าวหน้า
แก้หัวหน้าพรรคก้าวหน้า | ||||
---|---|---|---|---|
ลำดับที่ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | อุทัย พิมพ์ใจชน | 22 มีนาคม พ.ศ. 2526 | 14 เมษายน พ.ศ. 2532 |
รายนามเลขาธิการพรรคก้าวหน้า
แก้หัวหน้าพรรคก้าวหน้า | ||||
---|---|---|---|---|
ลำดับที่ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | บุญเกิด หิรัญคำ | 22 มีนาคม พ.ศ. 2526 | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 | |
2 | เดชา สุขารมณ์ | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529[5] | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2531 | |
3 | ไกรสร นันทมานพ | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2531[6] | 9 กันยายน พ.ศ. 2531 | |
4 | ไชยยศ สะสมทรัพย์ | 9 กันยายน พ.ศ. 2531[7] | 14 เมษายน พ.ศ. 2532 |
ผลการเลือกตั้ง
แก้ผลการเลือกตั้งทั่วไป
แก้การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ผลการเลือกตั้ง | สถานภาพพรรค | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2526 | 3 / 324
|
338,140 | 1.3% | 3 ที่นั่ง | ฝ่ายค้าน | อุทัย พิมพ์ใจชน |
2529 | 7 / 347
|
1,998,721 | 5.3% | 4 ที่นั่ง | ร่วมรัฐบาล | |
2531 | 8 / 357
|
1,114,468 | 2.8% | 1 ที่นั่ง | ฝ่ายค้าน |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคก้าวหน้า)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-07-26.
- ↑ 2.0 2.1 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบเลิกพรรคการเมือง ตามนัยมาตรา ๔๖ (๑) แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔
- ↑ มาแล้ว! กกต. เผยยอดกลุ่มการเมืองแห่จองชื่อพรรค 2-30 มี.ค. รวม 97 พรรค
- ↑ "วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 25 04 59". ฟ้าวันใหม่. 25 April 2016. สืบค้นเมื่อ 25 April 2016.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคก้าวหน้า ตามนัยมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เลขาธิการพรรคก้าวหน้าลาออกจากตำแหน่ง